รีเซต

'ฟอสซิลฟัน 4 ซี่' เผยข้อมูลเชิงลึกของ 'ไดโนเสาร์กินเนื้อ' ในแถบจีนตอนใต้

'ฟอสซิลฟัน 4 ซี่' เผยข้อมูลเชิงลึกของ 'ไดโนเสาร์กินเนื้อ' ในแถบจีนตอนใต้
Xinhua
17 พฤษภาคม 2567 ( 15:01 )
19
'ฟอสซิลฟัน 4 ซี่' เผยข้อมูลเชิงลึกของ 'ไดโนเสาร์กินเนื้อ' ในแถบจีนตอนใต้

(แฟ้มภาพซินหัว : ภาพถ่ายวันที่ 5 ม.ค. 2021 แสดงฟอสซิลฟันไดโนเสาร์ที่พิพิธภัณฑ์เมืองซื่อฮุ่ย มณฑลกว่างตงทางตอนใต้ของจีน)

ปักกิ่ง, 17 พ.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิทยาศาสตร์ของจีนยืนยันว่าฟันไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ จำนวน 4 ซี่ ที่ขุดพบในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) มาจากไดโนเสาร์วงศ์ไทแรนโนซอรอยเดีย (Tyrannosauroidea) ที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อ 66-70 ล้านปีก่อน กลายเป็นหลักฐานฟอสซิลของไดโนเสาร์วงศ์นี้ที่พบอยู่บริเวณทางใต้สุดของจีนฟันทั้งสี่ซี่สามารถสืบย้อนไปถึงยุคมาสทริชเชียน (Maastrichtian) ซึ่งตรงกับยุคครีเทเชียสตอนปลาย โดยตัวอย่างฟัน 3 ใน 4 ซี่ถูกค้นพบในปี 2010 โดยผู้ที่สนใจเกี่ยวกับฟอสซิลในเมืองซื่อฮุ่ย ซึ่งได้บริจาคให้กับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในเวลาต่อมา ส่วนฟันอีกซี่ค้นพบโดยนักวิจัยคนหนึ่งที่สถานที่ก่อสร้างในนครกว่างโจวเมื่อปี 2020 และปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ในชุดสะสมของมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็นฟันทั้งสามซี่ที่ค้นพบในซื่อฮุ่ยยังอยู่ในสภาพดีอย่างมาก โดยมีปลายฟัน (Tooth Crown) ยาวเกิน 6 เซนติเมตร ส่วนชิ้นส่วนฟันที่พบในกว่างโจวนั้นมีความยาว 3.3 เซนติเมตร ทว่าฟอสซิลทั้งสี่มีลักษณะทางสัณฐานวิทยาคล้ายคลึงกัน ซึ่งรวมถึงส่วนขอบที่หยักเล็กน้อย และมีผิวเคลือบฟัน (enamel) ที่เรียบการวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารครีเทเชียส รีเสิร์ช (Cretaceous Research) ไม่นานมานี้ ระบุว่าลักษณะเหล่านี้สอดคล้องกับฟันของไดโนเสาร์วงศ์ไทแรนโนซอรอยเดีย และเป็นหลักฐานที่แบ่งแยกความแตกต่างจากฟอสซิลที่พบในไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่อื่นๆรองศาสตราจารย์สิงลี่ต๋า จากมหาวิทยาลัยธรณีศาสตร์แห่งประเทศจีน วิทยาเขตปักกิ่ง เผยว่าไทแรนโนซอรอยเดียเป็นไดโนเสาร์เดิน 2 ขาพันธุ์กินเนื้อ ซึ่งมีขนาดลำตัวที่แตกต่างกันอย่างมาก ทำให้เป็นไดโนเสาร์ที่มีความโดดเด่นในช่วงกลางและปลายยุคครีเทเชียส โดยไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ หรือทีเร็กซ์ (Tyrannosaurus rex) ความยาวกว่า 12 เมตร ถือเป็นสายพันธุ์ในวงศ์ไทแรนโนซอรอยเดียที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นที่รู้จักมากที่สุดอย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับฟันของไดโนเสาร์วงศ์ไทแรนโนซอรอยเดียอื่นๆ ที่พบในจีน ขนาดของฟอสซิลทั้งสี่นั้นถือว่ามีขนาดเล็กทีมวิจัยกำลังเผชิญกับความยากลำบากในการประมาณการความยาวลำตัวแบบที่แม่นยำของไดโนเสาร์เจ้าของฟอสซิลฟัน เนื่องจากไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนของฟันในปากไดโนเสาร์ได้หวังต่งฮ่าว สมาชิกทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฯ ระบุว่าการประเมินตัวเลขในเชิงสงวน (conservative estimate) ระบุว่าไดโนเสาร์เจ้าของฟันอาจมีความยาวอย่างน้อย 5-6 เมตรทีมนักวิจัยระบุว่าการค้นพบครั้งนี้ช่วยส่งมอบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟอสซิลไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ในพื้นที่จีนตอนใต้ ซึ่งเติมเต็มช่องว่างทางนิเวศที่สำคัญสำหรับภูมิภาคนี้ และขยายขอบเขตพื้นที่การกระจายพันธุ์ของไทแรนโนซอรอยด์ (Tyrannosauroids) ที่มีการยืนยันสิงกล่าวว่าเมื่อรวมกับบันทึกฟอสซิลไข่ไดโนเสาร์ที่พบในภูมิภาคดังกล่าวแล้ว การค้นพบฟอสซิลฟันยังบ่งชี้ว่าในอดีตนั้นเคยมีไดโนเสาร์หลายสายพันธุ์อาศัยอยู่ในแถบจีนตอนใต้ ก่อนหน้าการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส (แฟ้มภาพซินหัว : ภาพถ่ายวันที่ 6 มิ.ย. 2020 แสดงฟอสซิลฟันไดโนเสาร์ก่อนการทำความสะอาดและบูรณะ) (แฟ้มภาพซินหัว : ภาพถ่ายวันที่ 14 พ.ค. 2024 แสดงฟอสซิลฟันไดโนเสาร์ที่ผ่านกระบวนการทำความสะอาดและบูรณะแล้ว) (ภาพจำลองไดโนเสาร์วงศ์ไทแรนโนซอรอยเดีย ไดโนเสาร์เดิน 2 ขาสายพันธุ์กินเนื้อที่เคยอยู่บนโลกเมื่อราว 66-70 ล้านปีก่อน)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง