รีเซต

เปิดยอดเงินลงทุน กองทุนประกันสังคม ในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง กว่า 4.2 แสนล้าน

เปิดยอดเงินลงทุน กองทุนประกันสังคม ในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง กว่า 4.2 แสนล้าน
มติชน
22 กันยายน 2563 ( 15:36 )
279

กรณีโลกอินเทอร์เน็ตมีการตั้งคำถามถึงหลักเกณฑ์การลงทุนของกองทุนสำนักงานประกันสังคม อันเป็นกรณีต่อเนื่องจากการตั้งคำถาม หลังพบว่ากองทุนประกันสังคมคือผู้ถือหุ้นการลงทุนรายใหญ่ของศรีพันวา ซึ่งจัดว่าเป็นการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง จึงมีการตั้งคำถามถึงหลักเกณฑ์การเลือกลงทุน

 

ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบ รายงานสถานะการบริหารเงินลงทุนกองทุนประกันสังคม ไตรมาสที่ 2 และวันที่ 30 มิถุนายน 2563 พบว่า เงินลงทุนกองทุนประกันสังคมและวันที่ 30 มิถุนายน 2563 จำนวน 2,114,775 ล้านบาท

 

ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงจำนวน 1,688,446 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 80 ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง จำนวน 426,329 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20

 

สำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงจำนวน 20 เปอร์เซ็นต์ แบ่งออกเป็น การลงทุนในพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน 10,464 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.50% ลงทุนในตราสารทุนไทย 255,740 ล้านบาท หรือคิดเป็น 12.09 เปอร์เซ็นต์ ลงทุนในหน่วยลงทุนตราสารทุน ต่างประเทศที่ไม่ได้ถูกจัดอันดับความน่าเชื่อถือ 69,316 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.28 เปอร์เซ็นต์ ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ โครงสร้างพื้นฐาน ทองคำ 90, 890 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4.29%

 

ผลตอบแทนจากการลงทุนสะสมตั้งแต่ปี 2534 ถึงปัจจุบัน จำนวน 675,782 ล้านบาท และเป็นที่น่าสนใจสำหรับผลตอบแทน โดยผลตอบแทนนับตั้งแต่ต้นปี 2563 ถึงเดือนมิถุนายน 2563 พบว่า มีผลตอบแทนจากดอกเบี้ยและกำไรจากการขายตราสารหนี้และค่าธรรมเนียมการให้ยืมหลักทรัพย์ จำนวน 21,276 ล้านบาท ส่วนเงินปันผลและกำไรจากการขายตราสารทุนและหน่วยลงทุน ได้เพียง 2,782 ล้านบาท ต่างจากปี 2562 ซึ่งได้ผลตอบแทนในส่วนดังกล่าวมากกว่า 4 หมื่นล้าน นั่นหมายถึงการได้รับผลตอบแทนลดลงอย่างมาก คาดว่าเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจ

 

ทั้งนี้สำนักงานประกันสังคม ได้เปิดเผยกรอบนโยบายความเสี่ยงในการลงทุน ทั้งหมด 4 กรอบ เช่นความเสี่ยงด้านการตลาด ดูเรื่องความผันผวนของราคาตราสารในตลาด ความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ความเสี่ยงด้านเครดิต เชิญดูความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดชำระหนี้เป็นต้น ความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ดูจากความเสียหายซึ่งเกิดจากความไม่เพียงพอหรือไม่มีประสิทธิภาพกระบวนการภายในบุคลากรหรือระบบงาน และความเสี่ยงด้านสภาพคล่องคือความเสี่ยงที่เกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ไม่ได้ในระยะเวลาหรือราคาที่กำหนดเป็นต้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง