หน้าต่างอัจฉริยะคล้ายปลาหมึกปรับเปลี่ยนสีและความสว่างของแสงได้
TNN ช่อง16
4 กุมภาพันธ์ 2566 ( 10:23 )
112
หน้าต่างกระจกใสกำลังเปลี่ยนไปหลังจากนักวิจัยมหาวิทยาลัยโทรอนโต ประเทศแคนาดา ประสบความสำเร็จในการวิจัยพัฒนาหน้าต่างอัจฉริยะได้รับแรงบันดาลใจจากการเปลี่ยนสีของปลาหมึกในทะเลทำให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมความสว่างของหน้าต่างได้ตามความต้องการ
เทคโนโลยีเบื้องหลังหน้าต่างเปลี่ยนสีทีมนักวิจัยได้ใช้แผ่นพลาสติกใสหลายชั้นวางซ้อนกัน โดยในแต่ละแผ่นมีการช่องสำหรับใส่ไมโครแชนเนลหนาระดับมิลลิเมตรเพื่อให้ของเหลวที่มีเม็ดสีต่าง ๆ ที่ถูกปั๊มเข้ามาสามารถไหลผ่านเข้าออกจากช่องของแต่ละแผ่น เมื่อของเหลวที่มีเม็ดสีไหลผ่านส่งผลต่อความสว่างของหน้าต่างในที่สุด
ทีมนักวิจัยได้ใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์คำนวณปริมาณแสงที่ผ่านหน้าต่างอัจฉริยะในรูปแบบต่าง ๆ และประมาณการว่าหากใช้หน้าต่างอัจฉริยะป้องกันแสงอินฟราเรดจะสามารถช่วยให้พลังงานภายในตัวอาคารลดลงประมาณ 25% ต่อปี แต่หากใช้หน้าต่างอัจฉริยะป้องกันแสงธรรมชาติที่มองเห็นได้ทั่วไปอาจสามารถช่วยให้พลังงานภายในตัวอาคารลดลงได้ถึงประมาณ 50% ต่อปี
แนวคิดกระประหยัดพลังงาน
ทั้งหมดนี้เป็นแนวคิดการประหยัดพลังงานซึ่งใช้หลักการควบคุมแสงสว่างที่ส่องเข้ามาภายในตัวอาคารซึ่งจะมีผลโดยตรงต่ออุณหภูมิ ตัวอย่างเช่น อาคารในประเทศอากาศหนาวอาจต้องการแสงสว่างเพื่อให้ความอบอุ่นภายในตัวอาคารเพื่อลดการทำงานของเครื่องทำความร้อนในตัวอาคาร ขณะเดียวกันอาคารในประเทศอากาศร้อนอาจไม่ต้องการให้แสงส่องเข้ามาภายในตัวอาคารมากนักเพื่อลดการทำงานหนักของเครื่องปรับอาคาร
ที่มาของข้อมูลและรูปภาพ Newatlas