รีเซต

‘เอเซียพลัส’ ประเมินดัชนีหุ้นสิ้นปีไปไม่ไกล สูงสุดแตะ 1,440 จุด เผยกำไรบจ.ครึ่งปีแรกต่ำสุด

‘เอเซียพลัส’ ประเมินดัชนีหุ้นสิ้นปีไปไม่ไกล สูงสุดแตะ 1,440 จุด เผยกำไรบจ.ครึ่งปีแรกต่ำสุด
มติชน
8 กรกฎาคม 2563 ( 16:01 )
61
‘เอเซียพลัส’ ประเมินดัชนีหุ้นสิ้นปีไปไม่ไกล สูงสุดแตะ 1,440 จุด เผยกำไรบจ.ครึ่งปีแรกต่ำสุด

‘เอเซียพลัส’ ประเมินดัชนีหุ้นสิ้นปีไปไม่ไกล สูงสุดแตะ 1,440 จุด เผยกำไรบจ.ครึ่งปีแรกต่ำสุด

นายเทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส จำกัด เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดหุ้นไทย คาดว่าไตรมาส 4/2563 จะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนหลายเรื่อง โดยหากมองในแง่เศรษฐกิจ ที่รู้กันอยู่แล้วว่าไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เป็นจุดต่ำสุด ไตรมาส 3 แม้จะติดลบอยู่หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 แต่จำนวนติดลบเริ่มน้อยลง โดยหากมองในแง่ของกำไรบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไทย เชื่อว่าไตรมาส 3 การที่เศรษฐกิจกลับขึ้นมาจากการคลายล็อกดาวน์แล้ว น่าจะสามารถดึงบรรยากาศกำไรบริษัทจดทะเบียนกลับขึ้นมาได้ด้วย รวมถึงหากประเมินจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 พัฒนาการของวัคซีนต้านไวรัส น่าจะเริ่มมีความคืบหน้าอย่างมีนัยยะสำคัญบ้าง ทำให้บรรยากาศที่ดีของปัจจัยเหล่านี้ น่าจะช่วยทำให้ตลาดหุ้นดูดีขึ้น โดยในช่วงสิ้นปีประเมินว่าดัชนีหุ้นไทยจะเคลื่อนไหวสูงสุดแตะระดับ 1,440 จุด ส่วนกรอบการเคลื่อนไหวจะอยู่ในระดับ 1,250-1,420 จุด รวมถึงคาดว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ทั้งปี 2563 จะติดลบที่ 8.4%

นายเทิดศักดิ์กล่าวว่า ภาพตลาดหุ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ได้สะท้อนภาพผลกระทบในช่วงครึ่งปีแรก คือ การระบาดโควิด-19 และในช่วงกลางเดือนสิงหาคมนี้ จะมีการประกาศตัวเลขสำคัญ 2 ตัว ได้แก่ ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม(จีดีพี) ไตรมาส 2/2563 จะติดลบรุนแรงประมาณ 15% ซึ่งอาจมีโอกาสทำให้ดัชนีหุ้นไทยปรับระดับลดลงได้ และตัวเลขการประกาศงบผลกำไรบริษัทจดทะเบียน โดยในไตรมาส 1/2563 กำไรรบริษัทจดทะเบียน อยู่ที่ 1.06 แสนล้านบาท จึงประเมินว่าไตรมาส 2 ในกรณีที่ดีที่สุด กำไรรบริษัทจดทะเบียน จะทรงตัวไม่แตกต่างกันมากนัก อยู่ที่ 1 แสนล้านบาท เท่ากับในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 บริษัทจดทะเบียนทำกำไรได้ประมาณ 2 แสนล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ต่ำมาก เนื่องจากหากเทียบกับช่วงภาวะปกติ รบริษัทจดทะเบียนไทยจะทำกำไรเฉลี่ยไตรมาสละไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาท โดยหากไตรมาส 3-4 นี้ ภาพรวมกลับเข้าสู่ภาวะปกติ รบริษัทจดทะเบียนไทยจะทำกำไรได้อยู่ที่ 2 แสนล้านบาทต่อไตรมาส เท่ากับว่าทั้งปี 2563 กำไรขอรบริษัทจดทะเบียนจะทำได้ที่ 6 แสนล้านบาท เทียบกับประมาณการที่คาดว่ากำไรรบริษัทจดทะเบียนปี 2563 จะทำได้ที่ 6.88 แสนล้านบาท คิดเป็นกำไรสุทธิ (อีพีเอส) ที่ 64 บาทต่อหุ้น โดยมีโอกาสที่จะปรับประมาณการกำไรรบริษัทจดทะเบียนลงอีกครั้ง แต่ต้องติดตามตัวเลขกำไรบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 2 ที่กำลังจะประกาศออกมาก่อน ทำให้ในเชิงพื้นฐานตัวเลขจีดีพีและกำไรรบริษัทจดทะเบียนค่อนข้างเป็นตัวที่สร้างบรรยากาศเชิงลบให้กับตลาดหุ้นไทย

ครึ่งปีแรกบริษัทจดทะเบียนทำกำไรได้เพียง 30-40% ของประมาณการที่ประเมินไว้ปี 2563 มูลค่าอยู่ที่ 6.88 แสนล้านบาท ส่งผลให้ช่วงที่เหลือของปี บริษัทจดทะเบียนจะต้องพยายามทำกำไรให้มากเกินกว่า 60-70% ของประมาณการซึ่งเข้าช่วงครึ่งปีหลังหรือช่วยปลายปี จะเป็นช่วงที่ตลาดมองข้ามไปถึงแนวโน้มของปี 2564 แล้ว ซึ่งมุมมองของหน่วยงานต่างๆ อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เห็นตรงกันว่าทิศทางเศรษฐกิจปี 2564 จะเป็นปีที่ของการฟื้นตัว ทำให้หากไล่ภาพตลาดหุ้นไทยไตรมาส 3 จะเป็นช่วงพักฐาน ก่อนที่ไตรมาส 4 จะเริ่มเห็นบรรยากาศที่ดีขึ้นต่อไปนายเทิดศักดิ์กล่าว

นายเทิดศักดิ์กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีแรก ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงไปแรง และสามารถปรับระดับขึ้นมาได้เร็ว เนื่องจากมีเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติ (ฟันด์โฟลว์) และปริมาณการซื้อขายเข้ามาสนับสนุน อาทิ แรงซื้อจากสถาบันในประเทศเพราะมีกองทุนพิเศษที่ให้สิทธิทางภาษีเข้ามา ซึ่งครบกำหนดการซื้อในเดือนมิถุนายน รวมถึงการกลางไตรมาส 2 มีการปรับน้ำหนักหุ้นในดัชนีมาตรฐานการวัดผลตอบแทนการลงทุน (เอ็มเอสซีไอ) ทำให้เกิดฟันด์โฟลว์ไหลเข้ามามากกว่าปกติ แต่ในช่วงต่อจากนี้ ภาวะฟันด์โฟลว์ไหลเข้ามามากกว่าปกติไม่น่าจะเกิดขึ้นแล้ว และในไตรมาส 3 นี้ ก็ประเมินว่ายังไม่มีโอกาสที่ฟันด์โฟลว์จะไหลเข้ามาเพิ่มเติม เพราะมูลค่าหุ้น (แวลูเอชั่น) ตลาดหุ้นไทยค่อนข้างมีราคาแพงมากกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ ขณะที่ปริมาณการซื้อขายในประเทศอาจเบาบางลง ทำให้มองว่าไตรมาส 3 นี้ ตลาดหุ้นไทยจะแผ่วลง ส่วนกลยุทธ์การลงทุนให้แบ่งสัดส่วนลงทุนในตลาดหุ้นไทย 30% หุ้นต่างประเทศ 15% ตราสารหนี้ 40% ส่วนที่เหลือเป็นตราสารทางเลือกใหม่ๆ

นายเทิดศักดิ์กล่าวว่า สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หากประเมินจากตัวเลขที่เปิดเผยผ่านสภาพัฒน์ ตัวเลขเม็ดเงินที่ถูกใช้ออกมายังไม่มากเท่าที่ควร อาทิ เม็ดเงินเยียวยา 5.5 แสนล้านบาท ถูกปล่อยออกมาเพียง 1.23 แสนล้านบาทเท่านั้น จึงคาดว่าจะเห็นการเร่งการเบิกจ่ายมากขึ้นในช่วงต่อจากนี้ และการประมูลโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ออกมาเพิ่มเติม ส่วนกรณีการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) มองเป็นเรื่องธรรมชาติของการเมือง ที่เมื่อมีการทำงานมาสักระยะหนึ่งแล้วจะต้องมีการปรับเปลี่ยน แต่หากมองในมุมการปรับเปลี่ยนในถาพใหย่ ยังไม่เห็นการเคลื่อนไหวจากฝ่ายค้าน ทำให้การปรับครม.ตรงนี้ อาจเป็นการปรับเปลี่ยนภายในมากกว่า ซึ่งหากยังอยู่ภายใต้การทำงานแผนหลักตามเดิม คงไม่ได้ส่งผลอะไรมากนัก โดยให้น้ำหนักเกี่ยวกับการนำนโยบายที่ประกาศไว้ ไปปฏิบัติให้ได้ตามนั้นมากกว่า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง