วันที่ 7 เดือน 7 กับสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
วัน 7 เดือน 7 ของทุกปีทั่วโลกต่างรู้กันว่าเป็นวันทานาบาตะจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเทศกาลเฉลิมฉลองตามดวงดาว โดยมีต้นกำเนิดมาจากงานเทศกาลเจ็ดนางฟ้าของจีน เนื่องจากการพบกันของ นางฟ้าโอริฮิเมะ (ดาวเวกา) และ ฮิโคโบชิ (ดาวอัลแทร์) ผู้เลี้ยงวัวบนสวรรค์ โดยอ้างอึงจากตำนานในอดีตว่า ทางช้างเผือก คือแม่น้ำของดวงดาวพาดผ่านท้องฟ้า ได้ทำการแยกคู่รัก (โอริฮิเมะและฮิโคโบชิ) ไม่ให้ได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภรรยา แต่อนุญาตให้เจอเพียงปีละหนึ่งครั้ง ในวันที่เจ็ดของเดือนที่เจ็ดตามปฏิทินสุริยจันทรคติ เทศกาลเฉลิมฉลองมีขึ้นตอนกลางคืนของวันนั้น
แต่ในวันเดียวกัน วันที่ 7 เดือน 7 ในปี 1937 เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง เป็นความขัดแย้งทางทหารที่เป็นการสู้รบหลักระหว่างสาธารณรัฐจีนและจักรวรรดิญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 ถึงวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 จุดเริ่มด้วยเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโลในปี ค.ศ. 1937 ซึ่งกลายเป็นข้อพิพาทระหว่างกองกำลังทหารจีนและญี่ปุ่นที่บานปลายจนต้องสู้รบกัน แหล่งข้อมูลบางแห่งในสาธารณรัฐประชาชนจีนยุคปัจจุบันได้มีการถือจุดเริ่มต้นของสงครามคือญี่ปุ่นบุกครองแมนจูเรียในปี ค.ศ. 1931 โดยถือว่าเป็นเป็นสงครามขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียในศตวรรษที่ 20 และเป็นเหมือนเป็นจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ของสงครามโลกครั้งที่สองเลยก็ว่าได้
สงครามในครั้งนี้เป็นผลพวงจากนโยบายจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่นที่มีมายาวนานหลายทศวรรษเพื่อขยายอิทธิพลทางการเมืองและทางทหารเพื่อความปลอดภัยในการเข้าถึงแหล่งแร่วัตถุดิบ อาหาร และแรงงาน ในช่วงของหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นำมาซึ่งการเพิ่มความตึงเครียดให้กับการปกครองของญี่ปุ่น นักการเมืองฝ่ายซ้ายต้องการที่จะมีสิทธิในการออกเสียงการเลือกตั้งทั่วไปและสิทธิประโยชน์ที่มากขึ้นสำหรับแรงงาน การเพิ่มผลผลิตสิ่งทอจากโรงทอผ้าจีนเป็นการส่งผลกระทบต่อการผลิตของญี่ปุ่น ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทำให้การส่งออกสินค้าชะลอตัวลงอย่างมาก
ภายหลังญี่ปุ่นได้ยอมจำนนในที่สุด เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 ต่อกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตร และฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองได้ตัดสินใจที่จะหยุดยั้งและลงโทษต่อการรุกรานของญี่ปุ่น โดยการส่งคืนดินแดนทั้งหมดที่ญี่ปุ่นยึดครองไปจากจีน รวมถึงแมนจูเรีย เกาะไต้หวัน/ฟอร์โมซา และเกาะเปสกาโดเรส (เผิงหู) แก่จีน และขับไล่ญี่ปุ่นออกจากคาบสมุทรเกาหลี ประเทศจีนได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสี่ผู้ยิ่งใหญ่ของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามและกลายเป็นหนึ่งในห้าสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอีกด้วย
ขอบคุณข้อมูล : sanook