รีเซต

เปิดตัวเมนู...ทำมั่ว!แต่อร่อย เมนูเด็ด“ข้าวหมา”มาแรง

เปิดตัวเมนู...ทำมั่ว!แต่อร่อย เมนูเด็ด“ข้าวหมา”มาแรง
TNN ช่อง16
24 กรกฎาคม 2566 ( 16:16 )
121

จากกรณีร้านข้าวป้าอ้อย หลังโรงเรียนนครสวรรค์ ที่นำเมนู ข้าวหมา เมนูขวัญใจนักเรียนที่ขายมานานกว่า 20 ปี จนเหล่านักชิมต่างนำมารีวิวและกลับมาโด่งดังอีกครั้งในโลกโซเชียล

โดยนางอนัญญา พินทอง หรือป้าอ้อย อายุ 60 ปี เจ้าของร้าน ก็ออกมาเปิดเผยถึงเมนูข้าวหมา ที่กลับมาได้รับความนิยมในช่วงนี้ อีกครั้งว่า ที่มาของ เมนูข้าวหมานี้ เกิดจากสมัยก่อนมีเด็กนักเรียน มาสั่งข้าวผัดกิน แต่เนื่องจากทางร้านมีข้าวเหลือน้อย จึงใส่เส้นมาม่าลงไป พร้อมเครื่องต้มยำคลุกให้เข้ากัน จากนั้นก็ใส่ผักบุ้งผัดรวมกัน จนเด็กแซวว่าเหมือนอาหารหมา แต่รสชาติจัดจ้านจนเด็กบอกกันปากต่อปาก และขายดีมากว่า 20 ปี 

แต่หากจะทานให้ครบสูตร ต้องทานพร้อมเมนูไก่แพน สูตรเด็ดของทางร้าน ที่ต้องทานคู่กันเสริฟ พร้อมกันในราคา 40 บาท

นางอนัญญา เปิดเผยว่า เมนูนี้กลายเป็นไวรับดังชั่วข้ามคืน หลังจากเพจต่างๆ ออกมาแชร์กันในช่วงนี้ ทำให้เมนูนี้ที่ปกติจะรู้กันในกลุ่มนักเรียน แต่ตอนนี้มีออรเดอร์ สั่งเข้ามาอย่างต่อเนื่อง จนบางวันผัดแทบไม่ทัน แต่ก็ดีใจที่คนมาทานแล้วบอกอร่อยติดใ

นอกจากนี้ ทางร้านยังมีเมนูต่างๆอีกมากที่ทานแล้วต้องทานซ้ำจึงขอเชิญชวนให้มาลองสำหรับร้านตั้งิยู่ที่บริเวณด้านหลังโรงเรียนชาย หรือ โรงเรียนนครสวรรค์



สำหรับอาหาหร ที่เกิดขึ้นมาโดยไม่ตั้งใจ แต่กินแล้วอร่อย จนเป็นที่นิยม มีมานานหลายพันปีแล้ว อย่างเช่น ชีส หรือแม้แต่ หมูหัน


ชีส มาจากการแปรรูปนม กว่า 6,000 ปีก่อนคริสตศักราช  เกิดขึ้นในทะเลทรายแถบเมโสโปเตเมีย โดยชาวอาหรับ ผู้หนึ่งเดินทางข้ามทะเลทราย ไปเมืองอื่นด้วยอูฐ ซึ่งเขาได้เตรียมนมใส่กระเป๋าที่ทำมาจากกระเพาะของแกะ เอาไว้กิน แต่หลังจากเดินทาง ไปได้สักพัก เมื่อหยิบนมขึ้นมาดื่ม พบว่า นมที่อยู่ในกระเพาะแกะนั้น แยกออกจากกันเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นน้ำนมปกติ ส่วนที่สองจับตัวกันเป็นก้อน แถมมีรสชาติอร่อยอย่างที่ลิ้นของเขาไม่เคยได้สัมผัสมาก่อน ซึ่งนั่งคือ จุดเริ่มต้นของ ชีส 


สาเหตุ ก็มาจาก เยื่อบุในกระเพาะของแกะมีเอนไซม์เรนเนท  เมื่อเจอความร้อนระอุของทะเลทรายและแรงสั่นสะเทือนจากการเดินทางบนหลังอูฐ จึงทำให้นมจับตัวกันเป็นก้อน และกลายเป็นชีส ในที่สุด


ส่วน หมูหัน นั้นเกิดจาก ครอบครัวชาวจีนครอบครัวหนึ่ง  เลี้ยงหมูไว้ในคอก  พอเข้าช่วงฤดูหนาวจึงก่อไฟเพื่อสร้างความอบอุ่น แต่ลมก็พัดจนไฟไหม้คอกหมูอย่างรวดเร็ว เมื่อไฟสงบกลับพบว่า หมูมีหนังที่แดงสวย กลิ่นหอม จึงได้แบ่งกันกิน และทำต่อกันมาเรื่อยๆ ในชื่อเมนู ‘หมูหัน’ 


 



ข่าวที่เกี่ยวข้อง