รีเซต

ซีไอเอ็มบีหั่นเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือ 1.3% - ชี้โควิดยังลากยาวถึงไตมาส 4 อาจเห็นจีดีพีต่ำกว่า 1%

ซีไอเอ็มบีหั่นเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือ 1.3% - ชี้โควิดยังลากยาวถึงไตมาส 4 อาจเห็นจีดีพีต่ำกว่า 1%
ข่าวสด
1 กรกฎาคม 2564 ( 16:58 )
80
ซีไอเอ็มบีหั่นเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือ 1.3% - ชี้โควิดยังลากยาวถึงไตมาส 4 อาจเห็นจีดีพีต่ำกว่า 1%

 

ซีไอเอ็มบีหั่นเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือ 1.3% - ชี้โควิดยังลากยาวถึงไตมาส 4 อาจเห็นจีดีพีต่ำกว่า 1%

 

 

ซีไอเอ็มบีหั่นเศรษฐกิจไทย - นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่าผลจากจากการระบาดของโควิด -19 ระลอก 3 ที่มีแนวโน้มยาวนาน ประกอบกับการฉีดวัคซีนล่าช้า หรือวัคซีนยังมีประสิทธิภาพไม่เต็มที่ ขณะเดียวกัน การระบาดของไวรัสกลายพันธุ์จะลากยาวแค่ไหน และปัจจัยการฟื้นตัวของตลาดโลก ทำให้สำนักวิจัยฯ ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 เหลือ 1.3% จากปลายเดือนพ.ค. ที่คาดว่าจะเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 1.9% และ ปี 2565 ขยายตัวจาก 5.1% เหลือ 4.2% ขณะที่การส่งออกปีนี้คาดว่าจะขยายตัวได้ 15.5% และ ปี 2565 ขยายตัว 10.5%

 

 

อย่างไรก็ดี หากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังลากยาวถึงในไตรมาส 4 ยอดผู้ติดเชื่อยังสูงต่อเนื่อง และยังใช้มาตรการกึ่งล็อกดาวน์กระทบความเชื่อมั่น อาจเห็นจีดีพีต่ำกว่า 1% แต่ยังไม่ติดลบ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังมีภาคส่งออกและมาตรการภาครัฐ ซึ่งจะสามารถพยุงได้ในระดับหนึ่ง แต่ในกรณีเลวร้ายสุด หากในต่างประเทศมีการกลับมาแพร่ระบาดของโควิด-19 อีก โดยในเฉพาะสหรัฐ และจีน ที่เป็นคู่ค้าหลักของไทย ทำให้ส่งออกไทยติดลบ มีโอกาสอาจเห็นจีดีพีติดลบถึง 2 ปีได้

 

 

นอกจากเศรษฐกิจไทยจะเติบโตช้าแล้ว ยังเผชิญ 4 ปัจจัยเสี่ยงเสริมเข้ามา ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจที่นิ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายที่ซึม รวมถึงภาวะการฟื้นตัวที่ไม่เท่าเทียมกันจากภาคการผลิตที่ฟื้นตัวจากการส่งออก ขณะที่ภาคบริการยังได้รบผลกระทบจากการท่องเที่ยว ขณะที่สงครามการค้าสหรัฐ-จีน ทวีความกดดันขึ้นอีกครั้ง ซึ่งจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในการขยายตลาดหรือความร่วมมือในภูมิภาคต่างๆ เพื่อลดผลกระทบ และประสิทธิภาพของวัคซีนที่ต้องมีการบริหารจัดการภายใต้การกลายพันธุ์ของไวรัส

 

 

ขณะเดียวกันเศรษฐกิจไทยจะฟื้นเร็วกว่าที่คาด หากมี 4 ปัจจัยเร่ง ได้แก่ สร้างความเชื่อมั่น หากมีการเร่งฉีดวัคซีนโดยเร็ว ควบคู่ไปกับเอกชนเข้าถึงวัคซีนทางเลือกรวดเร็ว คนจะกลับมามีความเชื่อมั่นอีกครั้ง, คนจะกลับมามีความเชื่อมั่นอีกครั้ง, ฟื้นแรงงานภาคเกษตร หลังปิดกิจกรรมเศรษฐกิจ คนย้ายถิ่นฐานกลับบ้าน หากเร่งการฟื้นตัวของแรงงานกลุ่มนี้โดยเสริมการจ้างงานในชนบทให้สร้างสาธารณูปโภคในพื้นที่เพื่อกักเก็บน้ำและป้องกันน้ำท่วมได้ จะยิ่งเป็นแรงหนุนในการเติบโตอย่างยั่งยืน,

 

 

การเร่งเตรียมแผนรับนักท่องเที่ยวปีหน้า โดยทำ Bubble Tourism กับต่างประเทศเพื่อลดการกักตัวสำหรับผู้ได้รับวัคซีน เพื่อให้สามารถมีรายได้การท่องเที่ยวเป็นตัวหลักฟื้นเศรษฐกิจได้ และเร่งการใช้จ่ายภาครัฐให้ตรงจุด บรรเทาปัญหาแรงงานด้วยการเร่งประกันสังคมชดเชยรายได้ ดูแลผู้ประกอบการรายกลางและเล็ก หรือเอสเอ็มอีให้สามารถจ่ายเงินเดือนพนักงาน มีค่าชดเชยรายได้ที่หาย หรือเครดิตเงินคืนภาษีในปีต่อๆ ไป พร้อมเร่งอัดฉีดซอฟต์โลน เสริมสภาพคล่องไม่ให้ธุรกิจต้องปิดตัว หากรัฐกังวลหนี้ชนเพดาน ก็ให้หาทางเพิ่มรายได้ เช่นปล่อยเช่าทรัพย์สิน หรือใช้ตลาดทุนในการขายหุ้นรัฐวิสาหกิจบางส่วน แลเเมื่อศรษฐกิจฟื้นมีรายได้ก็สามารถซื้อคืนกลับมาได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง