รีเซต

อาจารย์หมอชี้ป่วยเล็กน้อยก็อาจเป็นโควิด-เจอเคสติดเชื้อจากธนบัตร

อาจารย์หมอชี้ป่วยเล็กน้อยก็อาจเป็นโควิด-เจอเคสติดเชื้อจากธนบัตร
TNN ช่อง16
12 มกราคม 2564 ( 14:33 )
1.1K
อาจารย์หมอชี้ป่วยเล็กน้อยก็อาจเป็นโควิด-เจอเคสติดเชื้อจากธนบัตร

วันนี้ ( 12 ม.ค. 64 )แพทย์หญิง นิษฐา เอิ้ออารีมิตร แพทย์ชำนาญพิเศษด้านอายุรศาสตร์ โรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลเอกชัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว “Nittha Oer-areemitr” โดยระบุถึงประสบการณ์ตรวจเคสคนไข้ติดโควิด 19 โดยระบุว่าอาการป่วยเล็กๆน้อยก็มีสิทธิเป็นผู้ติดเชื้อได้โดยที่เราไม่คาดฝัน ซึ่งข้อความระบุว่า 

 

รวมประสบการณ์ จากการดูเคสโควิด เกิน 170 เคส (for healthcare workers)เนื่องจากเหตุการณ์ระบาดที่ผ่านมา รพ.เล็ก หมอน้อย ใช้สอบประหยัด จึงได้มีโอกาสทำงานดูเคสเองทั้งหมด ซักเองทุกเคส ตัวเลขไม่ได้เป๊ะๆ 

 

เนื่องจากไม่ได้เก็บเป็น data file เพราะแค่นี้ก็ยุ่งจะแย่แล้ว 55+ (ข้ออ้างล้วนๆ) เลยขอมาแชร์ข้อมูลเท่าที่เก็บมาได้ ไม่มี evidence base เป็นเพียง observation นะคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างกับเพื่อนๆ 

 

1. อาการไม่สบายนิดหน่อย เจอบ่อยใน Day 1

- ผู้ป่วยส่วนมาก อาการน้อย โดยเฉพาะวันแรกๆ แทบไม่รู้สึกว่ามีอาการผิดปกติเลย บางคนจะให้ประวัติครั้งแรกว่าไม่มีอาการ แต่พอถามจริงๆ ก็นึกไปมา ก็บอกว่ามีวันนึง รู้สึกเหมือนเป็นหวัด กินยาแป็บเดียว ก็ดีขึ้นแล้ว เลยคิดว่าไม่ใช่โควิด จึงได้เข้าใจว่า ผุ้ป่วยส่วนมากมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง คือเข้าใจว่าโควิดต้องเป็นเยอะ ต้องมีจมูกไม่ได้กลิ่น ซึ่งจริงๆไม่ใช่เลย อาการอย่างที่ว่า อาจจะพบได้ แต่วันหลังๆ ไม่ใช่อาการตอนแรก อาการวันแรกๆ หลายคนจะแค่รู้สึกไม่ค่อยสบายนิดหน่อย เท่านั้นเอง หรือบางคนอาจจะไม่รู้สึกจริงๆก็ได้ 

 

2. จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส อาจ delay detection 

 

- ที่ซักมา พบได้ประมาณ 60-70% โดยระยะเวลาที่เป็น จะประมาณวันที่ 3-7 ของการเริ่มมีอาการ ซึ่งระยะเวลาแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนเป็น 3-4 วัน บางคนเป็นเกือบ 1 สัปดาห์ นานสุดที่เจอ 10 วันยังไม่หาย ที่อ่านดู นานสุด 1 เดือน ไม่สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคชัดเจน คือบางคนมี pneumonia แต่จมูกปกติก็มี การที่ให้สังเกตแต่อาการจมูกไม่ได้กลิ่น ต้องระวังจะ delay detectionเพราะที่สังเกตกว่าจะมีอาการ ก็คงกระจายโรคไปมากแล้ว

 

3. ก่อนที่จมูกจะได้กลิ่นกลับมา คนไข้จะบ่นว่าแสบจมูก (ไม่ได้ดมยาดม คือแสบเอง) จะมีอาการประมาณ​1-2 วัน แล้วก็จะเริ่มได้กลิ่น 

 

4. ลิ้นไม่รับรส ก็พบได้ แต่ไม่บ่อยเท่าจมูกไม่ได้กลิ่น แล้วก็เวลาดีขึ้นมักกลับมาก่อนจมูกไม่ได้กลิ่น 

 

5. อาการวันที่ 5-7 เป็นช่วงที่ต้องระวังมากๆ 

 

- ถ้าเป็นไปได้ ช่วงนี้ควรวัดไข้ถี่ขึ้น พร้อมบอกคนไข้ไว้เลยว่าต้องสังเกตอาการอะไรบ้าง ถ้ามีอาการเพิ่มช่วงนี้ เป็นไปได้ว่ามีปอดอักเสบเพิ่มขึ้น โดยอาการช่วงนี้ไม่ specific บางคนอาจจะไอ แต่บางคนมาบอกว่าแน่นๆหน้าอก ไม่ไอ บางคนบอกรู้สึกหายใจไม่อิ่ม บางคนบอกเจ็บหน้าอกก็มี 

คนไข้บางคนก็วัดเท่าไหร่ก็ไม่มีไข้ แต่คนไข้จะบอกว่ารู้สึกร้อนๆ เหมือนจะมีไข้ ดังนั้นแพทย์อาจจะต้องระวังว่าอย่ายึดติดกับตัวเลขปรอทมากนัก 

 

6. ไม่มีอาการแต่ CXR เยินไปแล้ว

 

- ช่วงปอดอักเสบช่วงแรกๆ คนไข้มักจะยังไม่เหนื่อย และอาจจะยังไม่ไอ มีหลายเคสที่เอ็กซเรย์ปอด พบผิดปกติทั้งๆที่คนไข้ยังไม่มีอาการอย่างว่าเลย

และถ้าให้ยาช่วงนี้ตอนที่ฟิลมเปลี่ยนแต่อาการยังไม่มาก หลังจากให้ยา เหมือนจะมี reactionขึ้น คนไข้อาจจะเริ่มมีไอ หรือไข้ขึ้น 1-2 วัน แล้วก็ค่อยๆดีขึ้น 

 

7. อาการเยอะ CXR ผิดปกติ เสี่ยง Hypoxemia

- ถ้าคนไข้มาตอนมีอาการเยอะแล้ว เช่น ไอเยอะมาก เอ็กซเรย์ปอดมักพบผิดปกติชัดเจนแล้ว กลุ่มนี้มีโอกาสสูงที่จะมี hypoxemia 

 

8. pulse oximeter ไม่ไวพอ

 

- ที่จะใช้คัดกรองการเกิดปอดอักเสบเพียงอย่าง แม้จะวัดเป็น exertional sat แล้วก็ตาม ก็ยังไม่ค่อยต่ำ แต่พอฟิลมดู ก็เจอว่ามี pneumoniaแล้ว 

 

9. การ film วันแรกสำคัญ

 

- ไม่ว่าคนไข้จะมีอาการหรือไม่มีอาการ ให้ film ดูก่อน เพราะช่วงที่ clinical เปลี่ยน เทียบกับ film เดิมจะเห้นชัดมากๆ แล้วก็แนะนำให้แพทย์เจ้าของไข้ดูฟิลม์เองมากๆ จ้องเยอะๆ ดูบริเวณ​periphery ดีๆ เพ่งๆไป จะเห็น ground glass opacity บางๆบ่อยๆ 

 

10. ยิ่งอ้วน ยิ่งเสี่ยง

 

- ความเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรคชัดมาก ไม่มีตัวเลขให้ดูแต่ BMI เกิน 30 มีปอดอักเสบเกือบทุกคน 

 

11. ค่า CT ratio repeat ดีมั้ยนะ เปลี่ยน Mx หรือเปล่า

 

- CT ratio ของเชื้อ ช่วงที่มีอาการเยอะๆ มักอยู่ประมาณ​ 20-30 แต่คิดว่าไม่น่ามีผลต่อ management  บางเคสต้องระวังguideline ไม่ให้repeat PCR แต่มีคนไข้บางคน ได้ส่งไป พบกว่า PCR D10 ค่า CT อยู่ที่ 26 ก็มี 28 ก็มี ทั้งๆที่บางคนได้ Favipiravir ไปแล้วหลายวันมีปรึกษาอจ. ID ก็บอกว่า อาจจะต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป บางเคส CT ตั้งต้นต่ำๆ เลย อาจจะต้อง F/U แต่บางเคส CT สูงแล้ว ร่วมกับคิดว่าเป็นระยะท้ายของโรค ก็อาจจะไม่ต้อง 

แต่ที่ต้องระวังคือ CT สูงๆบางเคส ตรวจเจอก่อนมีอาการ (เพราะช่วงแรกๆ ปริมาณเชื้ออาจจะยังไม่มาก) กลุ่มนี้ ต่อมา อาจจะเจอเชื้อเยอะขึ้น ก็ดู clinical เอา ถ้าเป็นไม่เยอะ ก็อาจจะไม่ได้ทำซ้ำ แต่ถ้ามีอาการเยอะ ต้องให้ยา ก็อาจจะทำซ้ำดูเพราะเจอ1 เคส CTวันแรก 32 เลย โดยที่วันนั้นไม่มีอาการอะไร แต่ประมาณวันที่ 5 เริ่มมีไอเล็กน้อย จมูกไม่ได้กลิ่น เป็นอยู่แค่ 2 วัน วันที่ 10 อาการปกติดีแล้ว ทำ PCR พบว่า CT 26 เลย เคสนี้จึงให้นอนรพ.ต่อก่อน (ตาม guideline อาจจะให้กลับบ้านแล้ว)

 

12. เน้นย้ำเรื่องล้างมือ

 

- ส่วนมากที่ติดมาในคนไทย เท่าที่ซักได้คือใส่หน้ากากกันตลอด แต่ที่พลาดคือล้างมือ

 

13. ที่ปลอดภัยที่สุดอาจเสี่ยงที่สุด (ถ้าไม่รักษาความสะอาดพอ)

 

- การติดต่อในบ้าน เป็นเรื่องที่พบได้สูงมากๆๆๆๆ มีบ้านนึงอยู่กัน 11คน ติดหมดยกครัว มานอนกันหมด ทั้งๆที่มีคนเดียวเท่านั้น ที่ทำงานทะเลไทย 

แสดงว่า เรายังมี hygiene ที่บ้านยังไม่ดี 

 

14. การทำความสะอาดบ้าน ยังไม่ดีพอ หลังมีคนหนึ่งติดเชื้อหลายคนที่ผ่านไป 10+ วัน ก็มานอนรพ.ตามกัน ที่คิดว่าติดจากสิ่งแวดล้อมในบ้านต้องยอมรับว่าคาดเดา เพราะดูจากระยะที่แยกจากผู้ติดเชื้อคนแรก มันดูนาน (จริงๆก็ยังได้อยู่ แต่เป็นส่วนน้อย) แล้วก็มีแบบนี้ประมาณ​ 3-4ครอบครัว เลยทำให้คิดว่า น่าจะเป็นจากสิ่งแวดล้อม หลายบ้านบอกว่าพ่นน้ำยา แต่ไม่ได้เช็ดถูพื้นผิวสำคัญ เช่น ลูกบิดประตู ที่จับตู้เย็น ราวบันได เป็นต้น พอไล่ถาม ก็มักตอบว่า ไม่ได้เช็ด (แต่ถ้าถามเผินๆ จะตอบทันที ว่าเช็ดหมดแล้ววว) 

 

15. Cashless society กันเถอะ "เมื่อเชื้อมากับเงิน"

 

- มีความเป็นไปได้ ที่ธนบัตรเป็นแหล่งกักเชื้อ มีบ้านหนึ่ง ไม่ได้ออกไปไหนเลยตั้งแต่ 18 เก็บผักในบ้าน เอาไข่ในบ้านมาทำกับข้าว ไม่มีใครมาเยี่ยม ยกเว้นวันเดียว คือวันที่ 28 มีคนเอาเงินค่าเช่าใส่ถุงมาให้ คนไข้ก็นับเงิน หลังจากนั้นวันที่ 3 เริ่มมีอาการไข้ มาตรวจวันที่ 5 พบ COVID-19 ซึ่งเท่าที่ซักความเสี่ยง ก็ประมาณนี้  ตอนนี้เลยให้คนไข้ฟอกเงินกันให้หมด ร่วมกับใครคล่องๆก็ใช้ Cashless ซะ 

 

16. อะไรคือ Predictor ได้บ้าง?

 

- ที่รพ.อาจจะไม่ได้เจอ severe case (ขอให้ไม่เจอ ดีแล้ว) แต่เจอเป็น moderate คือเป็น pneumonia มีทั้งที่มี และ ไม่มี hypoxemia เลยจะบอกว่า ไม่มีอะไรเป็น very good predictor เลย ให้ดูอาการแต่ละวันเป็นหลัก พยายามซัก 1 st day of symptom ให้ได้ จะได้รู้ว่าจะตามอาการวันไหนบ้าง 

 

17.share ประสบการณ์ Fever Day 10 กับ Dexa

 

- มีเคสไข้มากกว่า 10 วันเคสนึง อายุ 53 ปี ไม่มีโรคประจำตัว มี pneumonia แต่ไม่เยอะ ให้ favi ไปแล้ว 7 วันก็ยังมีไข้ จึงให้ dexa 6 mg OD ให้ไปก็ยังไข้ไม่ลง แถมคนไข้บอกมีอาการสะอึก เป็นเยอะมาก หา cause ไม่ได้เลย ตอนนั้นก็ไม่เจอว่าสะอึกเกี่ยวกับ COVID19 มั้ย 

 

พอไปหา ก็เจออยู่ว่ามีเป็น case report ตอนนั้นก็ยังมีไข้สูง ส่ง hs CPR ขึ้นเกือบร้อยprocal ไม่ขึ้น CBC ไม่โชวอะไร W/U source ไม่เจอจริงๆ H/C negative เลยลองให้ dexaเพิ่มเป็น 4 mg iv q 8 พบกว่าไข้ลง สะอึกหาย (แต่ก็ให้ยาสะอึกตัวอื่นอยู่ด้วย) ตาม hs CRP ก็พบว่าลงดี เคสนี้ extend favi เกิน 10 วันด้วย ไม่มี evidence support หรอก แต่คิดว่า CT ratio วันที่ 10 ยังได้ 26 ทั้ง favi + dexa อาจจะ clear เชื้อช้า เลยพยายาม extendต่อเป็น 14 วัน ตอนนี้คนไข้กลับบ้านแล้ว อาการโอเคดี ก่อนกลับ CT ratio ได้ 35 

 

18. คนไข้ศรัทธาในมะนาวมาก มีญาติเอามาให้ทุกห้อง เป็นกิโล แล้วก็มีน้ำขิงซองประจำทุกห้อง น่ารักดี บางคน พูดเต็มปากว่าดีขึ้นเพราะมะนาวกับขิง...ไม่เกรงใจ Favi พี่บ้างเล้ย หวังว่าจะมีประโยชน์บ้างค่า


เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง