รีเซต

เรื่องต้องรู้! รวมวิธี ที่ตรวจเชื้อโควิด-19 มีแบบไหนบ้าง?

เรื่องต้องรู้! รวมวิธี ที่ตรวจเชื้อโควิด-19 มีแบบไหนบ้าง?
TeaC
9 มกราคม 2565 ( 09:38 )
910

ข่าววันนี้ โควิดสายพันธ์โอไมครอนระบาด! เราติดโควิด-19 หรือยังนะ? จะไปตรวจหาเชื้อ COVID-19 ที่จุดตรวจฟรีคนก็เยอะแออัดมาก กลัวไปตรวจแล้วติดเชื้อกลับมาแทน แต่ถ้าไม่ตรวจก็จะไม่รู้ว่าติดโรคนี้หรือยัง จะตรวจเองต้องใช้ ที่ตรวจ แบบไหน?  

 

ที่ตรวจ เชื้อโควิด-19 มีแบบไหนบ้าง?

วันนี้ TrueID ขอพาทุกคนมาทบทวน ชุดตรวจเชื้อโควิด-19 แต่ละแบบมีวิธีตรวจอย่างไร? มีแบบไหนบ้าง? แตกต่างกันอย่างไร? ใช้แล้วถ้าผลออกมาว่าติดเชื้อต้องทำยังไงต่อไป มาศึกษาและทำความเข้าใจไปพร้อมกัน

 

1. Real-time PCR คืออะไร? 

การตรวจโควิดด้วยวิธีที่เรียกว่า Real-time RT-PCR เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส COVID-19 ซึ่งเป็นการเก็บตัวอย่างโดยเก็บสารคัดหลั่งทางเดินหายใจส่วนบน ทางจมูก แก้ม ลำคอ ด้วยวิธี Swab สามารถหาเชื้อจากตัวอย่างที่ปริมาณน้อยได้ มีความแม่นยำสูง รู้ผลภายใน 24 ชั่วโมง ตรวจโดยสถานพยาบาลเท่านั้น และกำลังเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่สำหรับประชาชนที่ต้องการตรวจโควิดด้วยวิธีนี้ เพราะเกิดความล่าช้าและเกิดความแออัด เนื่องจากช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาประชาชนแห่ตรวจโควิดด้วยวิธี Real-time RT-PCR ในจุดบริการที่หน่วยงานรัฐได้จัดหาทีจำนวนมากขึ้นอย่างมาก

 

ส่องประสิทธภาพ-ข้อระวัง ตรวจโควิดด้วยวิธี Real-time RT-PCR

ทั้งนี้ การตรวจโควิดด้วยวิธี Real-time RT-PCR หรือการแยงจมูก ถือว่าเป็นวิธีที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำ โดยมีประสิทธิภาพการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ดังนี้

 

  • ทราบผลได้ค่อนข้างแม่นยำ
  • ตรวจจับเชื้อไวรัสได้ในปริมาณที่น้อย ๆ ได้
  • ทราบผลการติดเชื้อหลังจากตรวจแล้วภายใน 24-48 ชั่วโมง
  • สามารถตรวจจับได้ทั้งเชื้อเป็น และเชื้อตาย
  • เหมาะสำหรับตรวจหาโรค ตั้งแต่ระยะแรกที่เกิดโรค
  • เก็บตัวอย่างได้ด้วยตัวเอง
  • ไม่ต้องใช้ PPE
  • ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์
  • เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจซ้ำได้หลายครั้ง
  • ใช้ในกรณีต้องการเก็บตัวอย่างเป็นจำนวนมาก

 

ข้อควรระวัง

  • น้ำลายมีสารทำลาย RNA (RNase) และสารยับยั้งปฏิกิริยา real time RT-PCR หลังเก็บตัวอย่างแล้ว ควรส่งถึงห้องแล็บและตรวจวิเคราะห์โดยเร็ว
  • น้ำลายมีแบคทีเรีย และสารอื่น ๆ หากเก็บไว้นาน หรือขั้นตอนการขนส่งล่าช้า อาจเกิดการบูดเน่า
  • ยังไม่มีวิธีการเก็บตัวอย่างน้ำลายที่เป็นมาตรฐาน

 

 

2. รู้จักการตรวจแบบ Rapid Test 

หลายคนอาจสับสนว่า ชุดตรวจ Rapid Test ที่กระทรวงสาธารณสุขอนุมัติคือรูปแบบไหน มาไขคำตอบกัน โดยชุดตรวจ Rapid Test  จะมี 2 รูปแบบ คือ

 

  • ตรวจหาเชื้อ (Antigen) คือ ชุดตรวจที่กระทรวงสาธารณสุขอนุมัติให้ใช้ตามบ้านก็คือ ชุดตรวจแบบ Antigen หรือที่เรียกว่า Rapid Antigen Test
  • ตรวจหาภูมิคุ้มกัน (Antibody)  เปิดให้ทดสอบตามโรงพยาบาล หรือที่เรียกว่า Rapid Antibody Test

 

เมื่อรู้แล้วว่าแบบไหนที่เราต้องใช้ตรวจหาเชื้อโควิด มาทำความเข้าใจกันต่อ

 

 

3. ที่ตรวจ ATK ด้วยตัวเอง ชุดตรวจโควิดให้ใช้ตามบ้าน

 

 

และอีกหนึ่งสิ่งที่ประชาชนเรียกร้องในการตรวจเชื้อโควิดได้ด้วยตัวเองนั่นคือ ชุดตรวจ ATK หรือ Antigen Test Kit หรือ Rapid Antigen Test ที่เราจะได้ใช้และตรวจเชื้อด้วยตัวเองที่บ้านแล้ว หลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ปลดล็อกให้สามารถซื้อมาตรวจด้วยตัวเองได้ แต่ยังคงต้องติดตามกันต่อไปว่า จะวางจำหน่ายที่ไหน เมื่อไหร่ ฟรีไม่ฟรี ถ้าไม่ฟรีราคาเท่าไหร่ ต้องซื้อที่ไหน มีขายในออนไลน์ไหม ดังนั้น มาทำความรู้จักเจ้าเครื่องมือนี้กันก่อน จะได้เข้าใจและใช้ได้อย่างถูกต้อง

 

จากข้อมูล สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า Antigen Test Kit หรือ Rapid Antigen Test  คือ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 หรือองค์ประกอบไวรัสเก็บสารคัดหลั่งทางเดินหายใจส่วนบน ทางจมูก กระพุ้งแก้ม ลำคอ น้ำลาย ด้วยการ Swab โดยใช้การอ่านสีบน Strip Test ใช้เวลา 15 – 20 นาที ต่อ 1 ตัวอย่าง อธิบายง่าย ๆ คือ เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นเพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสและภูมิคุ้มกัน ก่อนเข้ากระบวนการตรวจชนิดยืนยันผลจากห้องปฎิบัติการ

 

แต่ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์แนะนำว่า ควรใช้กับผู้ที่สงสัยติดเชื้อแต่ยังไม่มีอาการ (กรณีมีอาการให้ตรวจ Real-time PCR) และหากได้รับเชื้อมาแล้วประมาณ 5 – 14 วันผลที่ได้จะมีความแม่นยำ

 

ประสิทธิภาพ-ข้อระวัง ตรวจโควิดด้วยวิธี Antigen Test Kit หรือ Rapid Antigen Test

  • ใช้งานง่าย ทราบผลภายใน 10-30 นาที
  • เหมาะสำหรับการประเมินความชุกและการติดเชื้อ
  • ค่าผลตรวจออกมาเป็นบวก ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นผู้ติดเชื้อ ส่วนผลตรวจออกมาเป็นลบ ก็ไม่ได้หมายถึงว่า ไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อ

 

ชุดตรวจ Rapid Test COVID-19 ต้องผ่านการรับรองจาก อย. โดยให้ขายได้เฉพาะในสถานที่ ดังต่อไปนี้

  • สถานพยาบาลของรัฐ
  • โรงพยาบาลทั่วไป
  • โรงพยาบาลเฉพาะทางคลินิกเวชกรรม
  • คลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรม
  • คลินิกเทคนิคการแพทย์ หรือสหคลินิก

 

Rapid Antibody Test เปิดให้ทดสอบที๋โรงพยาบาล 

สุดท้ายการตรวจ Rapid Antibody Test ใช้ตรวจหาภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทาน ซึ่งจะตรวจพบภูมิคุ้มกัน ต่อเชื้อได้ในวันที่ 10 เป็นต้นไป ตรวจโดยการเจาะเลือดที่ปลายนิ้วหรือท้องแขน โดยวิธีนี้ ไม่สามารถนำมาใช้ตรวจหาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ เนื่องจากภูมิต้านทานที่เจออาจมาจากวัคซีน
 
 

สรุป

ชุดตรวจที่นำมาใช้ในกรณีนี้ เป็นการตรวจ Antigen คือ ตรวจตัวไวรัสหรือองค์ประกอบไวรัส ไม่ใช่การตรวจ Antibody ที่เป็นภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทาน โดยจะไม่นำการตรวจแอนติบอดีมาใช้ช่วงนี้ 
 
 
 
ข้อมูล : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง