รีเซต

ที่ปรึกษาธุรกิจไทยชี้ความร่วมมือใกล้ชิดพา APEC สู่การฟื้นตัวที่ยั่งยืน

ที่ปรึกษาธุรกิจไทยชี้ความร่วมมือใกล้ชิดพา APEC สู่การฟื้นตัวที่ยั่งยืน
Xinhua
18 พฤศจิกายน 2565 ( 17:14 )
48

กรุงเทพฯ, 18 พ.ย. (ซินหัว) -- เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค (ABAC) ปี 2022 ระบุว่าเขตเศรษฐกิจเอเปคควรยกระดับความร่วมมือ ส่งเสริมการค้าเสรีและการเชื่อมต่อถึงกัน รวมถึงสนับสนุนการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนในภูมิภาคและนอกภูมิภาค

เกรียงไกรให้สัมภาษณ์พิเศษก่อนการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Economic Leaders' Meeting) ว่าเขตเศรษฐกิจเอเปคควรหลีกเลี่ยงการแทรกแซงทางการเมือง และยึดมั่นการเปิดกว้าง ความครอบคลุม การค้าเสรี และการเชื่อมต่อถึงกันเปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุลไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค 2022 ภายใต้แนวคิด "เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล" (Open, Connect, Balance) ระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย. ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะเป็นการประชุมเอเปคแบบพบหน้ากันครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2018เกรียงไกรอธิบายรายละเอียดแนวคิดของการประชุมครั้งนี้ว่า "เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์" หมายถึงการเปิดกว้างและเปิดรับทุกโอกาส โดยการทำการค้าร่วมกันต้องมีอิสระ ความยุติธรรม และความโปร่งใสในทุกแง่มุมสำหรับ "เชื่อมโยงกัน" เกรียงไกรระบุว่าเขตเศรษฐกิจเอเปคทั้ง 21 แห่งครองสัดส่วนราวร้อยละ 60 ของเศรษฐกิจโลกทั้งหมด ซึ่งจะปลดปล่อยศักยภาพอย่างมหาศาลหากเชื่อมถึงกันและร่วมมือกันส่วน "สู่สมดุล" หมายถึงเขตเศรษฐกิจเอเปคจะต้องสร้างสมรรถนะอันสมดุล รวมถึงสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการปกป้องสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

(แฟ้มภาพซินหัว : ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ วันที่ 14 พ.ย. 2022)

เกรียงไกรกล่าวถึงรายงานของสภาฯ ในปีนี้ต่อคณะผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคว่ามีคำแนะนำของสภาฯ ในการรับมือวิกฤตเศรษฐกิจที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเกิดขึ้นจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ ตลอดจนอัตราเงินเฟ้อและการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานสภาฯ เรียกร้องสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคดำเนินนโยบายการเงินใหม่เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ รับมือกับวิกฤตความมั่นคงทางอาหาร เร่งการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค พัฒนาการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน และดำเนินงานกระตุ้นระบบการค้าพหุภาคีอย่างเร่งด่วนเพื่อบรรลุการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและยั่งยืน และฟื้นคืนทิศทางการเติบโตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นเกรียงไกรเน้นย้ำความท้าทายเร่งด่วน 3 ประการ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อสูง ความไม่มั่นคงทางอาหาร และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความพยายามร่วมกันจากเขตเศรษฐกิจเอเปคเพื่อปรับปรุงความเป็นอยู่ของประชาชนและรับรองการพัฒนาที่มีเสถียรภาพและยั่งยืนผลกระทบจากโรคโควิด-19 และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระดับภูมิภาคในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเกรียงไกรเรียกร้องสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคหลีกเลี่ยงการแทรกแซงทางการเมือง ยึดมั่นกฎของเอเปคและสภาฯ เช่น การเปิดกว้างและความครอบคลุม ตลอดจนส่งเสริมการค้าเสรีและอำนวยความสะดวกแก่การเชื่อมต่อทางดิจิทัล

 

(แฟ้มภาพซินหัว : สถานที่ติดตั้งคานกล่องอันสุดท้ายของทางรถไฟความเร็วสูงสายจาการ์ตา-บันดุง ในเมืองปูร์วาการ์ตาของอินโดนีเซีย วันที่ 16 ต.ค. 2022)

จีน กลไกการเติบโตของภูมิภาคและนอกภูมิภาคเกรียงไกรระบุว่าจีน ซึ่งเป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจเอเปคและมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับสองของโลก มีพลังทางเศรษฐกิจมหาศาลและเป็นแรงขับเคลื่อนไม่เฉพาะสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเท่านั้น แต่สำหรับทั้งโลกด้วยเกรียงไกรเชื่อว่าการพัฒนาที่มั่นคงของจีนที่เป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนการเติบโตหลักของโลก มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยืดเยื้อและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเกรียงไกร วัย 63 ปี ยังดำรงตำแหน่งประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยเขาเดินทางเยือนจีนเป็นประจำและประทับใจกับความก้าวหน้าของจีนในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา"ผมเห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกทุกครั้งที่ไปจีน" เกรียงไกรระบุ "ตอนไปเซินเจิ้น (เขตเศรษฐกิจพิเศษทางตอนใต้ของจีน) ตั้งแต่ครั้งแรก ผมรู้สึกได้ถึงความคึกคักของการพัฒนาที่รวดเร็วในเมือง โดยช่วง 40 ปีที่ผ่านมา จีนเอาชนะอุปสรรคนานัปการและขึ้นแท่นติดอันดับต้นๆ ของโลกในทุกด้าน ซึ่งถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง