รีเซต

ผ่อนสินค้าแล้วเบี้ยว...เสี่ยงโทษอะไรบ้าง?

ผ่อนสินค้าแล้วเบี้ยว...เสี่ยงโทษอะไรบ้าง?
TeaC
17 มิถุนายน 2564 ( 15:25 )
14K
1

ผ่อนสินค้า หนึ่งวิธีของสายช้อป เมื่อเวลาอยากได้อะไร อยากซื้ออะไรก็แค่ใช้บัตรเครดิตผ่อน หรือผ่อนชำระสินค้ากับร้านค้าโดยตรง ซึ่งหากชำระหนี้ตามปกติทุกเดือนก็ดีไป แต่ถ้าเบี้ยวหนี้เมื่อไหร่อาจเจอโดนยึดบ้าน ที่ดินได้ไม่รู้ตัว วันนี้ TrueID รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาให้สายช้อปทั้งหลายได้คิดไตร่ตรองก่อนผ่อนสินค้า เพราะถ้าช้อปเพลินไม่วางแผนอาจกลายเป็นหนี้ก้อนโตจนผ่อนไม่ไหวแล้วมานั่งทุกขืใจทีหลังได้ โดยหนี้ที่เกิดจากการผ่อนสินค้าเป็นสัญญาบังคับได้ตามกฎหมาย สำหรับหนี้จากการผ่อนซื้อสินค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

 


1. หนี้ที่เกิดจากการผ่อนสินค้า (ผ่านร้านค้า/เจ้าของสินค้า)

2. หนี้ที่เกิดจากการผ่อนสินค้า (ผ่านบัตรเครดิต)

 


หนี้ที่เกิดจากการผ่อนสินค้า (ผ่านร้านค้า/เจ้าของสินค้า)


เมื่อสายช้อปซื้อสินค้าด้วยวิธีการผ่อนช้ำระสินค้า ผ่านร้านค้า หรือเจ้าของสินค้า จะเกิดเงื่อนไขตาม สัญญาเช่าซื้อ (ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคแรก) กรรมสิทธิ์ในสินค้าเป็นของเจ้าของสินค้า แต่เมื่อชำระค่าสินค้าเป็นงวด ๆ จนครบตามมูลค่าที่ตกลง กรรมสิทธิ์ของสินค้าจะโอนเป็นของผู้เช่าซื้อแทน


แต่หากผิดนัดชำระค่างวด ตามเงื่อนไขของ สัญญาเช่าซื้อ เจ้าของสินค้ามีสิทธิ์ยึดของคืนได้

 


หนี้ที่เกิดจากการผ่อนสินค้า (ผ่านบัตรเครดิต)


ในส่วนการเกิดหนี้จากการใช้บัตรเครดิตในการผ่อนสินค้า ซึ่งเป็นวิธีที่หลายคนนิยม เพราะมีความสะดวก รวดเร็ว แค่รูด ๆ ไม่กี่นาที แถมหลายคนเป็นหนี้บัตรเครดิตชนิดที่ก้อนใหญ่เหมือนกัน โดยเมื่อซื้อสินค้าด้วยวิธีการ ผ่อนสินค้าผ่านบัตรเครดิต หรือ บัตรกดเงินสด ของสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น สัญญาเงินกู้เพื่อการผ่อนชำระสินค้า, สัญญาผ่อนสินค้าเงินเชื่อ, สัญญาผ่อนสินค้าส่วนบุคคล, สัญญาสินค้าเงินผ่อน กรรมสิทธิ์ในสินค้าเป็นของผู้ซื้อ ตั้งแต่ทำการรูดบัตรเครดิต เกิดภาระหนี้เป็นจำนวนเงินที่รูดบัตรไป เจ้าของบัตรเครดิตจะไม่มีสิทธิ์ยึดของคืน แต่จะทำการทวงถามหนี้ หรือคิดดอกเบี้ยตามแต่ละเงื่อนไขที่สถาบันการเงินนั้น ๆ กำหนดไว้ หรือ อาจจะถูกลดวงเงิน ระงับการใช้บัตร ฟ้องคดีแพ่ง ยึดทรัพย์ขายทอดตลาด อายัดเงินเดือน (เอกชน/รัฐวิสาหกิจ) (ตามเงื่อนไขของแต่ละบัตรเครดิต)


สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยึดหรืออายัดทรัพย์สินกรมบังคับคดี โทร. 0 2881 4999 1

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อคิดจะผ่อนสินค้าแล้วก้อย่าเบี้ยวหนี้ไม่ชำระหนี้ เพราะอาจเสียเครดิตได้ ดังนั้น วิธีที่ง่ายที่สุดหากเริ่มผ่อนชำระไม่ไหวคือ การปรึกษากับสถาบันการเงินเพื่อไกล่เกลี่ยหนี้ หรือขอรับคำแนะนำถึงวิธีการในการยืดหนี้ พักชำระหนี้ เป็นวิธีการแก้ไขที่ดีกว่าการเบี้ยวหนี้เป็นแน่ 

 

มีหนี้ก็ต้องชำระหนี้กันนะ

 

 

 

ข้อมูล : กระทรวงยุติธรรม

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง