รีเซต

เช็กเงื่อนไขการจ่าย “เงินเยียวยานักเรียน” ช่วยเหลือ ครู-นักเรียน-ผู้ปกครอง ช่วงโควิด

เช็กเงื่อนไขการจ่าย “เงินเยียวยานักเรียน” ช่วยเหลือ ครู-นักเรียน-ผู้ปกครอง ช่วงโควิด
Ingonn
17 สิงหาคม 2564 ( 08:18 )
391
เช็กเงื่อนไขการจ่าย “เงินเยียวยานักเรียน” ช่วยเหลือ ครู-นักเรียน-ผู้ปกครอง ช่วงโควิด

 

ศธ. แถลงจุดยืนลดภาระทางการศึกษา ช่วยเหลือบรรเทา-ลดภาระ “ครู-นักเรียน-ผู้ปกครอง” พร้อมจ่าย “เงินเยียวยานักเรียน” คนละ 2,000 บาท ถึงมือผู้ปกครอง ประมาณ 5-7 วัน หลังจากระทรวงการคลังจัดสรรการโอนเงินให้หน่วยงาน โดยอนุมัติงบประมาณเป็นวงเงิน 22,000 ล้านบาท

 

 

จากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบและอนุมัติงบประมาณเป็นกรณีพิเศษเพื่อสนับสนุนเยียวยาและลดผลกระทบทางการศึกษา ให้กับสถานศึกษา ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครอง โดยอนุมัติงบประมาณเป็นวงเงิน 22,000 ล้านบาท ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลักดังนี้

 

 

 

1.การจ่าย “เงินเยียวยานักเรียน” ทุกคน ทุกสังกัด คนละ 2,000 บาท 


โดยผู้ปกครองรับเงินเต็มจำนวน ต่อนักเรียน 1 คน โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใด ๆ เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ให้แก่นักเรียนนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาสังกัด ศธ.ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงสถานศึกษานอกสังกัด ศธ. ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล-ม.6 และอาชีวศึกษา ซึ่งมีอยู่ราว 11 ล้านคน รวมทั้งสิ้น 22,000 ล้านบาท คาดว่าจะได้รับภายในวันที่ 31 สิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายนนี้

 

 

2.ลดช่องว่างการเรียนและผลกระทบความรู้ที่ขาดหายไป 


โดยให้สถานศึกษายืดหยุ่นการใช้เงินงบประมาณตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ทั้งค่าเล่าเรียน หนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และค่ากิจกรรมพัฒนานักเรียน เพื่อให้สามารถใช้งบประมาณส่วนที่จำเป็นในสถานการณ์โควิด 19 ให้เหมาะสม

 


3.ให้งบประมาณช่วยเหลือสนับสนุนการพัฒนาการศึกษา 


เพื่อให้ครูและบุคลากรได้นำไปใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีความหลากหลาย รวมไปถึงค่าพาหนะ การดูแลเข้าถึงนักเรียน และค่าอินเทอร์เน็ตสำหรับการเรียนออนไลน์

 

 

 

 

ขั้นตอนการจ่าย “เงินเยียวยานักเรียน”


ขั้นตอนการกระจายเงินเยียวยาของนักเรียน ทาง ศธ.จะได้รับเงินจากกระทรวงการคลัง ส่งต่อไปยังผู้ปกครองนักเรียนนักศึกษาทุกคนภายใน 7 วัน หลังจากที่เงินถึง ศธ. รวมทั้งจะมีการตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียน เพื่อช่วยเหลือผู้ปกครอง หากยังไม่ได้รับเงินดังกล่าวทันท่วงที

 

 

ได้ “เงินเยียวยานักเรียน” เมื่อไหร่บ้าง


1.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) : โอนเงินเข้าบัญชีผู้ปกครอง ตั้งแต่วันที่ 5 เป็นต้นไป

 


2.สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) : ผู้ปกครองรับเงินสด ที่วิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 5 เป็นต้นไป

 


3.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเยาวชน (สช.) : ผู้ปกครองรับเงินสด ที่โรงเรียน หรือรับเข้าบัญชี ตั้งแต่วันที่ 7 เป็นต้นไป

 


4.กศน. ผู้ปกครองรับเงินสด จาก กศน.อำเภอ หรือ ศชช. ตั้งแต่วันที่ 7 เป็นต้นไป

 

 

 

 

นอกจากนี้ ศธ. ยังได้รับความร่วมมือจาก ดส. และ กสทช.ที่ได้สนับสนุนค่าอินเทอร์เน็ตฟรีให้กับนักเรียน เป็นระยะเวลา 2 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม – 15 ตุลาคม 2564 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 

 

 

เงื่อนไขการสนับสนุนค่าอินเทอร์เน็ตฟรี สำหรับเรียนออนไลน์


1.เลือกรับสิทธิสนับสนุนเน็ตมือถือ หรือเน็ตบ้าน อย่างใดอย่างหนึ่ง

 


2.นักเรียน 1 คน ได้รับ 1 สิทธิ (กรณีเน็ตบ้าน 1 บ้าน ได้รับ 1 สิทธิ)

 

 

 

ใครได้ค่าอินเทอร์เน็ตฟรีบ้าง


กสทช.มีแนวทางช่วยเหลือประชาชนและนักเรียน ในการสนับสนุนอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์สำหรับการเรียนออนไลน์ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองที่มีบุตรหลานตามรายละเอียดดังนี้


1.นักเรียนในระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษา สังกัด สพฐ. 

 


2.นักศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา สังกัด กศน. 

 


3.สถานศึกษาเอกชนที่รับเงินจากรัฐบาล สังกัด กทม. สังกัดกระทรวงมหาดไทย สังกัด ตชด. 

 


4.โรงเรียนสาธิต ที่มีการเรียนการสอนแบบออนไลน์ จำนวนกว่า 7.7 ล้านคน 

 

 

 

รูปแบบการช่วยเหลือค่าอินเทอร์เน็ตฟรี

 

แบบที่ 1 ช่วย Top-up แพ็กเกจอินเทอร์เน็ตมือถือให้เบอร์ที่นักเรียนใช้เรียนออนไลน์ 


ทั้งระบบเติมเงินและรายเดือน เดือนละ 79 บาท สามารถใช้งานแอปพลิเคชันเพื่อการเรียนการสอนได้แบบไม่จำกัด อาทิ Microsoft Teams, Google Meet, ZOOM, Cisco Meeting, WebEx และ Line Chat พร้อมอินเทอร์เน็ตอีก 2GB สำหรับการใช้งานอื่น ๆ

 

 

แบบที่ 2 ช่วยจ่ายค่าอินเทอร์เน็ตบ้าน 


โดยหักจากบิลค่าบริการ เดือนละ 84 บาท (ยังไม่รวม VAT) เป็นเวลา 2 เดือน ซึ่งนักเรียนสามารถเลือกรับสิทธิ์ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง และรับได้ 1 คนต่อ 1 สิทธิ์

 

 

 

ปรับรูปแบบการเรียนออนไลน์ช่วงโควิด


ขณะเดียวกันยังมีการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนการวัดผลที่มีความยืดหยุ่น เพื่อลดความเครียดให้กับผู้เรียน ผู้สอน รวมถึงผู้ปกครอง และยังคงสนับสนุนให้การเรียนรู้และการสอนสามารถเดินต่อไปได้ จึงต้องออกแบบการจัดการศึกษาโดยคำนึงถึงสภาพเด็กนักเรียนแต่ละคน โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ออกแบบไว้ดังนี้

 

 

กลุ่มที่ 1 บ้านไม่มีไฟฟ้า อินเทอร์เน็ตเข้าไม่ถึง จะจัดการเรียนการสอนแบบ On-hand เป็นชุดการเรียนไปให้ทำที่บ้าน

 

 

กลุ่มที่ 2 บ้านมีไฟฟ้า มีโทรทัศน์ แต่ไม่มีอินเทอร์เน็ต จะศึกษาโดยระบบ On-air เรียนผ่านมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ DLTV ซึ่งมีตั้งแต่ระดับอนุบาลถึง ม.3

 

 

กลุ่มที่ 3 บ้านมีไฟฟ้าใช้ มีอินเทอร์เน็ต จะให้เรียนโดยใช้รูปแบบ Online และ On-demand

 

 

สรุปแล้ว เด็กไม่ว่าจะอยู่ในภาวะใดจะต้องได้เรียนทุกคน ในส่วนของเด็กเล็กก็จะเป็นภาระของผู้ปกครองที่ต้องทำหน้าที่แทนคุณครู ซึ่งผู้ปกครอง นักเรียนและครูจะร่วมกันออกแบบการเรียน โดยยึดบ้านเป็นสถานที่เรียน เปลี่ยนพ่อแม่เป็นครู ครูเป็นพี่เลี้ยงของทั้งผู้ปกครองและเด็ก

 

 

 

ข้อมูลจาก กระทรวงศึกษาธิการ

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง