ศึกษาวัคซีน "ยูนิเวอเซิล" ฉีดเข็มเดียว เอาอยู่ทุกสายพันธุ์
ถือว่าเป็นข่าวดีอย่างมาก เมื่อมีรายงานออกมาว่า นักวิทยาศาสตร์กำลังวิจัยวัคซีนต้านโควิด-19 แบบ “ครอบจักรวาล” (Universal Vaccine) ความหวังช่วยจัดการกับเชื้อโควิด-19 ตัวร้าย ที่มีสิทธิจะกลายพันธุ์อีกในอนาคต
กว่า 2 ปีนับตั้งแต่เจ้าโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาด และมีกลายพันธุ์ของเชื้อมากขึ้น ตั้งแต่เชื้อ เบต้า แกรรม่า และเดลตา ที่ระบาดหนักไปทั่วโลก จนส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัว และจนมาถึง ช่วงปลายปี 2564 ที่เราได้ยินชื่อของ เชื้อกลายพันธุ์โอมิครอน ที่แม้จะไม่ทำให้เจ็บป่วยรุนแรง แต่ก็แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว เพิ่มความเสี่ยงที่คนจะติดเชื้อมากขึ้น
นอกจากความกังวลเรื่องของการแพร่ระบาดแล้ว ไวรัสกลายพันธุ์ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน ซึ่งเป็นอาวุธสำคัญในการใช้ต่อสู้กับโรคระบาด เพราะยิ่งไวรัสกลายพันธุ์มากเท่าไหร่ ประสิทธิภาพของวัคซีนที่ใช้อยู่ก็น้อยลง ทำให้การฉีดเข็มกระตุ้น หรือรับวัคซีซีนต่อสู้กับสายพันธุ์แบบเฉพาะ เป็นทางเลือกที่ถูกนำมาใช้
แต่ข่าวดีล่าสุด ที่ถูกเปิดเผยโดยนายแพทย์แอนโทธิโอ ฟาวซี ที่ปรึกษาด้านการแพทย์ของรัฐบาลสหรัฐ ออกมาบอกว่า ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังทำการศึกษา วัคซีนโควิดแบบครอบจักรวาล ฉีดเข็มเดียวปราบได้กับเชื้อกลายพันธุ์ทุกสายพันธุ์
การฉีดวัคซีนปัจจุบัน นอกจากเข็มหลักที่ถูกกำหนดให้ 1 คน ต้องรับอย่างน้อย 2 โดส เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่เพียงพอต่อการต่อสู้กับไวรัสโคโรนาแล้ว ยังต้องรับการฉีดเข็มกระตุ้นหลังจากนั้น เพื่อคงประสิทธิภาพของวัคซีนให้แข็งแกร่งขึ้น แต่ในอนาคต หากนักวิทยาศาสตร์สามารถผลิตวัคซีนเข็มเดียว ที่สามารถต้านทานกับเชื้อโควิดสายพันธุ์ต่างๆ ได้ การฉีดเข็มกระตุ้น อาจไม่ต้องทำอีกต่อไป
“แต่การศึกษาอาจต้องใช้เวลานานอยู่หลายปี” นายพทย์ฟาวซี กล่าว
สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามทำกันอยู่ก็คือ การค้นหาที่พุ่งเป้าไปที่จุดอ่อนจำเพาะของไวรัส ซึ่งเป็นส่วนที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบเลย แม้ว่าจะมีการกลายพันธุ์ หรืออาจพูดได้ว่า เป็นจุดที่ทุกเชื้อกลายพันธุ์มีเหมือนกัน
นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า จุดนี้ของไวรัส ควรเป็นอะไรบางอย่างที่ไวรัสต่างต้องการเช่นเดียวกัน ในกรณีของไวรัสโคโรนา อาจเป็นส่วนหนึ่งของไวรัสที่ใช้สำหรับจับกับเซลล์ของเรา เมื่อมีการติดเชื้อ
"โดยปกติ มันจะเป็นที่ที่ไวรัสจับกับโปรตีนเฉพาะบนเซลล์เจ้าบ้านที่เป็นเป้าหมาย และหากไวรัสเปลี่ยนจุดจับของโปรตีนดังกล่าว จะไม่สามารถแพร่เชื้อได้อีก” เควิน ชอนเดอร์ส หัวหน้าทีมวิจัยของกับสำนักข่าว CNN
เมื่อมีการระบุ “จุดอ่อน” ดังกล่าวของไวรัสได้ วัคซีนสามารถทำงานได้โดยกระตุ้นการตอบสนองของแอนติบอดีต่อไวรัสในส่วนนั้น
“หมายความว่า เราจะเข้าไปศึกษาต่อคนที่เชื้อชนิดใดชนิดหนึ่ง เพื่อขุดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของพวกเขา เพื่อทำความเข้าใจว่าอะไรมีประสิทธิภาพและอะไรที่ไม่ได้ผล” ชอนเดอร์ส กล่าว
ขณะที่ทีมวิจัยของสถาบันวิจัยกองทัพวอลเตอร์ รีด ในรัฐแมริแลนด์ ก็กำลังศึกษาวัคซีนแบบยูนิเวอเซล นี้อยู่ เช่นเดียวกัน โดยคาดว่า การทดลองเฟส 1 ในมนุษย์ จะเริ่มต้นได้ในเดือนเมษายน
หากการวิจัยในมนุษย์ทำได้สำเร็จ วัคซีนที่ได้ยากการทดลองดังกล่าว อาจสามารถนำออกมาใช้ได้จริงกับประชาชนทั่วไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพื่อป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ที่อสาจก่อตัวขึ้นได้อีกในอนาคต รวมถึงไวรัสชนิดอื่นๆ ที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน
ที่มา: CNN