รีเซต

บลจ.กรุงศรีได้ฤกษ์ออกThai ESGX ลดหย่อนภาษีเพิ่มรับโอกาสหุ้นไทย

บลจ.กรุงศรีได้ฤกษ์ออกThai ESGX ลดหย่อนภาษีเพิ่มรับโอกาสหุ้นไทย
ทันหุ้น
28 เมษายน 2568 ( 15:16 )
12

#บลจ.กรุงศรี#ทันหุ้น- บลจ.กรุงศรี ประเดิม 3 กองทุน Thai ESGXลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้น พร้อมคว้าโอกาสลงทุนกับหุ้นไทยในธีม ESG ที่มีให้เลือกทั้งกองทุนแบบผสม หุ้นตราสารหนี้ กับ KF70-THAIESGXหรือจะเน้นๆ ในหุ้นไทย กับ KFS50-THAIESGX และKFAEQ-THAIESGที่แบ่ง 15% ลงทุนหุ้นต่างประเทศ มองหุ้นไทยถูกในรอบหลายปี เป็นจังหวะที่น่าลงทุน

 

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด หรือ บลจ.กรุงศรี เสนอขาย กองทุน Thai ESGX หรือ Thai ESG Extra กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ ลดภาษีเต็มแม็กซ์ รับเงินลงทุนใหม่และเงินสับเปลี่ยนจาก LTF โดย บลจ.กรุงศรี เสนอขาย 3 กองทุน เป็นกองทุนผสม สำหรับพอร์ตลงทุนที่ต้องการลดความผันผวน กองทุนหุ้น แบบ Passive สำหรับลงทุนเชิงรับเติบโตสอดคล้องกับหุ้นใหญ่ในตลาด และกองทุนหุ้นแบบ Active ลงทุนเชิงรุกในหุ้นไทย และกระจายความเสี่ยงด้วยหุ้นต่างประเทศ พร้อมเสนอขายครั้งแรก (IPO) วันที่ 2 - 8พฤษภาคม 2568

 

*3 กองทุน Thai ESGX

สำหรับ กองทุนแรกป็นกองทุนผสม บลจ.กรุงศรี เสนอ กองทุนเปิดกรุงศรี 70/30ไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (KF70-THAIESGX) ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบ คือ กองทุน KF70-THAIESGX-68 สำหรับวงเงินลงทุนใหม่ เพื่อลดหย่อนปี 2568 และ กองทุน KF70-THAIESGX-L สำหรับวงเงินสับเปลี่ยนจาก LTF ได้แก่ KFLTFD70, KFLTFD70-D และ KFLTFEQ70D เท่านั้น โดยกองทุนจะลงทุนเชิงรุกในหุ้นไทย เน้นหุ้นยั่งยืน และมีปันผลเป็นหลัก สัดส่วนลงทุนที่ 70%และอีก 30% ลงทุนในภาครัฐตราสารหนี้

 

กองทุนที่ 2 กองทุนเปิดกรุงศรี SET50ไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (KFS50-THAIESGX) มีตัวเลือก 2 แบบ เช่นกัน ได้แก่ กองทุน KFS50-THAIESGX-68สำหรับวงเงินลงทุนใหม่เพื่อลดหย่อนปี 2568 และ กองทุน KFS50-THAIESGX-L สำหรับวงเงินสับเปลี่ยนจาก LTF ได้แก่ KFLTF50 และ KFLTF50-A เท่านั้น

 

โดย กองทุน KFS50-THAIESGX ลงทุนแบบ Passive ในดัชนี SET50FF โดยลงทุนในหุ้นที่ผ่านเกณฑ์ความยั่งยืนโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 80% ซึ่ง 5หลักทรัพย์แรกที่ลงทุนได้แก่ PTT, SCB, CPALL, ADVANC และ KBANK

 

และกองทุนที่ 3 กองทุนเปิดกรุงศรีเอ็นแฮนซ์อิควิตี้ไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (KFAEQ-THAIESGX) มีให้เลือก 2 แบบ คือ กองทุน KFAEQ-THAIESGX-68สำหรับวงเงินลงทุนใหม่ เพื่อลดหย่อนปี 2568 และ KFAEQ-THAIESGX-L สำหรับวงเงินสับเปลี่ยนจาก LTF ของ บลจ. กรุงศรี ทุกกองทุน ยกเว้น KFLTF50 และ KFLTF50-A

 

กองทุน KFAEQ-THAIESGX มีนโยบายบริหารแบบ Active ลงทุนเชิงรุก สัดส่วน 85% ในบริษัทที่มีความโดดเด่นด้าน ESG เพื่อสร้างโอกาสผลตอบแทนที่เหนือกว่าดัชนี มีความยืดหยุ่นในการคัดเลือกประเภทหุ้นที่เหมาะสมกับตลาดในแต่ละช่วงเวลา และกระจายความเสี่ยงในหุ้นต่างประเทศ สัดส่วน 15%เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทน

 

*จังหวะน่าลงทุน

บลจ.กรุงศรี ให้มุมมองด้านการลงทุนเพิ่มเติมว่า ตลาดหุ้นไทยมีโอกาสกลับมาฟื้นตัวได้ เพราะอยู่ในช่วงที่ระดับราคาถูกที่สุดในรอบหลายปี โดย PE Ratio ของตลาดก็แตะระดับต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี จึงเป็นจังหวะที่น่าลงทุน (ที่มา: 1.บลจ กรุงศรี 1 เม.ย. 68 และ 2.Bloomberg ณ 18 เม.ย. 68) ขณะที่ แนวโน้มขาลงของดอกเบี้ยนโยบายเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการลงทุนในตราสารหนี้ เป็นผลดีกับ Thai ESGX ที่มีสัดส่วนลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนให้กับพอร์ตการลงทุนด้วย Thai ESGX ที่มีการกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศ จะช่วยเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีจากหุ้นที่หลากหลายมากขึ้น

 

นอกจากนี้ ยังได้โอกาสลดภาษีเพิ่มเติม โดยมีวงเงินใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมจากกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีอื่นๆ อย่าง RMF และ Thai ESG วงเงินลดหย่อนที่ 1: ลงทุนได้ไม่เกิน 30%ของเงินได้และไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี วงเงินลดหย่อนที่ 2: รับสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF ลดหย่อนได้ตามจริงสูงสุด 500,000 บาท (แบ่งเป็นปี 2568ลดหย่อนได้ 300,000 บาทต่อปี 2569 – 2572ลดหย่อนเฉลี่ยเท่ากัน ไม่เกินปีละ 50,000 บาท)

 

ทั้งนี้ บลจ.กรุงศรียังได้ จัดโปรโมชันกองทุน Thai ESGX โดยมีเงื่อนไขดังนี้ สำหรับ Thai ESGX วงเงินลงทุนใหม่ (ระหว่าง 2 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2568) ได้แก่ ยอดเงินลงทุนในกองทุน KF70-THAIESGX-68/ KFAEQ-THAIESGX-68/ KFS50-THAIESGX-68 ผู้ลงทุนที่ลงทุนตามเงื่อนไข*จะได้รับหน่วยลงทุน KFCASH-A มูลค่า 100บาทต่อยอดเงินลงทุนทุกๆ 50,000 บาท นับรวมกับเงินลงทุนในกองทุน Thai ESG และ RMF ที่ร่วมรายการทั้งหมด

 

สำหรับ Thai ESGX วงเงินรับสับเปลี่ยนจาก LTF (ระหว่าง 13 พ.ค. – 30 มิ.ย. 2568) ได้แก่ ยอดเงินลงทุนในกองทุน KF70-THAIESGX-L/ KFAEQ-THAIESGX-L/ KFS50-THAIESGX-L ผู้ลงทุนที่ลงทุนตามเงื่อนไข*จะได้รับหน่วยลงทุน KFCASH-A มูลค่า 0.2%ของยอดเงินสับเปลี่ยน สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง