รีเซต

นโยบายปรับโครงสร้างหนี้รัฐบาล จะช่วยลดหนี้เสียหรือไม่?

นโยบายปรับโครงสร้างหนี้รัฐบาล จะช่วยลดหนี้เสียหรือไม่?
ทันหุ้น
27 กันยายน 2567 ( 14:45 )
12
นโยบายปรับโครงสร้างหนี้รัฐบาล จะช่วยลดหนี้เสียหรือไม่?

 

#หุ้นเด่น #ทันหุ้น - บทวิเคราะห์ โดย บล.บัวหลวง

 

นโยบายปรับโครงสร้างหนี้รัฐบาล จะช่วยลดหนี้เสียหรือไม่?

บล.บัวหลวงจะวิเคราะห์นโยบายของรัฐบาลที่อาจเกิดขึ้นในการปรับโครงสร้างหนี้ของครัวเรือนและธุรกิจขนาดเล็ก หากนโยบายนี้เกิดขึ้นจริง บล.บัวหลวงมองว่าจะเป็นประโยชน์ต่อธนาคารที่มีพอร์ตสินเชื่อรายย่อยสูงและบริษัทบริหารสินทรัพย์ในระยะกลางถึงยาว

 

#1นโยบายการปรับโครงสร้างหนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่?

ในสุนทรพจน์ "Vision for Thailand" เมื่อวันที่ 22 ส.ค. อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้เสนอแนะเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้รายย่อย เพื่อบรรเทาภาระการชำระหนี้ของครัวเรือน นโยบายนี้คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับการที่รัฐบาลซื้อหนี้เสียรายย่อยจากธนาคารในราคาที่เหมาะสมและปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ที่มีปัญหา บล.บัวหลวงไม่คาดว่านโยบายนี้จะเกิดขึ้นในระยะสั้น เนื่องจากรัฐบาลจะต้องดำเนินการ

 

1) ศึกษาปัญหาและปรึกษากับธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน 2) จัดสรรงบประมาณและจัดตั้งหน่วยงานที่มีบุคลากรมืออาชีพในการจัดการหนี้ของผู้บริโภค กระบวนการนี้อาจใช้เวลามากกว่าหนึ่งปี รัฐบาลน่าจะมุ่งเน้นไปที่การปรับโครงสร้างหนี้เสียของครัวเรือนและธุรกิจขนาดเล็กเป็นหลัก (หนี้เสียองค์กร SME ขนาดใหญ่ และหน่วยงานของรัฐ/รัฐวิสาหกิจ หนี่เสียปกติได้รับการจัดการภายในโดยธนาคาร)

 

#2 รัฐบาลจะปรับโครงสร้างหนี้เองหรือไม่?

หากนโยบายปรับโครงสร้างหนี้เกิดขึ้นจริง รัฐบาลอาจตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อจัดการหนี้หรือจัดตั้งบริษัทร่วมทุน AMC กับผู้ประกอบการ AMC ที่มีอยู่แล้ว หน่วยงานดังกล่าวน่าจะมุ่งเน้นไปที่หนี้เสียรายย่อยในสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFI) เป็นอันดับแรก หากประสบความสำเร็จ อาจขยายไปยังหนี้เสียรายย่อยในธนาคารพาณิชย์ได้

 

ธนาคารออมสินและ BAM ได้ร่วมกันจัดตั้ง "Ari AMC" ในเดือนพ.ค. 2567 เพื่อจัดการหนี้เสียของธนาคารออมสิน แต่รัฐบาลก็มีประวัติการจัดตั้ง AMC แบบเดี่ยวมาก่อน เช่น BAM หลังจากธนาคารกรุงเทพพาณิชย์ล่มสลายในปี 2539และ TAMC ในปี 2544เพื่อจัดการหนี้เสียของธนาคารที่รัฐควบคุมหลังวิกฤตปี 2539-2540

 

#3 ใครจะได้ประโยชน์จากนโยบายนี้?

บล.บัวหลวงมองว่าการกำหนดนโยบายปรับโครงสร้างหนี้จะเป็นประโยชน์ต่อธนาคารและ AMC ในระยะกลางถึงยาว ธนาคารจะมีทางเลือกใหม่ในการจัดการหนี้เสียรายย่อย ธนาคารที่มีพอร์ตสินเชื่อรายย่อยสูงจะได้ประโยชน์มากกว่าธนาคารที่เน้นสินเชื่อองค์กรและหน่วยงานรัฐ เพราะธนาคารมักจะปรับโครงสร้างหนี้องค์กรและหน่วยงานรัฐเอง

 

สำหรับกลุ่ม AMC บล.บัวหลวงมองว่า BAM (ที่จัดการหนีเสียที่มีหลักประกัน) และJMT (เชี่ยวชาญในการจัดการหนี้เสียที่ไม่มีหลักประกัน) อาจได้ประโยชน์แม้ว่ารัฐบาลจะจัดตั้ง AMC ใหม่ก็ตาม เพราะหน่วยงานดังกล่าวอาจจ้างที่ปรึกษาในการจัดตั้งและบริหารงาน และอาจจะจ้างผู้ติดตามหนี้จากภายนอกได้

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง