ดร.อนันต์เผยเด็กเล็กติดโอมิครอนเยอะกว่าพันธุ์ก่อน ชี้ต้องเร่งฉีดวัคซีน


วันนี้( 24 เม.ย.65) ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักวิจัยด้านไวรัสวิทยา ไบโอเทค โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana เกี่ยวกับ ไวรัสโควิด-19 โดยระบุว่าเด็กเล็กติดโอมิครอนได้เยอะกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้มาก ทำให้ความจำเป็นที่ต้องป้องกันเด็กน้อยด้วยวัคซีนกลายเป็นเรื่องเร่งด่วน...ในขณะที่พ่อแม่ผู้ปกครองรู้สึกอย่างนึง ผู้เชี่ยวชาญผู้มีอำนาจในการตัดสินใจยังมองหาข้อมูลที่ชัดขึ้นว่าควรหรือไม่ควรดี..
ภาพนี้จึงสื่อสารออกมาชัดเจนครับ เด็กน้อยอาจจะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่จะเห็นโควิดเป็นโรคประจำถิ่น และ ถ้าปล่อยให้ไวรัสปรับตัวติดเด็กง่ายขึ้นๆ ในอนาคตเราอาจจะไม่เห็นโควิดที่ไม่ทำให้เด็กป่วยเหมือนเมื่อก่อนอีกต่อไป เป็นหลักการอยู่รอดของไวรัสครับ ประชากรกลุ่มไหนเป็นที่ที่ไวรัสเพิ่มจำนวนได้ดี มักจะกลายเป็นเป้าหมายเสมอ
นอกจากนี้ ดร.อนันต์ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไวรัสสายพันธุ์ย่อย ระบุว่า หลังจากโอมิครอนเข้ามาแพร่กระจายในประชากรมนุษย์ พบว่ามีการแตกเป็นสายพันธุ์ย่อยคือ BA.1, BA.2, BA.3, BA.4 และ BA.5 ซึ่งมีการกระจายในหลายประเทศ ปรากกฏการณ์นึงคือ เมื่อไวรัสที่เป็นสายพันธุ์ย่อยเหล่านี้ไปแพร่กระจายอยู่ในที่เดียวกัน จะมีผู้ป่วยที่ได้รับไวรัสต่างสายพันธุ์ไปพร้อมๆกัน เกิดการสร้างไวรัสลูกผสมออกมา เรียกชื่อที่แตกต่างกันไปโดยมี X เป็นตัวระบุว่าสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ลูกผสม อาจจะเป็นลูกผสมระหว่างเดลต้ากับโอมิครอน หรือ โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยด้วยกันเอง หรือ อาจจะเป็นการผสมระหว่าง X- ด้วยกันเอง
ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนที่ผ่านมา X- สามารถตรวจพบได้เพิ่มขึ้น จนปัจจุบันไปถึง XT แล้ว กระจายอยู่ในหลายประเทศ อีกไม่นานคงมี U, V, X, Y, Z แน่นอน หลังจากนั้นคงต้องดูต่อว่าจะเรียกชื่อไวรัสว่าอะไรครับ ... หน้าที่ของนักวิจัยทั่วโลกคือต้องทำการศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงในแต่ละสายพันธุ์ใหม่ๆนี้จะสร้างปัญหาอะไรน่ากังวลอีกหรือไม่ ถ้ามีจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร ดูเหมือนตรงไปตรงมา แต่ไม่ง่ายครับเพราะมาเป็นหน้า่กระดานแบบนี้ เยอะไป ไวไป ทำกันไม่ทัน
ข้อมูลจาก : ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา
ภาพจาก : ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา