รีเซต

พบคลื่นความถี่ต่ำพิเศษปริศนาในชั้นบรรยากาศโลก ไม่สามารถบุที่มาได้

พบคลื่นความถี่ต่ำพิเศษปริศนาในชั้นบรรยากาศโลก ไม่สามารถบุที่มาได้
TNN ช่อง16
15 พฤษภาคม 2566 ( 15:56 )
123

ภายในงานประชุมของสมาคมอะคูสติกแห่งอเมริกา (Acoustical Society of America) รัฐชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2023 ที่ผ่านมา ทีมนักนักวิทยาศาสตร์ได้นำเสนอรายงานการค้นพบคลื่นความถี่ต่ำพิเศษในชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ของโลกโดยบอลลูนพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถระบุแหล่งที่มาของมันได้


“ในสตราโตสเฟียร์มีสัญญาณอินฟราซาวด์ (Infrasound) ลึกลับเกิดขึ้น 2-3 ครั้งต่อชั่วโมง ในบางเที่ยวบินแต่แหล่งที่มาของสัญญาณเหล่านี้ยังไม่ทราบแน่ชัด” แดเนียล โบว์แมน (Daniel Bowman) หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์จากศูนย์ทดลองแห่งชาติซานเดีย (Sandia National Laboratories) ในรัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกากล่าว


สำหรับอินฟราซาวด์นั้นหมายถึงคลื่นเสียงที่มีความถี่ต่ำมากกว่า 20 เฮิร์ต จนหูของมนุษย์ไม่สามารถได้ยิน


บอลลูนพลังงานแสงอาทิตย์ 

โดยทีมของเขาได้สร้างบอลลูนพลาสติกขนาดกว้าง 7 เมตร รัดด้วยเซ็นเซอร์อินฟราซาวด์ที่เรียกว่าไมโครบารอมิเตอร์ (Microbarometers) และใส่ผงถ่านเข้าไปในบอนลูน ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์และทำให้อุณหภูมิภายในลูกบอนลูนสูงขึ้นจนสามารถลอยตัวได้ โดยทำให้บอลลูนสามารถขึ้นไปบนท้องฟ้าได้ไกลกว่า 20 กิโลเมตร

ก่อนหน้านี้ในปี 2016 ทีมนักวิทยาศาสตร์ของแดเนียล โบว์แมนได้ส่งบอลลูนขึ้นสู่ท้องฟ้ากว่า 50 ลูก เพื่อสุ่มตรวจเสียงจากการปะทุของภูเขาไฟแต่พวกเขากลับพบคลื่นเสียงต่ำพิเศษที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ และไม่สามารถติดตามแหล่งที่มาได้


การส่งบอลลูนสำรวจครั้งแรก 

สำหรับครั้งแรกที่มีการส่งบอลลูนพลังงานแสงอาทิตย์ขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์เกิดขึ้นในช่วงปี 1890 เพื่อตรวจจับเสียงจากการทดสอบระเบิดปรมาณูของโซเวียตในช่วงปลายทศวรรษ 1940 ก่อนจะตกที่เมืองรอสเวลล์ รัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1947


ข้อมูลจาก EurekAlert

ภาพจาก Pixabay

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง