รีเซต

เดือนธันวา NASA อาจจะค้นหา "เอเลียน" เจอ โดยใช้เวลาเพียง 20 ชั่วโมงเท่านั้น

เดือนธันวา NASA อาจจะค้นหา "เอเลียน" เจอ โดยใช้เวลาเพียง 20 ชั่วโมงเท่านั้น
TNN ช่อง16
22 พฤศจิกายน 2564 ( 18:03 )
201
เดือนธันวา NASA อาจจะค้นหา "เอเลียน" เจอ โดยใช้เวลาเพียง 20 ชั่วโมงเท่านั้น
ในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ (18 ธันวา) ทาง NASA จะทำการเปิดตัวกล้องโทรทรรศน์อวกาศรุ่นใหม่ล่าสุด "James Webb Space Telescope" ซึ่งจะถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของประวัติศาสตร์การศึกษาอวกาศ ที่จะช่วยมนุษย์ค้นหาสัญญาณของสิ่งมีชีวิตนอกโลก (นอกระบบสุริยะ) หรือดวงดาวที่มนุษย์จะสามารถอพยพไปอาศัยอยู่ได้สำเร็จ ซึ่งจากที่ NASA นำเสนอไว้ ยืนยันว่าเราจะแค่ส่องกล้องเพียง 5 - 10 ครั้ง หรือประมาณ 20 ชั่วโมงของการส่องกล้องศึกษาดวงดาวเท่านั้นเอง 



ขอบคุณภาพจาก : upload.wikimedia.org

 

เกี่ยวกับกล้องโทรทรรศน์อวกาศ "James Webb Space Telescope"

กล้องโทรทรรศน์อวกาศ "James Webb Space Telescope" เป็นกล้องที่จะถูกนำมาใช้งานแทนที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศ Hubble Space Telescope ที่เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 1990 โดยกล้อง James Webb Space Telescope ถูกออกแบบมาสำหรับใช้สังเกตการณ์วัตถุอันห่างไกลในเอกภพ ซึ่งอยู่ไกลเกินกว่าความสามารถของกล้อง Hubble Space Telescope จะจับภาพได้



ขอบคุณภาพจาก : scx2.b-cdn.net

 


 

โครงการนี้เกิดขึ้นจากการจับมือกันของ 3 องค์กรอวกาศระดับโลก อย่าง NASA, ESA (องค์การอวกาศยุโรป), และ CSA (องค์การอวกาศแคนาดา) โดยตัวกล้องมีมูลค่าประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีขนาดความยาว 65 ฟุต (20 ม.) มีกลไกทำงานภายในที่สำคัญรวมแล้วกว่า 178 รายการ หนัก 6,200 กก. (14,000 ปอนด์) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6.5 เมตร (21 ฟุต) ใช้ขนาดพื้นที่ในการติดตั้ง 25 ตารางเมตร (270 ตารางฟุต) และมีความยาวโฟกัสมากถึง 131.4 เมตร (431 ฟุต)



ขอบคุณภาพจาก : images.immediate.co.uk

 


ภายในประกอบขึ้นด้วยเครื่องมือที่สำคัญหลายอย่าง โดย 4 อย่างในนั้นประกอบไปด้วย NIRCAM กล้องถ่ายคลื่นใกล้อินฟราเรด, NIRSpec สเปกโตรกราฟคลื่นใกล้อินฟราเรด, MIRI เครื่องมือวัดอินฟราเรดกลาง, และ FGS เซ็นเซอร์นำทางความละเอียดสูง กำหนดปล่อยขึ้นวงโคจรในวันที่ 18 ธันวาคมนี้ โดยใช้จรวด Ariane 5 จัดส่งขึ้นไป ณ เฟรนช์เกียนา ประเทศฝรั่งเศส ตัวกล้องจะไปอยู่ตำแหน่งวงโคจรใกล้กับจุด Sun-Earth LaGrange ซึ่งอยู่ห่างจากโลกเกือบ 1 ล้านไมล์ (1.5 ล้านกิโลเมตร) และอยู่ห่างจากดวงจันทร์ประมาณ 4 เท่า


อีกก้าวสำคัญของ "การศึกษาอวกาศ"

ในปัจจุบัน มีหลายวิธีที่สามารถระบุได้ว่าดาวดวงไหนมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่บ้าง หรือดาวดวงไหนมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร แต่วิธีดังกล่าวจะยังค่อนข้างไม่ชัดเจนและมีตัวแปรมากมาย ที่ยังเป็นแค่การคาดเดา 


แต่เมื่อใดที่กล้อง James Webb Space Telescope  สามารถใช้งานได้ มันจะเปลี่ยนการศึกษานอกระบบดาวเคราะห์ใหม่ทั้งหมด และอาจเป็นโอกาสแรกที่นักวิทยาศาสตร์จะต้องค้นหา Biosignatures ในชั้นบรรยากาศของดวงดาวอื่น ผ่าน Transmission Spectroscopy



ขอบคุณภาพจาก : upload.wikimedia.org

 


ดวงดาวที่คาดว่ามี "สิ่งมีชีวิต" อาศัยอยู่

นักวิทยาศาสตร์จะต้องการสารประกอบ 2 ชนิดจากดาวเคราะห์เท่านั้น เพื่อพิสูจน์ว่าดาวเคราะห์ดวงนั้นมีสิ่งมีชีวิตอยู่จริง นั่นคือ CH4 และ C02 (มีเทนและคาร์บอนไดออกไซด์) โดยดาวที่น่าสนใจที่สุดในตอนนี้ก็คือ TRAPPIST-1e ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สงสัยว่ามีสภาพชั้นบรรยากาศคล้ายกับ Archean Earth (2.5 ถึง 4 พันล้านปีก่อนของโลก) พวกเขาคาดว่าอาจต้องใช้ตัวกล้องส่องดูดวงดาวดังกล่าวประมาณ 5 - 10 ครั้ง เพื่อจะตรวจจับสัญญาณที่ชัดเจนได้ ซึ่งจะตรวจวัดผ่าน NIRSpec ของตัวกล้อง



ขอบคุณภาพจาก : upload.wikimedia.org

 


แต่สิ่งนี้จะสำเร็จได้ เมื่อชั้นบรรยากาศบนดาว TRAPPIST-1e นั้นปลอดโปร่ง และต้องมีความกดดันของชั้นเมฆ/หมอกอยู่ระหว่าง 100 ถึง 600 มิลลิบาร์ (0.1 ถึง 0.6 ของความกดอากาศของโลกที่ระดับน้ำทะเล) ในทางกลับกัน หาก TRAPPIST-1e มีความดันเมฆ/ชั้นเมฆหมอกที่ 10 มิลลิบาร์ (0.01 บรรยากาศ) อาจต้องรอให้ TRAPPIST-1e เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ ซึ่งเราอาจจำเป็นต้องส่องผ่านกล้องกว่า 50 ครั้ง หรือใช้เวลากว่า 200 ชั่วโมงของการศึกษาดวงดาวทั้งหมด และอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะยืนยันแน่นอนว่า "ดาวดวงนั้นมีสิ่งมีชีวิตอยู่จริง"


แหล่งที่มา interestingengineering.com

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง