รีเซต

เลือกตั้งผู้ว่า 2565 : ใครเลือกตั้งได้บ้าง? เปิดสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. - ส.ก. มีชื่อในทะเบียนบ้านไม่ถึง 1 ปี ห้ามเลือกตั้ง

เลือกตั้งผู้ว่า 2565 : ใครเลือกตั้งได้บ้าง? เปิดสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. - ส.ก. มีชื่อในทะเบียนบ้านไม่ถึง 1 ปี ห้ามเลือกตั้ง
Ingonn
31 มีนาคม 2565 ( 13:45 )
21.6K
เลือกตั้งผู้ว่า 2565 : ใครเลือกตั้งได้บ้าง? เปิดสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. - ส.ก. มีชื่อในทะเบียนบ้านไม่ถึง 1 ปี ห้ามเลือกตั้ง

เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 2565 วันนี้เริ่มเปิดรับสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) รวมถึง สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม ถึง วันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2565 โดยกำหนดวันเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ซึ่งการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ไม่ใช่คนทุกคนก็ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เนื่องจากมีเงื่อนไขการมีชื่อที่อยู่ในทะเบียนบ้านเป็นตัวกำหนดด้วย

 

"กฎหมายกำหนดไว้ว่า หากใครมีชื่อในทะเบียนบ้านในกรุงเทพฯ ไม่ถึงหนึ่งปีก่อนวันเลือกตั้ง จะถือว่าไม่มีมีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.)"

 

จากจำนวนประชากรผู้อาศัยในกรุงเทพมหานคร ทั้งหมด 5,523,676 คน มีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,374,131 คน (ข้อมูลคำนวณถึงวันที่ 22 พ.ค.65) แบ่งเป็นเพศชาย จำนวน 1,996,104 คน เพศหญิง จำนวน 2,378,027 คน จำนวนหน่วยเลือกตั้ง 6,862 หน่วย ผู้ที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หรือ ส.ก. ได้จะต้องมีคุณสมบัติมีชื่อในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปีถึงมีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ไม่ใช่กฎหมายเดิมที่ระบุให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 90 วัน

 

กฎหมายสิทธิการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.แต่ก่อน

การเลือกตั้งทั่วไปในปี 2562 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่แต่งตั้งโดยคสช. ได้ออกกฎหมายต่าง ๆ มากถึง 66 ฉบับในระยะเวลาไม่ถึงสามเดือน โดยหนึ่งในนั้นก็คือการแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จากเดิมที่กำหนดให้ต้องเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการเลือกตั้ง และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 90 วัน ให้ใช้เกณฑ์คุณสมบัติในพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ซึ่งสนช. ออกในระยะเวลาไล่เลี่ยกันแทน


หลักเกณฑ์ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก.

พ.ร.บ. เลือกตั้งท้องถิ่นฯ มาตรา 38 นั้นกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ดังนี้

  1. มีสัญชาติไทย แต่บุคคลผู้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้ว ไม่น้อยกว่าห้าปี
  2.  มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีในวันเลือกตั้ง
  3. มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันเลือกตั้ง และ
  4.  คุณสมบัติอื่นตามที่กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด

 

โดยผู้ที่ย้ายทะเบียนบ้านจากจังหวัดอื่นมาในกรุงเทพฯ ไม่ถึงหนึ่งปีก่อนวันเลือกตั้ง จะขาดคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เช่น หากการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ เกิดขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 ผู้ที่ย้ายทะเบียนบ้านมาในกรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษาภาคม 2564 หรือไม่ถึงหนึ่งปีก่อนหน้า ก็จะไม่สิทธิเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพฯ แต่หากเป็นการย้ายทะเบียนบ้านภายในกรุงเทพฯ เอง (ตัวอย่างเช่น ย้ายทะเบียนบ้านจากเขตสายไหมไปยังเขตดอนเมือง) ก็ยังถือว่าเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งอยู่ โดยให้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครั้งสุดท้ายเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งปี


 
นอกจากนี้ การเลือกตั้งนอกเขต สำหรับผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกรุงเทพฯ แต่อาศัยหรือทำงานที่จังหวัดอื่นหรือต่างประเทศ กฎหมายก็ไม่ได้เปิดช่องให้เลือกตั้งนอกเขตได้เหมือนกับการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 ดังนั้นผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องเดินทางกลับมาใช้สิทธิเลือกตั้งที่กรุงเทพฯ เท่านั้น

 

เบอร์/หมายเลขเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 

นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ลงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในนามพรรคก้าวไกล ได้หมายเลข 1

พันโทหญิงฐิฎา รังสิตพล มานิตกุล ลงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในนามอิสระ ได้หมายเลข 2 

นายสกลธี ภัททิยกุล ลงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในนามอิสระ ได้หมายเลข 3

นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ลงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในนามพรรคประชาธิปัตย์ ได้หมายเลข 4 

นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ ลงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในนามอิสระ ได้หมายเลข 5

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ลงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในนามอิสระ ได้หมายเลข 6

น.ส.รสนา โตสิตระกูล ลงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในนามอิสระ ได้หมายเลข 7

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในนามอิสระ ได้หมายเลข 8

น.ส.วัชรี วรรณศรี ลงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในนามอิสระ ได้หมายเลข 9

นายศุภชัย ตันติคมน์ ลงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในนามอิสระ ได้หมายเลข 10 

น.ต.ศิธา ทิวารี ลงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในนามพรรคไทยสร้างไทย ได้หมายเลข 11

นายประยูร ครองยศ ลงเลือกตั้งในนามพรรคไทยศรีวิไลย์ ได้หมายเลข 12

นายพิศาล กิตติเยาวมาลย์ ลงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในนามอิสระ ได้หมายเลข 13

นายธเนตร วงษา ลงเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในนามอิสระ ได้หมายเลข 14

 

 

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง