รีเซต

'ทารก-เด็กเล็ก' เป็นกลุ่มเสี่ยง? บราซิลพบสถิติ 'ทารก' ตาย 1,300 คน ผลพวงโควิดทำสาธารณสุขล่ม - คนจนหนัก

'ทารก-เด็กเล็ก' เป็นกลุ่มเสี่ยง? บราซิลพบสถิติ 'ทารก' ตาย 1,300 คน ผลพวงโควิดทำสาธารณสุขล่ม - คนจนหนัก
TNN World
16 เมษายน 2564 ( 11:31 )
189
'ทารก-เด็กเล็ก' เป็นกลุ่มเสี่ยง? บราซิลพบสถิติ 'ทารก' ตาย 1,300 คน ผลพวงโควิดทำสาธารณสุขล่ม - คนจนหนัก

 

ข่าววันนี้ ทารกในบราซิล เสียชีวิตจากโควิด-19 มากกว่า 1,300 คนแล้ว เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ? 

 

 

สถิติทารกตายนับพัน

 

 

หนึ่งปีที่ผ่านมาของการระบาดโควิด-19 ยอดผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ในประเทศบราซิล กำลังเข้าสู่ช่วงพีค พบผู้เสียชีวิตมากกว่า 3,460 คน ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา 

 

 

และเคยมีผู้เสียชีวิตทะลุกว่า 4,000 คน เมื่อช่วงต้นเดือน ทำให้ยอดเสียชีวิตสะสมมากกว่า 362,000 คนแล้ว 

 

 

ส่วนผู้ติดเชื้อในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มากกว่ 74,000 คน และยอดสะสม 13.67 ล้านคน

 

 

ล่าสุด มีอีกสถิติที่เพิ่งได้รับการเปิดเผยออกมา พบว่า โควิด-19 ได้คร่าชีวิต “เด็กทารก” ในบราซิลมากกว่า 1,300 คนแล้ว นับตั้งแต่เกิดการระบาด และพบว่าเด็กทารกหลายเคสในบราซิลถูกปฏิเสธการรักษา เนื่องจากคิดว่าโรคนี้ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก เพราะที่ผ่านมาไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ มักไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก ๆ มากเท่ากับกลุ่มผู้ใหญ่ 

 

 

เหตุใดจึงเป็นเช่นนี้

 

 

ดร.ฟาติมา มาริโนห์ ที่ปรึกษาอาวุโส ของกลุ่มแพทย์ NGO สากล Vital Strategies  ระบุว่า เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย

 

 

1. ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า จำนวนผู้ติดโควิดที่เพิ่มขึ้นมากในบราซิล (ซึ่งเป็นอันดับ 3 ของโลก) จากไวรัสกลายพันธุ์ P.1 ที่ระบาดเร็วและแรงขึ้น ซึ่งพบว่า “เด็กทารก” และกลุ่ม “เด็กวัยรุ่น” ก็ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นด้วย อีกทั้งยังมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นใน ‘ทุกกลุ่มอายุ’ รวมถึงกลุ่มเด็ก ๆ ด้วย โดยยอดติดเชื้อที่สูงมากกระทบหนักต่อระบบสาธารณสุขของบราซิล 
2. นำมาสู่ การขาดแคลนออกซิเจน อุปกรณ์ด้านการแพทย์ขั้นพื้นฐานอื่นๆ  อีกทั้งห้อง ICU ก็ไม่มีเตียงพอรองรับผู้ป่วยวิกฤตแล้ว
3. ยอดติดเชื้อสูง แต่กลับมีการตรวจเชื้อในกลุ่ม “เด็ก” น้อย 
4. เกิดการวินิจฉัยโรคในกลุ่มเด็ก ๆ ที่ช้าเกินไป จนทำให้เข้าสู่กระบวนการรักษาช้า 
5. อาการของเด็กที่ติดเชื้อโควิดที่แสดงออกมา พบว่าส่วนมากแตกต่างไปจากกลุ่มคนที่อายุมากกว่า จึงทำให้เกิดการวินิจฉัยผิดพลาด  เนื่องจากเด็ก ๆ ส่วนใหญ่จะมีอาการท้องร่วงมากกว่า ปวดท้องมากกว่า ปวดหน้าอกมากกว่า ซึ่งเป็นอาการที่มากกว่าอาการปกติของโควิด-19 และเมื่อเข้ารับการรักษาช้าและผิดพลาด ก็ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน และเสียชีวิตลง
6. ความยากจน และการเข้าไม่ถึงระบบสาธารณสุข 

 

 

เด็กควรถูกจัดเป็นกลุ่มเสี่ยง 

 

 

บรอัน ซอซา จากสถาบันการแพทย์เซาเปาโล เคยสำรวจผู้ป่วยโควิด-19 ในกลุ่มคนอายุต่ำกว่า 20 ปี 5,857 คนในบราซิล พบว่า ปัจจัยหลัก ๆ ทั้งเรื่องของโรคแทรกซ้อน และฐานะทางสังคม ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เด็ก ๆ อาการหนัก และเสียชีวิตมากขึ้น 

 

 

ดร.มาริโนห์ เห็นด้วยกับปัจจัยดังกล่าว โดยเฉพาะเด็กผิวสี เด็กที่มาจากครอบครัวยากจน ที่เข้าถึงการรักษายาก มักเสี่ยงจะเสียชีวิต เนื่องจากต้องอาศัยอยู่ในบ้านแคบ ๆ กับคนหลายคน จึงยากที่จะเว้นระยะห่าง หรือเข้าถึงการรักษา

 

 

ซอซา บอกว่า การวิจัยของเขาทำให้ยิ่งมั่นใจว่า “เด็ก” นับเป็นกลุ่มเสี่ยงไม่แพ้กัน และควรได้รับการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี 

 

 

เด็กที่ยากจน ยังเสี่ยงขาดสารอาหาร ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องแย่ต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอีกด้วย 

 

 

ความยากจน ทำให้โควิดระบาดหนัก และโควิดระบาด ก็ยิ่งทำให้คนจนลง

 

 

มีรายงานว่า เมื่อโควิดหมดลง จะมีชาวบราซิลอีกหลายล้านคนยากจนลง ซึ่งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มีคนจนในบราซิลที่อยู่ใต้เส้นแบ่งความยากจนจาก 7 ล้านคน พุ่งขึ้นเป็น 21 ล้านคน ดังนั้น ตอนนี้ ผู้คนกำลังหิวโหย และสิ้นหวัง 

 

 

ตัวเลขผู้เสียชีวิตของเด็กทารกและเด็กเล็ก อายุ 0-9 ขวบ คือ 1,300 คน ซึ่งเมื่อเทียบกับตัวเลขผู้เสียชีวิตสะสม 3 แสนกว่าคน ผู้เชี่ยวชาญยังมองว่า ความเสี่ยงการเสียชีวิตของคนวัยนี้ยังนับว่า “ต่ำมาก ๆ” โดยพบเป็นสัดส่วนเพียงไม่ถึง 0.4% เท่านั้น

 

 

แต่แพทย์บางคนที่ต้องทำงานในห้อง ICU กลับมองว่า ตัวเลขนี้น่ากลัวทีเดียว

 

 

เรื่อง : ภัทร จินตนะกุล
ภาพ : João Victor Fonseca

 

ข้อมูลอ้างอิง :


https://www.bbc.com/news/world-latin-america-56696907

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง