รีเซต

ภารกิจครั้งแรกของโลก “แมลงสาบกู้ภัย” ค้นหาผู้รอดชีวิตแผ่นดินไหวเมียนมา

ภารกิจครั้งแรกของโลก “แมลงสาบกู้ภัย” ค้นหาผู้รอดชีวิตแผ่นดินไหวเมียนมา
TNN ช่อง16
9 เมษายน 2568 ( 14:00 )
29

หน่วยงานความมั่นคงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ Home Team Science and Technology Agency (HTX) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลนีนันยางแห่งสิงคโปร์ และบริษัทด้านวิศวกรรม Klass Engineering and Solutions ร่วมกันพัฒนา “แมลงสาบไซบอร์กกู้ภัย” โดยใช้เทคโนโลยีในการควบคุมการเคลื่อนไหวด้วยกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ผ่านอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ แผ่นชิปขนาดเท่าหัวแม่มือและกล้องอินฟาเรดจะถูกที่ติดตั้งบนหลังของแมลงสาบสายพันธุ์ “มาดากัสการ์” ซึ่งก่อนหน้านี้สามารถควบคุมแมลงสาบได้ครั้งละ 1 ตัว แต่การปฏิบัติภารกิจกู้ภัยจากแผ่นดินไหวจำเป็นต้องใช้การควบคุมเป็นกลุ่มเพื่อเพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการค้นหาและสำรวจพื้นที่ รวมถึงระบุตำแหน่งของผู้รอดชีวิต ทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับควบคุมการเคลื่อนไหวของแมลงสาบเพิ่มขึ้น จนสามารถควบคุมได้มากถึง 20 ตัวในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้แมลงสาบบางตัวยังสามารถช่วยพลิกตัวเพื่อนในกลุ่มหากพวกมันอยู่ในสถานการณ์หงายหลังจนไม่สามารถทำอะไรได้


สำหรับภารกิจกู้ภัยในครั้งนี้ หน่วยปฏิบัติการไลออนฮาร์ตของกองกำลังป้องกันพลเรือนสิงคโปร์ (SCDF) ได้ระดมกำลังพล จำนวน 80 นาย พร้อมสุนัขค้นหาอีก 4 ตัว เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจการค้นหาในซากอาคารโรงพยาบาลขนาดเท่าสองสนามฟุตบอล และเสริมทัพด้วยวิศวกรจากหน่วยงานความมั่นคงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติจำนวน 2 คน และวิศวกรจากบริษัท Klass Engineering and Solutions จำนวน 2 คน พร้อมฝูงแมลงสาบไซบอร์กกู้ภัยจำนวน 10 ตัว โดยใช้เวลาประมาณ 45 นาทีในการปฏิบัติภารกิจ

“แมลงสาบไซบอร์กกู้ภัย” เปิดตัวครั้งแรกในงาน Milipol Asia-Pacific and TechX Summit 2024 และมีแผนจะนำมาใช้งานในปี 2026 แม้ว่าจะยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา แต่ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเมียนมาผลักดันให้หน่วยงานความมั่นคงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเร่งพัฒนาให้เร็วขึ้นเพื่อเสริมการทำงานให้กับหน่วยปฏิบัติการไลออนฮาร์ตของกองกำลังป้องกันพลเรือนสิงคโปร์ แม้ในการปฏิบัติงานจริงจะเจอปัญหาติดขัดท่างเทคนิคและไม่ราบรื่นไปบ้าง แต่นี่ก็เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในอนาคต

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง