รีเซต

"ญี่ปุ่น" เตรียมยกเลิกบังคับนักท่องเที่ยวแสดงผลตรวจโควิด-19 ก่อนเข้าประเทศ

"ญี่ปุ่น" เตรียมยกเลิกบังคับนักท่องเที่ยวแสดงผลตรวจโควิด-19 ก่อนเข้าประเทศ
TNN ช่อง16
23 สิงหาคม 2565 ( 11:40 )
105
"ญี่ปุ่น" เตรียมยกเลิกบังคับนักท่องเที่ยวแสดงผลตรวจโควิด-19 ก่อนเข้าประเทศ

"ญี่ปุ่น" ประเทศร่ำรวยประเทศสุดท้ายที่ยังคงคุมเข้มนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศอย่างเข้มงวดเพื่อสกัดโควิด-19 กำลังพิจารณายกเลิกบังคับนักเดินทางทุกคน ต้องแสดงผลตรวจเชื้อโควิด-19 เป็นลบ และจ่อประกาศโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น

วันนี้ (23 ส.ค.65) สเตรทส์ไทมส์รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาจะยกเลิกมาตรการเข้มงวดบังคับนักเดินทางที่ต้องการเข้าประเทศญี่ปุ่นทุกคน ต้องแสดงผลตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี PCR เป็นลบ คือ ไม่ติดเชื้อ 

และกำลังพิจารณาผ่อนคลายการจำกัดจำนวนนักเดินทางเข้าญี่ปุ่นจากปัจจุบันที่วันละ 20,000 คนด้วย โดยการผ่อนคลายจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างเช่นจะเริ่มยกเว้นให้แก่ผู้ที่ฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 แล้วก่อนเป็นกลุ่มแรก

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศร่ำรวยประเทศสุดท้าย ที่ยังคงใช้มาตรการเข้มงวดในการรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศ

ปัจจุบันญี่ปุ่นกำหนดให้นักเดินทางที่ต้องการเข้าญี่ปุ่นทุกคน จะต้องแสดงผลตรวจพีซีอาร์เทสเป็นลบ โดยจะต้องตรวจภายในไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังจากเดินทางออกจากประเทศต้นทางมาถึงญี่ปุ่น

นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังมีแผนจะประกาศให้โควิด-19 เป็น "โรคประจำถิ่น" ด้วย ซึ่งจะทำให้ฝ่ายการแพทย์ไม่ต้องถูกกำหนดให้ต้องรายงานอย่างละเอียดเกี่ยวกับผู้ป่วยโควิด

เมื่อปีที่แล้ว มีนักท่องเที่ยวไปเยือนญี่ปุ่นเพียงจำนวนน้อยนิด สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวได้เพียง 120,000 ล้านเยนเท่านั้น เทียบกับปี 2019 ก่อนที่โควิด-19 จะระบาด ซึ่งช่วงนั้นญี่ปุ่นกำลังอยู่ในช่วงการท่องเที่ยวเจริญรุ่งเรืองพอดี 

โดยการท่องเที่ยวญี่ปุ่นระบุว่า มีผู้เดินทางไปเยือนญี่ปุ่นสูงสุดทุบสถิติในปี 2019 สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้แก่ญี่ปุ่นสูงถึง 4.8 ล้านล้านเยนในปีนั้น หรือสูงกว่า 40 เท่าของปัจจุบัน

ญี่ปุ่นได้เริ่มผ่อนคลายให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้ตั้งแต่ 3 เดือนก่อนแล้ว แต่มาตรการคุมเข้มโควิดอย่างเข้มงวดในญี่ปุ่น ได้แก่การบังคับสวมหน้ากากอนามัย ตรวจอุณหภูมิร่างกาย และจำกัดการเดินทางอย่างอิสระในญี่ปุ่น ทำให้ไม่สามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยวต่างชาติให้กลับไปได้.


ภาพจาก AFP

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง