ไม่ได้สิทธิ “เราชนะ” แต่ประกันสังคม มาตรา 33 ได้สิทธิอะไรบ้าง?
จากมาตรการเยียวยา 3,500 บาท ผ่านการลงทะเบียน "เราชนะ" เพื่อขอรับสิทธินั้น คาดว่าจะมีผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากโควิด-19 กว่า 30-35 ล้านคนขอเข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งในเงื่อนไขของผู้มีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยา ได้แก่ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน 14 ล้านคน และผู้มีสิทธิในโครงการคนละครึ่ง เนื่องจากรัฐบาลมีฐานข้อมูลของผู้ที่ร่วมโครงการกับรัฐอยู่ โดยจะใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวมาคัดกรองคุณสมบัติว่าผ่านเกณฑ์ที่จะได้รับเงินเยียวยา 3,500 บาท หรือไม่ และยืนยันว่าระบบการลงทะเบียนเราชนะจะไม่ซับซ้อน เน้นการใช้ข้อมูลจากบัตรประชาชน
ส่วนกลุ่มที่ไม่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ "เราชนะ" ได้แก่ ผู้ประกันตนมาตรา 33 (ยกเว้น 39 และ 40), ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ และผู้มีรายได้สูง คาดว่าจะประเมินจากฐานเงินเดือนและบัญชีเงินฝาก แต่ใช่ว่าผู้ประกันตนมาตรา 33 จะไม่ได้รับการเยียวยา ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะได้รับสิทธิจากมาตรการของรัฐที่จะเยียวยาจากสถานการณ์ฯโควิด-19 ในรูปแบบดังต่อไปนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- สิทธิประกันสังคมกรณี ลาออก เลิกจ้าง ว่างงาน และเหตุโควิด-19 อย่าลืมขอเงินทดแทน
- มีสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ที่เราจะได้รับจากประกันสังคม
- พนักงานเอกชนลาออก ยังมีความคุ้มครอง กับ สิทธิประกันสังคม มาตรา 39
- สิทธิเพิ่มเติม 4 ข้อ ของขวัญปีใหม่ 2564 จากประกันสังคม
มาตรการเยียวยา “ประกันสังคม” มาตรา 33
1.รับสิทธิ การลดหย่อนเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ลูกจ้าง-นายจ้าง เหลือร้อยละ 3 ตั้งแต่ จาก ร้อยละ 5 ตลอด 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม – มีนาคม 2564
มาตรการลดหย่อนเงินสมทบ ประกันสังคม เฟสที่ 3 จะเริ่มมีผลบังคับใช้เพื่อช่วยเหลือนายจ้างและผู้ประกันที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง
- นายจ้าง ลดการจ่ายเงินสมทบเหลือ 3% หรือสูงสุด 450 บาท
- ผู้ประกันตนมาตรา 33 (ลูกจ้างเอกชน)ลดการจ่ายเงินสมทบเหลือ 3% หรือสูงสุด 450 บาท
- ผู้ประกันมาตรา 39 ลดการจ่ายเงินสมทบเหลือ 278 บาท
2.กรณีว่างงาน
- ว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินชดเชยร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 200 วัน
- ว่างงานจากการลาออก ได้รับเงินชดเชย ร้อยละ 45 ของค่าจ้าง ปีละไม่เกิน 90 วัน
- ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย ได้รับเงินเยียวยา 50 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือน และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
**ทั้งนี้ ในเดือนใดที่รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือ แต่นายจ้างและผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเต็มจำนวน ก็สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินส่วนที่เกินคืนได้ที่ สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานคร (กทม.) พื้นที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัด หรือสำนักงาน ประกันสังคม จังหวัดสาขา โดยตรวจสอบที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง
ข้อมูล : ประกันสังคม
รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม
สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)
++++++++++