รีเซต

ไทยติดอันดับ 115 ดัชนีเสรีภาพสื่อโลก จาก 180 ประเทศ อันดับ 2 อาเซียน

ไทยติดอันดับ 115 ดัชนีเสรีภาพสื่อโลก จาก 180 ประเทศ อันดับ 2 อาเซียน
มติชน
3 พฤษภาคม 2565 ( 14:45 )
43
ไทยติดอันดับ 115 ดัชนีเสรีภาพสื่อโลก จาก 180 ประเทศ อันดับ 2 อาเซียน

องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน (อาร์เอสเอฟ) เผยแพร่ในรายงานดัชนีเสรีภาพสื่อโลก ประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยติดอยู่ในอันดับที่ 115 เป็นอันดับที่ 2 อาเซียน เป็นรองเพียงแค่อินโดนีเซียที่อยู่ในอันดับ 113 จากทั้งหมด 180 ประเทศทั่วโลก

 

อัชนีเสรีภาพสื่อโลก จัดให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 115 อยู่ในอันดับที่ 2 ของอาเซียน รองจากประเทศมาเลเซีย ที่อยู่ในอันดับที่ 113 ขณะที่ชาติที่มีเสรีภาพสื่อดีที่สุดในโลกคือ 3 ชาติในสแกนดิเนเวีย ได้แก่ นอร์เวย์ อันดับ 1 ตามมาด้วยเดนมาร์ก และสวีเดน

 

ส่วนชาติที่มีเสรีภาพสื่อต่ำที่สุดในอันดับที่ 180 คือเกาหลีเหนือ ตามมาด้วยเอริเทรีย เมียนมา และจีน ด้านรัสเซีย อยู่ในอันดับที่ 176

 

ทั้งนี้อาร์เอสเอฟ ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2528 และเผยแพร่ดัชนีเสรีภาพสื่อนับตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา โดยในปีนี้มีวิธีเก็บคะแนนโดยใช้ 5 ตัวชี้วัดอย่างสภาพแวดล้อมทางการเมือง กรอบกฎหมาย สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทางสังคม และความมั่นคง

 

อาร์เอสเอฟระบุด้วยว่า สื่อออนไลน์ที่ไม่มีการกำกับดูแลนั้นเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือน และเนื้อหาโฆษณาชวนเชื่อซึ่งส่งผลให้การแบ่งแยกทางการเมืองไปทั่วโลก นอกจากนั้นยังกระตุ้นให้เกิดความตึงเครียดในระดับนานาชาติถึงขั้นมีส่วนต่อการเกิดสงครามในยูเครนขึ้นด้วย

 

อาร์เอสเอฟ ระบุว่า ในโลกประชาธิปไตยสังคมนั้นเกิดความแตกแยกผลจากสื่อสังคมออนไลน์เผยแพร่ข้อมูลบิดเบือน และสื่อที่แสดงความคิดเห็นในลักษณะ “โมเดลฟ็อกซ์นิวส์” อัตลักษณ์ในแบบสื่อขวาจัดในสหรัฐ ส่งผลให้เกิดความแตกแยกในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ในขณะเดียวกันในประเทศที่มีการปกครองแบบเผด็จการซึ่งมีการควบคุมสื่ออย่างเข้มงวดก็ทำ “สงครามโฆษณาชวนเชื่อ” กับโลกประชาธิปไตย และมีส่วนในการเป็นชนวนที่ทำให้เกิดความตึงเครียดระหว่างประเทศขึ้น อาร์เอสเอฟ ระบุด้วยว่ารัสเซียที่สื่อของรัฐครองพื้นที่เหนือสื่ออิสระที่ถูกควบคุมอย่างหนักเองก็เปิดฉากรุกรานยูเครนหลังจากทำสงโฆษณาชวนเชื่อด้วย

 

“การใช้สื่อเป็นอาวุธในประเทศเผด็จการนอกจากจะเป็นการตัดสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนแล้ว ยังเชื่อมโยงกับความตึงเครียดระดับนานาชาติที่เพิ่มขึ้น นำไปสู่สงครามในรูปแบบที่โหดร้ายที่สุด” ครอสตอฟ เดอลัวร์ เลขาธิการอาร์เอสเอฟ ระบุ และว่า การรายงานข่าวแบบฟ็อกซ์นิวส์ในโลกตะวันตกเองก็เป็นอันตรายกับประชาธิปไตยด้วยเพราะเป็นการสร้างความแตกแยกในสังคม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง