รีเซต

ศึกษาพบ 'จีนตอนเหนือ' ทำ 'เกษตรยั่งยืน' ตั้งแต่ 5,500 ปีก่อน

ศึกษาพบ 'จีนตอนเหนือ' ทำ 'เกษตรยั่งยืน' ตั้งแต่ 5,500 ปีก่อน
Xinhua
5 กรกฎาคม 2565 ( 10:22 )
74
ศึกษาพบ 'จีนตอนเหนือ' ทำ 'เกษตรยั่งยืน' ตั้งแต่ 5,500 ปีก่อน

ปักกิ่ง, 4 ก.ค. (ซินหัว) -- วารสารเนเจอร์ ซัสเตนอบิลีตี (Nature Sustainability) เผยแพร่ผลการศึกษา ซึ่งระบุว่าคนโบราณได้พัฒนาการเกษตรยั่งยืนที่ผสมผสานระหว่างการเพาะปลูกข้าวฟ่างและการเลี้ยงหมูในภูมิภาคตอนเหนือของจีน ตั้งแต่เมื่อราว 5,500 ปีก่อน

 

การศึกษาข้อมูลไอโซโทปคาร์บอนของกระดูกหมูในจีนหลายฉบับก่อนหน้านี้ เชื่อว่าทั้งหมูและมนุษย์ยุคหินใหม่ที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของจีนบริโภคข้าวฟ่าง ซึ่งนำไปสู่ความสัมพันธ์เชิงแข่งขันอย่างไรก็ดี คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยหลานโจวได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาไฟโตลิธและแป้งจากซากฟันหมู และไอโซโทปของเมล็ดข้าวฟ่างที่ขุดค้นจากแหล่งโบราณคดีต้าตี้วาน (Dadiwan site) พื้นที่ทางประวัติศาสตร์ยุคหินใหม่ ซึ่งมีความเก่าแก่ 5,500 ปี ในมณฑลกานซู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนเหล่าผู้เชี่ยวชาญพบว่าผู้คนสมัยนั้นกินข้าวฟ่าง ก่อนจะนำกากข้าวฟ่างที่เหลือให้หมูเป็นอาหาร และนำขี้หมูใช้เป็นปุ๋ยใส่ทุ่งข้าวฟ่างอีกทอดหนึ่ง ซึ่งสะท้อนความยั่งยืนด้านพืชผลและปศุสัตว์อย่างเข้มข้นในภาคการเกษตร โดยระบบอันยั่งยืนนี้ยังมีบทบาทเกื้อหนุนสังคมที่สลับซับซ้อนมากขึ้น เช่น เมืองและรัฐต่างๆ ในภูมิภาคดังกล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง