รีเซต

จีนทดสอบ 'ร่มชูชีพจรวดเชื้อเพลิง' แม่นยำ-ประหยัดขึ้น

จีนทดสอบ 'ร่มชูชีพจรวดเชื้อเพลิง' แม่นยำ-ประหยัดขึ้น
Xinhua
8 มิถุนายน 2564 ( 22:32 )
68
จีนทดสอบ 'ร่มชูชีพจรวดเชื้อเพลิง' แม่นยำ-ประหยัดขึ้น

 

ปักกิ่ง, 8 มิ.ย. (ซินหัว) -- เมื่อวันจันทร์ (7 มิ.ย.) บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศแห่งประเทศจีน (CASTC) เปิดเผยว่าจีนได้ทำการทดสอบระบบร่มชูชีพของจรวดเชื้อเพลิงซึ่งเป็นรุ่มชูชีพรุ่นใหม่ ขณะยิงดาวเทียมดวงหนึ่งจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ เมื่อไม่นานมานี้

 

 

ระบบดังกล่าวถูกทดสอบเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. ขณะดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาเฟิงอวิ๋น-4บี (Fengyun-4B) ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรค้างฟ้า ด้วยจรวดขนส่งลองมาร์ช-3บี (Long March-3B) จากศูนย์ปล่อยดาวเทียมซีชาง ในมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยร่มชูชีพขนาด 300 ตารางเมตร ซึ่งพัฒนาโดยสถาบันแห่งหนึ่งของบริษัทฯ ได้ช่วยให้จรวดเชื้อเพลิงของกระสวยอวกาศที่ถูกทดสอบลงจอดในสถานที่ตามที่กำหนดไว้ได้ โดยลดขอบเขตของพื้นที่ลงจอดลงถึงร้อยละ 70

 

 

ศูนย์ปล่อยดาวเทียมหลักของจีนหลายแห่งตั้งอยู่ภายในแผ่นดิน ต่างจากศูนย์ปล่อยดาวเทียมของหลายประเทศที่มักจะตั้งตามแนวชายฝั่ง ซึ่งหมายความว่าเมื่อแยกตัวออกมาจากกระสวยอวกาศแล้ว จรวดเชื้อเพลิงขนาดหนักเหล่านี้จะร่วงลงสู่พื้นที่ที่มีประชากรอาศัยหนาแน่นโดยตรง ดังนั้นจรวดเชื้อเพลิงและซากชิ้นส่วนอื่นๆ จึงเป็นอันตรายต่อบรรดาชุมชนที่อยู่อาศัย เนื่องจากมันจะร่วงลงสู่พื้นโลกหลังมีการยิงจรวดขึ้นสู่วงโคจร

 

 

การป้องกันจรวดเชื้อเพลิงไม่ให้ร่วงลงสู่พื้นที่ที่มีกิจกรรมของมนุษย์อย่างมิได้คาดหมายนั้น ได้กลายเป็นงานเร่งด่วนของนักวิทยาศาสตร์จีน ที่ต้องเตรียมการปล่อยยานอวกาศต่างๆ ที่จีนวางแผนไว้ในปีนี้

 

 

จางอวี้ผู่ นักออกแบบอาวุโสของจรวดลองมาร์ช-3 ระบุว่าระบบร่มชูชีพใหม่นี้สามารถปรับท่าลงและลดความเร็วของจรวดเชื้อเพลิงขณะร่วงลงสู่พื้นได้ ทำให้พวกมันลงจอดในพื้นที่ที่กำหนดไว้ได้ในที่สุด

 

 

เถิงไห่ซาน ผู้นำด้านเทคนิคของโครงการร่มชูชีพดังกล่าว เผยว่าระบบการเก็บกู้นี้มีประสิทธิภาพและมีต้นทุนต่ำ ซึ่งจะทำให้การเก็บกู้ซากยานอวกาศมีความแม่นยำและอยู่ภายใต้การควบคุมมากขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง