รีเซต

ครั้งแรก! นักวิจัยจีนปลูกถ่าย 'ตับหมูดัดแปลงพันธุกรรม' สู่ร่างกายมนุษย์

ครั้งแรก! นักวิจัยจีนปลูกถ่าย 'ตับหมูดัดแปลงพันธุกรรม' สู่ร่างกายมนุษย์
Xinhua
22 มีนาคม 2567 ( 22:41 )
13
ครั้งแรก! นักวิจัยจีนปลูกถ่าย 'ตับหมูดัดแปลงพันธุกรรม' สู่ร่างกายมนุษย์

(ภาพจากโรงพยาบาลเวสต์ไชน่าของมหาวิทยาลัยซื่อชวน : ทีมแพทย์ผ่าตัดปลูกถ่ายกล่องเสียงที่โรงพยาบาลฯ ในเมืองเฉิงตู มณฑลซื่อชวนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน วันที่ 29 เม.ย. 2023)

ซีอัน, 22 มี.ค. (ซินหัว) -- นักวิจัยของจีนประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายตับหมูดัดแปลงพันธุกรรมในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองตาย ซึ่งตับดังกล่าวสามารถทำงานได้ดีในร่างกายมนุษย์เป็นระยะเวลา 10 วัน ก่อนที่การศึกษาดังกล่าวจะสิ้นสุดลงเมื่อวันพุธ (20 มี.ค.) ตามความต้องการของครอบครัวผู้ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะการปลูกถ่ายครั้งนี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญในการปลูกถ่ายอวัยวะของสัตว์สู่ร่างกายมนุษย์ โดยดำเนินการโดยโต้วเคอเฟิง นักวิชาการจากสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน และทีมงานที่นำโดยเถาไคซาน แพทย์จากโรงพยาบาลซีจิงในเครือมหาวิทยาลัยการแพทย์กองทัพอากาศ ในนครซีอัน มณฑลส่านซีทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนผู้รับการปลูกถ่ายอวัยวะดังกล่าวเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรง และผ่านการรับรองว่ามีภาวะสมองตายในการประเมินสามครั้ง โดยครอบครัวของผู้ป่วยยินดีที่จะมีส่วนร่วมในการวิจัยข้างต้นเพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าทางการแพทย์ทั้งนี้ แผนการผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายตับหมูดัดแปลงพันธุกรรมได้รับการพิจารณาและอนุมัติโดยคณะกรรมการด้านวิชาการและจริยธรรมต่างๆ และดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของจีนอย่างเคร่งครัดโต้วระบุว่าการปลูกถ่ายอวัยวะครั้งนี้ถือเป็นการปลูกถ่ายตับหมูดัดแปลงพันธุกรรมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ครั้งแรกในวงการการแพทย์ และการวิจัยข้างต้นถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในสาขาการปลูกถ่ายข้ามสายพันธุ์ (xenotransplantation) อีกทั้งส่งมอบพื้นฐานทางทฤษฎีและประสบการณ์เชิงปฏิบัติสำหรับการทำงานทางคลินิคในอนาคตเดวิด คูเปอร์ นักภูมิคุ้มกันวิทยาด้านการปลูกถ่ายข้ามสายพันธุ์จากโรงพยาบาลแมสซาชูเซตส์ เจเนอรัล ในนครบอสตัน แสดงความยินดีกับทีมงานของโต้วสำหรับความสำเร็จครั้งสำคัญนี้ โดยระบุว่าการศึกษานี้ของจีนจะนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญว่าการปลูกถ่ายตับหมูจะสามารถช่วยให้ผู้คนมีชีวิตรอดได้หรือไม่ แม้เป็นเวลาเพียงไม่กี่วันก็ตามโต้วระบุว่าการวิจัยและการประยุกต์ใช้เทคนิคการปลูกถ่ายตับข้ามสายพันธุ์มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคตับจำนวนมาก ทว่ายังคงมีปัญหาขาดแคลนอวัยวะในการปลูกถ่ายอย่างรุนแรงโต้วทิ้งท้ายว่าสำหรับในอนาคต การปลูกถ่ายตับข้ามสายพันธุ์อาจเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น และกลายเป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่จะแก้ปัญหาขาดแคลนอวัยวะสำหรับการปลูกถ่าย ท่ามกลางเทคโนโลยีที่รุดหน้าไปอย่างต่อเนื่อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง