จีนใช้ 'แบบจำลองปัญญาประดิษฐ์' ประเมินนโยบายสาธารณะคุมโควิด-19
กว่างโจว, 22 ธ.ค. (ซินหัว) -- คณะนักวิจัยชาวจีนพบว่าการบังคับใช้นโยบายแทรกแซงที่มีความเข้มงวดตั้งแต่แรกเริ่ม สามารถยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ทีมนักวิจัยนำโดยจงหนานซาน นักระบาดวิทยาชาวจีน และจาร์วิส แลป (Jarvis Lab) สถานปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ทางการแพทย์ของเทนเซ็นต์ (Tencent) ยักษ์ใหญ่วงการเทคโนโลยีจีน ใช้ข้อมูลเชิงนโยบายจาก 145 ประเทศในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 สร้างแบบจำลองเพื่อประเมินสิ่งที่อาจเกิดขึ้นหากไม่มีการดำเนินนโยบายแทรกแซงเหล่านั้นผลลัพธ์พบว่าการบังคับใช้นโยบายแทรกแซงทั้งหมดลดค่าอาร์ที (Rt) หรือค่าเฉลี่ยการแพร่เชื้อของผู้ป่วยหนึ่งราย ณ จุดเวลาหนึ่ง อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่ลดลงใน 7-14 วัน และลดลงราวร้อยละ 30 ใน 25-32 วัน โดยนโยบายแทรกแซงอย่างปิดโรงเรียน ปิดสถานที่ทำงาน และยกเลิกกิจกรรมสาธารณะ แสดงประสิทธิภาพแข็งแกร่งที่สุดทีมนักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่านโยบายแทรกแซงที่ยาวนานและเข้มงวดยิ่งขึ้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นในระยะแรกเริ่มของการระบาด แต่จะพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นหากบังคับใช้นโยบายแทรกแซงในระยะกลางและปลายของการระบาดซุนจี้เชา จากจาร์วิส แลป และผู้เขียนลำดับแรกของงานวิจัยนี้ กล่าวว่าความผิดพลาดไม่ได้อยู่ที่การควบคุมโรคระบาด แต่เป็นเพราะไม่มีการกำหนดมาตรการอันเข้มงวดจนกระทั่งการระบาดเข้าสู่ระยะเติบโตอย่างรวดเร็วแล้ว โดยนโยบายแทรกแซงแทบไม่มีส่วนช่วยเหลือหากการระบาดของโรคโควิด-19 อยู่ในระยะกลางและปลายแล้วทั้งนี้ การศึกษาดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแวยู อิน เฮลธ์ (Value in Health)