“พชร” ผนึกไต้หวัน ลุยปราบแก๊งค์ “คอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติ”
“พชร นริพทะพันธุ์” ที่ปรึกษาประธานกสทช. เดินหน้ากลยุทธ์การทูตไซเบอร์ รุกเจรจากสทช.ไต้หวัน อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อยกระดับความร่วมมือปราบแก็งค์คอลเซ็นเตอร์เด็ดขาด รวมถึงหารือทีมไทยแลนด์ เร่งส่งเสริมการค้าและการลงทุนธุรกิจโทรคมนาคม และ Data Center แสนล้านตามนโยบายรัฐบาล
นายพชร นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษาประจำประธานกสทช. และโฆษกประจำประธานกสทช. ได้เข้าพบคารวะนายเฉิน ชุง ฉู กรรมการคณะกรรมการสื่อสารแห่งชาติของไต้หวันอย่างไม่เป็นทางการ ในระหว่างการเดินทางในภูมิภาคเอเชีย เพื่อส่งเสริมแนวทางการทูตไซเบอร์ ซึ่ง นายพชร ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานวิชาการด้านภูมิรัฐศาสตร์สำนักงาน กสทช. เพื่อป้องกันปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์และขบวนการคอลเซ็นเตอร์ข้ามชาติ
.
นายพชร กล่าวว่า การเข้าพบกับนาย เฉิน ชุง ฉู ครั้งนี้ ได้แสดงความมุ่งมั่นสร้างความร่วมมือในการทำงาน ของหน่วยงานกำกับดูแลสื่อสารและโทรคมนาคม และหารือเกี่ยวกับการประชุม GSMA M360 ที่สาธารณรัฐเกาหลี ทั้งนี้ เพื่อยกระดับการทำงานระดับนานาชาติ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยได้ร่วมมือกับ สิงคโปร์ มาเลเซีย และกัมพูชาขณะที่ไต้หวันถือว่ามีประสบการณ์สูงและบทบาทสำคัญ เคยเตือนถึงปัญหาการก่ออาชญากรรมผ่านการใช้ซิมการ์ดจากฮ่องกง ซึ่งกองกำลังสืบสวนสอบสวนกลาง ก็ได้ทำการจับกุมผู้กระทำผิดไป เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2567
.
“การเข้าพบกสทช.ไต้หวันครั้งนี้ หารือถึงมาตรการต่างๆ ที่ดำเนินการปราบแก็งค์อาชญากรรมข้ามชาติ ทั้งการแนะนำให้ผู้ประกอบการตัดเครื่อง SIMBOX ที่ไม่ได้จดทะเบียนออกจากระบบ การตัดสัญญาณที่ให้บริการนอกราชอาณาจักร และการออกระเบียบและการเข้มงวดตรวจตรา การลงทะเบียนระบุตัวตนในซิมการ์ดเพื่อตัดวงจรซิมม้า และหารือการพัฒนา AI ขึ้น เพื่อช่วยแยกการใช้งานของผู้บริโภคและคนร้ายอย่าง เช่น แอพลิเคชัน Whosecall ที่ได้รับการพัฒนาในไต้หวันเป็นแห่งแรก”
.
นายพชร ยังกล่าวอีกว่า ได้มีโอกาสหารือถึงอุปสรรคของผู้ประกอบการโทรคมนาคมในการใช้คลื่นความถี่และ เทคโนโลยี 5G ให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของผู้ประกอบการ เพราะแนวโน้มการใช้การส่งสัญญาณด้วยความเร็วสูงนั้นน้อยกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะแอพพลิเคชันใหม่ๆมีประสิทธิภาพขึ้น สวนทางกับความจำเป็นต้องใช้ความเร็วของโครงข่าย และได้หารือถึงการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้บริการประชาชน เช่น การทำให้เกิด เมืองอัจฉริยะ หรือ IOT/Smart city และ บริการการแพทย์ทางไกล หรือ Telemedicine ที่จะเป็นตัวเร่งความต้องการความเร็วจากโครงข่าย 5G
.
อีกทั้งยังหารือถึงแนวทางการส่งเสริมพัฒนาผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่ายเสมือน หรือ MVNOs และ เมื่อร่วมกับการใช้ Killer APP ของ Big Tech แล้ว ความคุ้มทุนจะทำให้อัตราการใช้บริการลดลง และเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค และช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย
.
ในโอกาสนี้ นายพชร ยังได้มีโอกาสเข้าพบ คุณกัลยา ลีวงศ์เจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) เพื่อหารือถึงความสนใจของนักลงทุนไต้หวันในธุรกิจดิจิทัลและ โทรคมนาคมในประเทศไทย รวมถึงการชักชวนบริษัทชั้นนำด้านอุปกรณ์เทคโนโลยี การสื่อสารในไต้หวัน เพื่อผลักดันการส่งเสริมการค้าและลงทุนในประเทศไทยอีกด้วย
.
“บริษัทใหญ่ในไต้หวันให้ความสำคัญกับประเทศไทย เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์ด้านการลงทุน เราพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และมีโครงสร้างพื้นฐาน อาทิไฟฟ้า น้ำ ระบบโลจิสติกส์ และสื่อสารโทรคมนาคม รวมถึงมีตลาดที่พร้อมรองรับการผลิตและอุตสาหกรรมดิจิทัลขั้นสูง ตามนโยบายของรัฐบาลและทีมประเทศไทย ที่จะต้องช่วยกันทำให้เกิดเป็นรูปธรรมให้ได้โดยเร็วที่สุด ซึ่งขณะนี้ได้เห็นสัญญาณดีจากการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตแผงวงจรและเดต้าเซ็นเตอร์ (Data Center) ที่มีมูลค่ากว่าแสนล้านบาท” นายพชร ระบุ
ที่มาข่าว:tnn