รีเซต

นักวิทย์จีนเตือนพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ NeoCov อันตรายกว่าโควิด-19

นักวิทย์จีนเตือนพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ NeoCov อันตรายกว่าโควิด-19
TNN ช่อง16
28 มกราคม 2565 ( 18:56 )
140
นักวิทย์จีนเตือนพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ NeoCov อันตรายกว่าโควิด-19

วันนี้ ( 28 ม.ค. 65 )สำนักข่าว Sputnik ของรัสเซีย รายงานว่า บรรดานักวิทยาศาสตร์จากเมืองอู่ฮั่นในจีน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของไวรัสโควิด-19 เมื่อปี 2019 ได้ส่งเสียงเตือนโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ คือ NeoCov ในแอฟริกาใต้ ซึ่งมีอัตราการแพร่เชื้อ และตายสูง แต่ไวรัส NeoCov ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเกี่ยวข้องกับไวรัส MERS-CoV ที่เคยระบาดในหลายประเทศแถบตะวันออกกลาง เมื่อปี 2012 และปี 2015 รวมถึงมีความคล้ายคลึงกับ SARA-CoV-2 ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโคโรนาไวรัสในมนุษย์

ขณะที่ NeoCov พบในประชากรค้างคาวในแอฟริกาใต้ และแพร่เชื้อในหมู่สัตว์ด้วยกัน แต่ผลการศึกษาที่โพสต์ลงเว็บไซต์ bioRxiv ระบุว่า NeoCov สามารถแพร่เชื้อในคน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น และสถาบันชีวฟิสิกส์สถาบันวิทยาศาสตร์จีน รายงานว่า ไวรัสกลายพันธุ์ สามารถแทรกซึมเข้าไปในเซลล์มนุษย์ และยังพบว่า โคโรนาไวรัสตัวนี้ มีความเสี่ยง เพราะสามารถเกาะ ACE2 Receptpr ซึ่งอยู่บนผิวเซลล์ในร่างกายมนุษย์ 

นักวิจัยจีน บอกด้วยว่า NeoCov สามารถทำให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตสูง อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยเวคเตอร์ ในรัสเซีย ตระหนักถึงข้อมูลเกี่ยวกับ NeoCov โคโรนาไวรัส เพียงแต่ตอนนี้ ยังไม่พบว่า โควิดสายพันธุ์ใหม่ สามารถแพร่เชื้อระหว่างคน แต่ยังคงมีความจำเป็นต้องศึกษาและสอบสวนเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของ WHO  ระบุถึง NeoCov coronavirus ที่เพิ่งค้นพบในค้างคาวในแอฟริกาใต้นั้นเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์หรือไม่  จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

องค์การอนามัยโลกกล่าวเสริมว่า ยังต้อง"ทำงานอย่างใกล้ชิด" กับองค์การอนามัยโลก,องค์การอาหารและการเกษตร (FAO) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เพื่อ "ติดตามและตอบสนองต่อภัยคุกคามจากสัตว์สู่คน ”ไวรัส”

ขณะที่ด้าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ไบโอเทค สวทช. โพสต์ข้อความโดยระบุถึง NeoCoV (นีโอโคฟ)ไวรัสโคโรนาตัวใหม่ในค้างคาวที่ต้องเฝ้าระวัง นั้น เป็นไวรัสที่มีความใกล้เคียงกับไวรัส MERS ซึ่งเป็นไวรัสที่ก่อโรคที่รุนแรงมากในมนุษย์ แต่ด้วยความสามารถในการแพร่กระจายที่ไม่ดี ทำให้การระบาดของ MERS-CoV จึงอยู่ในวงจำกัด

 ประเด็นที่เป็นข้อเท็จจริงคือ ไวรัสชนิดนี้สามารถกลายพันธุ์เพิ่มจนจับกับ ACE2 ของมนุษย์ได้ แต่ประเด็นที่ไม่ได้มีการแสดงในการศึกษานี้คือ ติดแล้วจะแพร่กระจายไวเหมือน SARS-CoV-2 หรือไม่ เพราะการจับกับ ACE2 ได้อย่างเดียวอาจไม่ใช่สิ่งรับประกันถึงความสามารถในการแพร่กระจายของไวรัส และ ประเด็นสำคัญอีกข้อคือ การที่ไวรัสชนิดนี้ใกล้เคียงกับ MERS-CoV อาจจะไม่ได้หมายถึงความสามารถในการก่อโรคได้รุนแรงเท่า MERS-CoV เสมอไป ดังนั้นการสรุปไปว่า จะเป็นไวรัสที่ระบาดในมนุษย์ที่รุนแรงและทำให้คนเสียชีวิตถึง 30% ยังเป็นการสรุปที่ไม่อยู่บนข้อเท็จจริงครับ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ไวรัสตัวนี้จำเป็นต้องถูกเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด



ภาพจาก :   AFP

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง