รีเซต

ห่วงทะเลไทย อุณหภูมิสูง นักอนุรักษ์ เตือนลดปล่อยคาร์บอน หวั่นกลายเป็น ‘ออนเซ็น’

ห่วงทะเลไทย อุณหภูมิสูง นักอนุรักษ์ เตือนลดปล่อยคาร์บอน หวั่นกลายเป็น ‘ออนเซ็น’
ข่าวสด
12 พฤศจิกายน 2564 ( 09:22 )
79
ห่วงทะเลไทย อุณหภูมิสูง นักอนุรักษ์ เตือนลดปล่อยคาร์บอน หวั่นกลายเป็น ‘ออนเซ็น’

ห่วงทะเล อุณหภูมิสูง 2 นักอนุรักษ์เตือนลดปล่อยคาร์บอน หวั่น ‘ทะเลไทย’ อาจกลายเป็น ‘ออนเซ็น’ ที่มีอุณหภูมิสูง 38 องศาเซลเซียส

 

ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย ช่างภาพสารคดีด้านสิ่งแวดล้อมคือผู้สังเกตการณ์ ‘ท้องทะเลไทย’ มานานกว่าทศวรรษ เล่าว่า ยิ่งได้ดำน้ำชมความตระการตาของโลกใต้น้ำมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งหลงรักทะเลไทยมากขึ้น แต่ทะเลที่เคยชื่นชมความงามในวัยเด็ก กลับแตกต่างจากทะเลในวันนี้อย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเมื่อย้อนกลับไปเมื่อปี 2010 เหตุการณ์ที่รบกวนจิตใจคนรักทะเลคงหนีไม่พ้นปัญหาปะการังฟอกขาว

 

“มันเป็นเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ ส่งผลกระทบต่อทะเลแถบเอเชียแปซิฟิกหนักมาก เนื่องจากปะการังเป็นสัตว์ที่ต้องพึ่งพาอาศัยสาหร่ายชนิดหนึ่ง พออุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น ปะการังจะขับสาหร่ายออกจากโครงสร้างของมัน ทำให้ปะการังกลายเป็นสีขาว และหากอุณหภูมิไม่กลับมาเป็นปกติ สาหร่ายก็ไม่สามารถกลับมาอยู่กับปะการังได้ ปะการังจะตายลง”

 

ปัญหา ‘ปะการังฟอกขาว’ เป็นผลจากสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) และต้นตอของปัญหาก็คือ การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศของโลกในปริมาณมหาศาล ซึ่งเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ และด้วยคุณสมบัติของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดูดซับความร้อนได้เยอะมาก จึงทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

“ในอนาคตอันใกล้ อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นมากกว่านี้อีก และส่งผลกระทบต่อโลกใต้น้ำด้วย โดยเฉพาะภาวะน้ำทะเลกลายเป็นกรด เมื่อน้ำทะเลเป็นกรดก็จะกัดกร่อนปะการัง และทำให้สัตว์เปลือกแข็งต่างๆ ไม่สามารถสร้างกระดองของพวกมันได้ อัตราการตายของสัตว์ทะเลจะเพิ่มขึ้น” ศิรชัย ย้ำให้เห็นถึงความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับโลกใต้ทะเล

 

ศิรชัย สะท้อนความคิดเห็นว่า “หากเราช่วยกันลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ จากกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ ก็จะช่วยชะลอไม่ให้อุณหภูมิของโลกเราสูงไปกว่านี้ วิธีง่ายที่สุดคือ ช่วยกันลด ละ เลี่ยง กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ออกสู่ชั้นบรรยากาศ

 

ซึ่งสมัยนี้มักจะมีผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมา เพื่อช่วยลดความร้อนและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ หนึ่งในนั้นคือ อิงค์เจ็ทพรินเตอร์รุ่นใหม่ของเอปสัน ที่ไม่ใช้ความร้อนในกระบวนการพิมพ์ (Heat-Free Technology) และปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ น้อยกว่าเลเซอร์พรินเตอร์ถึง 85%”

 

เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาที่จะรอช้าได้อีกแล้ว ยืนยันอีกเสียงจาก ผศ.ดร. ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลชั้นแนวหน้าของไทย ให้ข้อมูลว่านักวิทยาศาสตร์มีข้อบ่งชี้หลายอย่างที่ระบุว่า อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นจะส่งผลให้ทะเลทั้งโลกทรุดโทรมลง

 

“ณ วันนี้โลกของเราปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ในปริมาณมากถึง 40 กิกะตัน หรือ 40,000 ล้านตันต่อปี ส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น 1.1 - 1.2 องศาเซียลเซียส เมื่อเทียบกับเมื่อร้อยกว่าปีก่อน และกำลังจะสูงขึ้นอีก 1.5 องศาเซียลเซียส อย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลให้มนุษย์ทั่วโลกจะเจอภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วมฉับพลัน ภัยแล้ง คลื่นความร้อนสูงฉับพลัน จนเกิดการสูญเสียชีวิตของคนมากมาย รวมไปถึงปัญหา Marine Heatwave หรือ คลื่นความร้อนในทะเล ทำให้ทะเลเกิดความแปรปรวนขั้นสูงและสร้างความเสียหายมหาศาล”

 

หากมองภาพความเสียหายในทะเลไทย พบว่าปีนี้ทะเลไทยฝั่งอ่าวไทยเกิดปะการังฟอกขาว ในพื้นที่ชายฝั่งภาคตะวันออก (จังหวัดระยอง) ตรงนั้นมีปะการังนับแสนๆ ก้อน ตายหมดภายในเวลา 2-3 อาทิตย์ อีกทั้งพบว่า อุณหภูมิน้ำทะเลในจุดนั้นสูงผิดปกติ คืออยู่ที่ 38 องศาเซียลเซียส

 

“ต้องยอมรับกันอย่างจริงจังแล้วว่า Climate Change ส่งผลกระทบต่อทะเลและวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก แม้เป็นคนเมืองที่ไม่ได้อยู่ติดทะเล ก็ย่อมได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน แต่วันนี้เรายังช่วยชะลอไม่ให้โลกมีอุณหภูมิสูงไปกว่านี้ได้ ด้วยการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ทั้งในระดับปัจเจก ครัวเรือน ไปจนถึงระดับอุตสาหกรรม”

 

ด้าน ดร.ธรณ์ ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า หากย้อนกลับไปเมื่อ 40 ปีที่แล้ว การที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เป็นแนวอนุรักษ์ มันอาจจะลำบากและขัดต่อวิถีชีวิตอย่างมาก แต่สมัยนี้ไม่ใช่ เพราะมีการพัฒนาสิ่งต่างๆ ที่เอื้อให้คนรักษ์โลกได้ง่ายขึ้น

 

“ล่าสุดทราบมาว่า เอปสัน ผู้ผลิตพรินเตอร์ยักษ์ใหญ่ของโลก ได้พัฒนาพรินเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีหัวพิมพ์ที่เรียกว่า Heat-Free Technology พิมพ์ได้โดยไม่ต้องใช้ความร้อน และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ได้จำนวนมาก ตามนโยบายของสำนักงานใหญ่ที่ญี่ปุ่น เอปสันต้องการเป็นแบรนด์ที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ให้เป็นศูนย์ ภายในปี 2050

 

ซึ่งแน่นอนว่าจะมีส่วนช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง นี่คือการแสดงถึงความใส่ใจสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ต้นทางการผลิตในโรงงาน ที่จะรวมถึงทุกๆ ขั้นตอนการผลิตที่ต้องการลดการปล่อยคาร์บอนฯ”

 

“ผมสนับสนุนเสมอนะ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจใดที่พยายามลงทุนในเรื่องของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม บอกได้เลยว่าเอปสันมีความใส่ใจในการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมทำให้โลกนี้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ได้พูดคุยกับเอปสัน แล้วผมมีความสุข” ดร.ธรณ์ ทิ้งท้าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง