รีเซต

SCBx คืออะไร? ทำไมต้อง SCB ต้องมีการเปลี่ยนแปลง?

SCBx คืออะไร? ทำไมต้อง SCB ต้องมีการเปลี่ยนแปลง?
TrueID
23 กันยายน 2564 ( 14:45 )
3.1K
SCBx คืออะไร? ทำไมต้อง SCB ต้องมีการเปลี่ยนแปลง?

โลกในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆเป็นเรื่องที่ปกติ สมาร์ทโฟนก็เปรียบเหมือนปัจจัยที่ 5 ที่ทุกคนต้องการมี การเข้าถึงสิ่งต่างๆเลยเป็นเรื่องที่ง่าย และรวดเร็ว จากเครือข่าย 5G ที่มีประสิทธิภาพ หลายๆธนาคารเองก็มีการปรับตัวให้เข้ากับยุค Disruption ไม่เว้นแม้แต่ SCB ก็ได้ปรับองค์กรให้เข้ากับยุคดังกล่าว วันนี้ trueID จะพาไปทำความรู้จักกับ SCBx ว่าคืออะไร

 

 

เหตุผลที่ SCB ต้องเป็น SCBx

 

ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB ประกาศวิสัยทัศน์องค์กรใหม่ พร้อมทั้งจัดตั้งบริษัทแม่ภายใต้ชื่อ SCBX หรือ เอสซีบี เอกซ์ เมื่อวันที่ 22 ก.ย. 64 ที่ผ่านมา เพื่อเร่งขยายธุรกิจเชิงรุกเข้าสู่ธุรกิจการเงิน และแพลตฟอร์มอย่างเต็มรูปแบบ

 

โดยมีการยกระดับสู่กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีการเงินระดับภูมิภาคภายในปี 2025 โดยมีเป้าหมายสร้างฐานลูกค้า 200 ล้านคน เชื่อมต่อ ecosystem ทั้งในและต่างประเทศ โดย SCBX จะยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลที่ใกล้ชิดของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.  

 

 SCB จะต้องแปลงสภาพตัวเองอย่างไรจึงจะสามารถสร้างคุณค่าใหม่ให้กับผู้ถือหุ้นและผู้บริโภค รวมถึงสามารถเติบโตไปกับโลกใหม่ได้ SCB โดยไม่จำกัดตัวเองอยู่ที่ธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิมอีกต่อไป

 

เร่งขยายธุรกิจเชิงรุกเข้าสู่ธุรกิจการเงินประเภทอื่นที่ตลาดต้องการ และสร้างขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยี รวมถึงการบริหารจัดการแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยี หรือ Technology Platform ขนาดใหญ่ให้ทัดเทียมกับคู่แข่งระดับโลก เข้าสู่สนามการแข่งขันแบบใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยเร็วเพื่อที่จะอยู่รอดปลอดภัยในอีก 3-5 ปีข้างหน้านี้

 

ทั้งหมดนี้ คือ เหตุผลที่ SCB ต้องเป็น SCBX เพื่อเดินหน้าธุรกิจให้มากกว่าเป็นการธนาคาร และป้องกันการ disrupt ในอนาคตนั่นเอง

 

คำว่า SCBX จึงมี X ที่มาจาก Exponential ที่เป็นการยกกำลังเพื่อสร้างการเติบโต ด้วยกลุ่มบริษัทธุรกิจในเครือทั้งหมด เช่น AISCB ที่ทำธุรกิจด้าน Digital Lending และ Financial Product อื่นๆ, Alpha X จากการร่วมกับกลุ่ม Millennium Group Corporation หรือ Auto X ที่เน้นด้าน Loan Business เป็นต้น และทั้งหมดไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบของธนาคารอีกต่อไป

 

 

เสนอให้ผู้ถือหุ้น SCB เดิมโอนย้ายมาถือหุ้น SCBX  

 

สำหรับกระบวนการเปลี่ยนแปลงจะเริ่มจาก การเสนอให้ผู้ถือหุ้นเดิมโอนย้ายมาถือหุ้น SCBX จากนั้นจะถอน SCB ออกจากตลาดหลักทรัพย์ โดยจะนำ SCBX จดทะเบียนซื้อขายในตลาดแทน นอกจากนี้ยังเสนอเงินปันผลพิเศษประมาณ 70,000 ล้าน

 

SCBX จะถือหุ้นในบริษัทลูกอีกหลายแห่งเพื่อเป็นฮับเทคโนโลยีการเงินในภูมิภาค

 

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจจากแผนดังกล่าว คือ การตั้งบริษัทใหม่ การร่วมทุนกับในหลายๆ บริษัทที่น่าสนใจเพื่อปูทาง Financial Technology โดยเริ่มจาก 

 

  1. AISCB หรือ เอไอเอสซีบี  ซึ่งเป็นร่วมทุนระหว่าง AIS กับธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อให้บริการด้านการเงินดิจิทัล เช่น บริการด้านสินเชื่อ ก่อนขยายสู่บริการทางการเงินอื่นๆ ต่อไป โดยมี "กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร" รับตำแหน่ง Chief Executive Officer หลังเคยเป็น Head of Venture Builder บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด หรือ SCB 10X 
  2. Alpha X หรือ บริษัท อัลฟา เอกซ์ จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท มิลเลนเนียม กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น (เอเชีย) จำกัด หรือ MGC Group โดย Alpha X จะให้บริการเช่าซื้อ ลีสซิ่ง และให้สินเชื่อรีไฟแนนซ์ สำหรับรถยนต์หรู รถจักรยานยนต์ หรือ Big Bike และยานพาหนะทางน้ำ เช่น Yacht และ River Boat
  3. CPG-SCB Group JV ซึ่งไทยพาณิชย์ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ตั้งกองทุน Venture Capital ขนาด 600-800 ล้านเหรียญสหรัฐ เน้นการลงทุนใน Disruptive Technology ด้านบล็อกเชน หรือ Blockchain สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Digital Assets เทคโนโลยีด้านการเงิน หรือ FinTech  รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงทั่วโลก
  4. Auto X ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์จับกลุ่ม Mass 
  5. Tech X ธุรกิจเทคโนโลยี 
  6. Purple Ventures ผู้ให้บริการแอปฯ Robinhood
  7. Card X ธุรกิจบัตรเครดิต 
  8. SCB ABACUS 
  9. SCB Securities
  10. TokenX ให้บริการโทเคนดิจิทัลแบบครบวงจร
  11. monix 
  12. Data X ธุรกิจข้อมูลดิจิทัล

 

ทั้งนี้ ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจภายใต้ปีก SCBX อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งคงต้องรอข้อมูลที่เป็นทางการอีกครั้ง หลังการประชุมผู้ถือหุ้นที่จะมีขึ้นในเดือน พ.ย. 64 นี้

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง