รีเซต

ไฟไหม้สำเพ็ง! ไฟไหม้ล่าสุด คุมเพลิงไหม้ได้แล้ว

ไฟไหม้สำเพ็ง! ไฟไหม้ล่าสุด คุมเพลิงไหม้ได้แล้ว
TeaC
26 มิถุนายน 2565 ( 21:23 )
1.5K
ไฟไหม้สำเพ็ง! ไฟไหม้ล่าสุด คุมเพลิงไหม้ได้แล้ว

ข่าววันนี้ ไฟไหม้ล่าสุด เมื่อเวลา 11.25 น. สังคมโซเชียลและสำนักข่าวหลายแห่ง ทวิตรายงานเกิดเหตุเพลิงไหม้ บ้านเรือนประชาชน ถนนราชวงศ์ ใกล้เคียงท่าน้ำราชวงศ์ โดยเปลวเพลิงได้โหมลุกไหม้อย่างรุนแรง 

 

ไฟไหม้สำเพ็ง! 

 

ต่อมา เวลา 11.38 น. ศูนย์วิทยุพระราม199 รายงาน ขณะนี้ สามารถควบคุมเพลิงได้ สำหรับความเสียหายอยู่ระหว่างเข้าตรวจสอ

 

ไฟไหม้สำเพ็ง สงบแล้วเมื่อเวลา 13.23 น. เบื้องต้นเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ปลูกติดกัน 12 คูหา เสียหาย 5 คูหา เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 6 ราย  

 

ความคืบหน้าล่าสุดจาก TNN ONLINE รายงานว่า จากเหตุการณ์นี้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย เป็นแรงงานข้ามชาติ 1 ราย คนไทย 1 ราย ผู้บาดเจ็บ 11 ราย เป็นทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชน นำส่งรักษาตัวที่โรงพยาบาลหัวเฉียว 7 ราย และโรงพยาบาลกลาง 4 ราย มีรถประชาชนที่จอดได้รับความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ จำนวน 3 คัน อาจมีการไปแจ้ง ซึ่งต้องดูเรื่องของกฎหมายว่าใครต้องเป็นผู้รับผิดชอบ  ในส่วนของอาคาร ในวันพรุ่งนี้ฝ่ายโยธาเขตฯเข้าตรวจสอบอาคาร และสำรวจเรื่องความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร เนื่องจากมีอาคารยุบตัวด้วย คลิกอ่าน

 

ขอให้ทุกคนปลอดภัย!

 

 

 

 

ประวัติ สำเพ็ง

 

สำเพ็งเริ่มต้นจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช องค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงสถาปนาสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นที่ฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยา ให้เป็นราชธานีแห่งใหม่แทนที่กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ 2325 โดยมีพระบรมมหาราชวังตั้งขึ้นในพื้นที่ ๆ แต่เดิมเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวจีน และโปรดให้ย้ายชุมชนชาวจีนออกไปตั้งถิ่นฐานใหม่นอกประตูพระนครทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขนานไปกับลำน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้ม (วัดจักรวรรดิราชาวาส) ไปจนถึงคลองสามเพ็ง หรือสำเพ็ง

 

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กิจการค้าของชาวจีนที่ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในย่านสำเพ็งเติบโตขึ้นเป็นลำดับ ชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อการค้ากับสยามประเทศ เรียกขานย่านสำเพ็งว่า "ตลาดจีน" หรือ "Chinese Bazaar" ในบันทึกของมิชชันนารีที่ได้เข้ามาเยี่ยมดูย่านสำเพ็งในปี พ.ศ. 2378 ระบุความไว้ตอนหนึ่งว่า "ตลาดทั้งหมดดูแล้วน่าจะเรียกว่า "เมืองการค้า" (trading town) มากกว่า ที่นี่มีร้านค้ามากมายหลากหลาย ตั้งอยู่บนสองฝั่งฟากถนนยาวราว 2 ไมล์ แต่ด้วยเหตุที่ร้านค้าต่าง ๆ ตั้งอยู่ปะปนกัน เดินเพียงไม่กี่หลาก็สามารถหาซื้อสินค้าประเภทต่าง ๆ ได้ครบตามที่ต้องการ"

 

และในสมัยนั้น สำเพ็งเต็มไปด้วยร้านค้าตลอดจนซ่องโสเภณีและโรงฝิ่นที่ปลูกติดกันจนแน่นขนัด หลังคาของแต่ละหลังเกยซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดเพลิงไหม้บ่อย ๆ จนมีคำเปรียบเปรยว่าที่นี่ "ไก่บินไม่ตกพื้น" สุนทรภู่รจนาว่า "ถึงสำเพ็งเก๋งตั้งริมฝั่งน้ำ แพประจำยอดเรียงเคียงขนาน มีซุ้มซอกตรอกนางจ้างประจาน ยังสำราญร้องขับไม่หลับลง" (นิราศเมืองแกลง) คำว่า "อีสำเพ็ง" กลายเป็นคำด่าผู้หญิงที่หมายถึง โสเภณี

 

ปัจจุบัน สำเพ็ง

ปัจจุบัน สำเพ็งเป็นย่านการค้าที่คึกคักมากที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร โดยเปิดขายตั้งแต่เวลา 08:00 ถึง 17:00 น. ในเวลากลางวัน และยังในเวลากลางคืนตั้งแต่เวลา 23:00 น. จนล่วงเข้าสู่วันใหม่ในเวลา 01:00 หรือจนถึง 06:00 น. ในยามเช้า โดยสินค้าที่นิยมขาย ได้แก่ กิฟต์ช้อป, เครื่องประดับตกแต่งเสื้อผ้า, เสื้อผ้าแฟชั่น, หมวก, นาฬิกา, ตุ๊กตาหรือของเล่นเด็ก รวมถึงอาหารด้วย เป็นต้น โดยมีทั้งขายปลีกและขายส่ง

 

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

ภาพ : FM91 Trafficpro

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง