รีเซต

สัญญาณบอกเหตุ "แผ่นดินไหว" สัตว์รับรู้ได้ล่วงหน้า จะแสดงพฤติกรรมอย่างไร?

สัญญาณบอกเหตุ "แผ่นดินไหว" สัตว์รับรู้ได้ล่วงหน้า จะแสดงพฤติกรรมอย่างไร?
TNN ช่อง16
19 มิถุนายน 2566 ( 12:27 )
93
สัญญาณบอกเหตุ "แผ่นดินไหว" สัตว์รับรู้ได้ล่วงหน้า จะแสดงพฤติกรรมอย่างไร?

กรมทรัพยากรธรณี เปิดข้อมูล สัญญาณบอกเหตุ "แผ่นดินไหว" สัตว์รับรู้ได้ล่วงหน้า จะแสดงพฤติกรรมอย่างไร?


แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของพื้นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลกออกมาเพื่อ ปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถทานายเวลาสถานที่ และความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนั้นจึงควรศึกษา เรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการเกิดของแผ่นดินไหวที่แท้จริง เพื่อเป็นแนวทางในการ ลดความเสียหายที่เกิดขึ้น


ปรากฏการณ์ล่วงหน้า (Precursory phenomena) อาจเป็นสิ่งเตือนภัย หรือลางบอกเหตุสัญญาณให้รู้ว่า อีกไม่นานจะมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น ในอเมริกา รัสเซีย จีน ญี่ปุ่น ต่างให้ความสนใจ พยายามค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการบางอย่างกันมาก ได้แก่


-พื้นดินเกิดการยกตัวขึ้นมาอย่างผิดปกติ
-ค่าความเข้มสนามแม่เหล็กโลกเปลี่ยนแปลงไป
-สภาพการนำไฟฟ้าของหินเปลี่ยนแปลง
-เกิดแผ่นดินไหวเล็กๆ เกิดขึ้นเป็นการเตือนภัยก่อน
-มีปริมาณก๊าชเรดอนในบ่อน้ำสูงกว่าปกติ



ภาพจาก กรมทรัพยากรธรณี

 




สัญชาตญาณของสัตว์


จากการศึกษาวิจัยของผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวพบว่า หากสัตว์ป่ามีพฤติกรรมผิดไปจากปกติ มักจะเกี่ยวข้องกับการเกิดภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ทั้งนี้เพราะสัตว์มีความสามารถรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดแผ่นดินไหว เป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งในการเอาชีวิตรอด

พฤติกรรมผิดปกติของนก

นกมีความรู้สึกไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะนกพิราบป่าจะไวเป็นพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวประเทศจีนพบว่า ขณะเกิดแผ่นดินไหวแรงสั่นสะเทือน 3 ริกเตอร์ขึ้นไป ฝูงนกพิราบป่าที่อยู่ภายในรัศมี 50 กม. จากศูนย์กลางแผ่นดินไหวจะล่วงรู้ล่วงหน้า และบินหนีไปภายใน 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ กาและนกเลี้ยงบางชนิด เช่น นกแก้ว ก็มีความรู้สึกไวต่อการเกิดแผ่นดินไหวเช่นกัน


พฤติกรรมผิดปกติของปลา

ปลาน้ำเค็ม เมื่อ ค.ศ. 1995 ก่อนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่โกเบ ชาวประมงจับปลาได้ปลาได้มากกว่าปกติ และมีปลาจากทะเลลึกว่ายเข้ามาในเขตน้ำตื้นด้วย
ปลาน้ำจืด ปลาน้ำจืดในแม่น้ำหรือทะเลสาบที่มีความรู้สึกไวต่อการเกิดแผ่นดินไหวหรือปลาคาร์ป ก่อนเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง เคยมีคนเห็นปลาคาร์ปจำนวนมากกระโดดขึ้นมาบนผิวน้ำเหมือนตกใจหนีอะไรบางอย่าง

พฤติกรรมผิดปกติของสัตว์เลื้อยคลาน


ผลการวิจัยพบว่า สัตว์ที่รู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดแผ่นดินไหวก่อนใครคืองู ทั้งนี้เพราะงูจำศีลอยู่ในโพรงใต้ดิน (งูในประเทศเขตหนาว) จึงรู้สึกถึงความผิดปกติได้ง่ายเมื่อมีการสั่นสะเทือนของเปลือกโลก มีก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ฯลฯ และจะหลบภัยด้วยการเลื้อยขึ้นมาบนดินแม้จะเป็นช่วงฤดูหนาวก็ตาม

ตัวอย่างเช่นเมื่อ ค.ศ. 1855 ก่อนเกิดแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นหนึ่งวัน พบฝูงงูเลื้อยขึ้นมาบนดินหลายตัว เมื่อ ค.ศ. 1977 ตอนเกิดแผ่นดินไหวที่โรมาเนีย ก็มีฝูงงูเลื้อยขึ้นมาแข็งตายบนดิน เมื่อ ค.ศ. 1976 หนึ่งวันก่อนเกิดแผ่นดินไหวที่เมืองถังซานประเทศจีน ก็มีฝูงงูจำนวนมากเข้าไปหลบอยู่ในซอกหิน


พฤติกรรมผิดปกติของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ

กบก็แสดงพฤติกรรมผิดปกติเช่นเดียวกับงู เมื่อ ค.ศ. 1976 ไม่กี่ชั่งโมงก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่เมืองถังซานในประเทศจีน มีคนเห็นฝูงกบนับพันนับหมื่นตัวพากันอพยพ


พฤติกรรมผิดปกติของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม


สุนัข ตอนที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่โกเบ มีรายงานว่าสุนัขจะแสดงพฤติกรรมแปลกๆ มากที่สุด สุนัขเป็นสัตว์ที่ใกล้ชิดกับคน จึงสังเกตความผิดปกติจากสุนัขได้ง่าย และพบว่าก่อนเกิดแผ่นดินไหว สุนัขจะมีอาการตื่นตระหนก วิ่งไปวิ่งมา บางตัวก้าวร้าวขึ้น ส่วนบางตัวก็เห่าและหอน

แมว ก่อนเกิดแผ่นดินไหว แมวส่วนใหญ่จะหาที่หลบ ญี่ปุ่นมีคำโบราณกล่าวไว้ว่า “ก่อนแผ่นดินไหว แมวจะปีนขึ้นต้นไม้สูง” และมีคนเห็นเช่นนี้จริงๆ ก่อนเกิดแผ่นไหว แมวบางตัวแสดงอาการงุ่นง่าน วิ่งไปมา และส่งเสียงร้องอย่างกระวนกระวาย

หนู เมื่อ ค.ศ. 1923 ก่อนเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่คันโต หนูพากันหลบหนีไปหมด และตอนเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่โกเบ ก็พบปรากฏการณ์หนูพากันหลบหนีเช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่าก่อนเกิดแผ่นดินไหวจะมีหนูติดกับดักเพิ่มขึ้น และหนูบางตัววิ่งพล่านไปทั่ว


การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดิน


นับแต่โบราณ ชาวจีนค้นคว้าหาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดแผ่นดินไหวกับระดับน้ำใต้ดิน และนำมาใช้ในการคาดการณ์การเกิดแผ่นดินไหว ตั้งแต่ ค.ศ. 1981-1985 มีรายงานความผิดปกติของระดับน้ำใต้ดินหลายครั้ง เป็นการลดลง 27 ครั้ง เพิ่มลดสลับกัน 3 ครั้ง น้ำใต้ดินเกิดคลื่น 3 ครั้ง และระดับน้ำทะเลเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ 12 ครั้ง

ค.ศ. 1975 มีการคาดการณ์แผ่นดินไหวที่ชายฝั่งทะเลของประเทศจีนเป็นครั้งแรกของโลก จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า ก่อนเกิดแผ่นดินไหวที่มีความสั่นสะเทือน 7 ริกเตอร์ขึ้นไป บางครั้งระดับน้ำใต้ดินที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงศูนย์กลางแผ่นดินไหวจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติล่วงหน้าเป็นปี ๆ แต่หากแผ่นดินไหวที่มีความสั่นสะเทือนต่ำกว่า 6 ริกเตอร์ การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำใต้ดินครั้งแรกเกิดขึ้นราวสองสามเดือนก่อนแผ่นดินไหว


ความสั่นสะเทือนที่ใต้ดิน

ลางบอกเหตุแผ่นดินไหวที่พิเศษที่สุดคือเสียงสั่นสะเทือนที่ใต้ดิน เท่าที่ค้นพบในเวลานี้มีบันทึกเกี่ยวกับเสี่ยงสั่นสะเทือนจากใต้ดินในสมัยราชวงศ์เว่ย เมื่อ 1,500 ปีก่อนแล้ว ซึ่งบันทึกไว้ว่า ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 464 เกิดแผ่นดินไหวที่บริเวณเมืองเยียนเหมินฉี (มณฑลชานซีในปัจจุบัน) ก่อนเกิดแผ่นดินไหวมีเสียงสั่นสะเทือนจากใต้ดินดังครืนๆ เหมือนฟ้าร้องพอสงบลงก็เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง และในปี ค.ศ 1967 หลังเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่เมืองถังซาน ได้มีการสอบถามผู้คนที่อาศัยอยู่ในรัศมี 1,000 กิโลเมตรจากศูนย์กลางของแผ่นดินไหว พบว่า 95 % ได้ยินเสียงดังครืนๆ อย่างชัดเจน


ชนิดของเสียงสั่นสะเทือนที่ใต้ดิน


เสียงสั่นสะเทือนที่พื้นดินที่เป็นลางบอกเหตุแผ่นดินไหวมีมากหลายแบบ จากผลการวิจัยแบ่งได้เป็น 6 แบบคือ
1. เสียงฟ้อง : เป็นเสียงที่พบบ่อยที่สุด มักจะดังขึ้นก่อนเกิดแผ่นดินไหว
2. เสียงพายุ: ดังเหมือนพายุพัด คล้ายเสียงร้องของช้างพลาย
3. เสียงระเบิด: ดังตูมตามเหมือนเสียงระเบิดขนาดใหญ่
4. เสียงเครื่องยนต์: ดังเหมือนเสียงรถยนต์ รถไถ รถรางไฟฟ้า หรือเครื่องบิน
5. เสียงเลื่อยไม้: ตอนเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่เมืองถังซาน มีคนจำนวนไม่น้อยได้ยินเสียสั่นสะเทือนที่ใต้ดินที่ดังเหมือนเสียงระเบิดและเสียงเลื่อยไม้
6. เสียงฉีกผ้า: เสียงนี้มักได้ยินที่ทะเลมากกว่าบนบก





ที่มา กรมทรัพยากรธรณี

ภาพจาก รอยเตอร์/TNN Online/AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง