รีเซต

ปลูกกัญชา กัญชง ถูกกฎหมาย 2565 ไม่ต้องขออนุญาต แต่จดแจ้งผ่านแอป “ปลูกกัญ” ของ อย. หลังปลดล็อกพ้นยาเสพติด

ปลูกกัญชา กัญชง ถูกกฎหมาย 2565 ไม่ต้องขออนุญาต แต่จดแจ้งผ่านแอป “ปลูกกัญ” ของ อย. หลังปลดล็อกพ้นยาเสพติด
Ingonn
20 พฤษภาคม 2565 ( 08:00 )
1.3K
ปลูกกัญชา กัญชง ถูกกฎหมาย 2565 ไม่ต้องขออนุญาต แต่จดแจ้งผ่านแอป “ปลูกกัญ” ของ อย. หลังปลดล็อกพ้นยาเสพติด

หากใครกำลังสงสัยว่า ปลูกกัญชาต้องขออนุญาตใคร? ปลูกกัญชา ไม่ผิดกฎหมาย หรือปลูกกัญชาเสรี ได้ไหม โดยล่าสุดมีแนวทาง ปลูก-นำเข้า กัญชา กัญชง หลังปลดล็อก พ.ร.บ.ยาเสพติด ให้ชาวบ้านสามารถปลูกกัญชาได้โดยไม่ต้องขออนุญาต (ส่วนตัว-เชิงพาณิชย์) เพียงจดแจ้งผ่านแอป “ปลูกกัญ” ของ อย. ทำให้เข้าถึงกัญชา ถูกกฎหมาย 2565 ได้มากขึ้น

 

จากกรณีที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 มิ.ย. 2565 จะมีผลให้ทุกส่วนของกัญชา กัญชง ไม่ใช่ยาเสพติดประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดที่มีสาร THC เกิน 0.2 % ยังเป็นยาเสพติด ส่วนในเรื่องการปลูกนั้น นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ระบุว่า ผู้ที่ต้องการปลูกหลังวันที่ 9 มิ.ย.นี้ สามารถปลูกได้โดยไม่ต้องขออนุญาต เพียงแต่ต้องจดแจ้งผ่านแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ” ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เตรียมจะนำมาใช้ในการจดแจ้งการปลูกกัญชาเพื่อดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนทั่วไป รวมทั้งการขออนุญาตปลูกในเชิงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย.เป็นต้นไป เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้พืชสมุนไพรที่เหมาะสม 

 

ทั้งนี้ การนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชา กัญชง ส่วนอื่นๆ ของพืช เช่น ช่อดอก ใบ กิ่ง ก้าน ไม่ต้องขออนุญาตนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด แต่ต้องขออนุญาตนำเข้าตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 หากเป็นสารสกัดที่นำเข้าจากต่างประเทศ ยังจัดเป็นยาเสพติดให้โทษ ที่ต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด 

 

ส่วนของการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา กัญชง และผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง รวมทั้งกรณีนำเข้าเพื่อใช้เฉพาะตัว ซึ่งหมายถึงการนำติดตัวผู้โดยสารที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และการส่งทางพัสดุหรือไปรษณีย์ระหว่างประเทศนั้น ต้องเป็นไปตามกฎหมายของผลิตภัณฑ์นั้น เช่น ในกรณีของผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องสำอางจะห้ามนำเข้า ส่วนกรณีของผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้น อยู่ระหว่างการจัดทำกฎระเบียบเพื่อห้ามนำเข้าและกรณียกเว้น

 

หากมีข้อสงสัยเรื่องการปลูกให้สอบถามเพิ่มเติมโทร 0 2590 7767, 0 2590 7793 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ 

 

 

ข้อมูลจาก กรมประชาสัมพันธ์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง