รีเซต

วิธีรับ "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" ได้รับเท่าไร โดนเรียกคืนได้ไหม?

วิธีรับ "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" ได้รับเท่าไร โดนเรียกคืนได้ไหม?
TrueID
25 มกราคม 2564 ( 15:39 )
8.8K
วิธีรับ "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" ได้รับเท่าไร โดนเรียกคืนได้ไหม?

"เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" เป็นมาตรการอุดหนุนเงินเพื่อช่วยเหลือสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายดำรงชีพให้กับผู้สูงอายุ โดยจ่ายเงินผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับในปีงบประมาณ 2564 หรือตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 จนถึงเดือนกันยายน 2564 กรมบัญชีกลางได้ออกปฏิทินการทำงาน สำหรับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

สิทธิคนพิการ : วิธีทำบัตรคนพิการ ใครสามารถได้บ้าง?

เงินเกษียณอายุ ประกันสังคม กรณีชราภาพ มีกี่แบบ วิธีรับเงิน?

 

ใครบ้างที่มีสิทธิ์ได้รับเงิน เบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ

  • จะต้องมีสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองตามทะเบียนบ้าน
  • จะต้องมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • จะต้องไม่เคยรับสิทธิ์ใด ๆ มาก่อน ไม่ว่าจะจากหน่วยงานรัฐหรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ อาทิเช่น เงินบำนาญ เบี้ยหวัด หรือหากคุณอยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองใด ๆ ที่ได้รับเงินเดือนหรือมีผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนที่ได้เป็นประจำ ก็ถือว่าไม่มีสิทธิ์รับเงิน เบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ

 

ใครบ้างที่สามารถ ลงทะเบียนรับเบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ 2564 ได้

  • มีสัญชาติไทย มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และต้องไม่เคยลงทะเบียนเบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุมากก่อน หรือไม่เคยรับสิทธิ์ใด ๆ มาก่อนเช่นกัน
  • สำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุ 59 ปี สามารถลงทะเบียนได้ล่วงหน้าในปี 2563 เพื่อที่จะรับเงินในปี 2564 โดยจะต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2504 ถึงจะลงทะเบียนล่วงหน้าได้นะคะ แต่หากผู้สูงอายุไม่มีข้อมูลที่ระบุในทะเบียนราษฎรเกี่ยวกับวันเกิดที่แน่ชัด ทราบเพียงแต่ปีเกิดนั้น ให้ถือว่า วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเกิดค่ะ
  • หากคุณมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเคยลงทะเบียนไว้แล้ว แต่มีการย้ายภูมิลำเนา จะต้องลงทะเบียนใหม่ในภูมิลำเนาที่ย้ายมาใหม่
  • ผู้ที่เคยลงทะเบียนไว้แล้ว ไม่จำเป็นต้องลงใหม่ทุกปี เว้นแต่มีการย้ายภูมิลำเนา หรือมีข้อมูลที่ต้องแก้ไขบ้างอย่าง

 

ลงทะเบียนรับเบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ ได้ที่ไหน

  • หากอยู่ในเขตกรุงเทพฯ สามารถไปยื่นได้ด้วยตนเอง หรือมอบสิทธิ์ให้ปผู้อื่นไปยื่นแทนได้ แต่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรด้วย โดยสามารถไปยื่นได้ที่สำนักงานเขตที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนั้น ๆ
  • หากอาศัยอยู่ที่ต่างจังหวัด สามารถยื่นได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือ สำนักงานเทศบาล ที่ขึ้นอยู่กับภูมิลำเนาของคุณหรือที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนั้น ๆ

ช่วงเวลาการลงทะเบียนในการรับเบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ 2564 จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงดังนี้

  1. การลงทะเบียนในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน 2564: สำหรับผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2505
  2. การลงทะเบียนในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2564: เป็นการลงทะเบียนล่วงหน้า เพื่อที่จะรับเงินในปี 2565

หมายเหตุ : หากข้อมูลในทะเบียนราษฎรไม่มีวันเกิดที่แน่ชัด รู้แต่เพียงปีเกิดเท่านั้นให้ถือว่า วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเกิด


เอกสารที่ต้องเตรียมในการลงทะเบียนรับเบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ

  • บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง หรือหากไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน จะต้องมีบัตรหรือเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานรัฐที่มีรูปถ่าย
  • ทะเบียนบ้านตัวจริง และถ่ายสำเนามา 1 ฉบับ
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารตัวจริง ที่เป็นประเภทออมทรัพย์ และถ่ายสำเนามา 1 ฉบับ

 

การให้ผู้อื่นมาดำเนินเรื่องแทนผู้สูงอายุจะต้องเตรียมอะไรบ้าง

  • หนังสือมอบอำนาจ โดยแบบฟอร์มของแต่ละพื้นที่จะเหมือนกัน จะต้องเข้ามาติดต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักก่อน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้สูงอายุ(ผู้มอบอำนาจ) และของผู้ที่มาดำเนินเรื่องแทน (ผู้ที่รับอำนาจ) อย่างละ 1 ฉบับ
  • สำเนาทั้ง 4 ฉบับ จะต้องมีการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย ได้แก่
  • ประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ
  • ประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้รับอำนาจ

 

จะได้ เบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ เท่าไหร่

 

อายุ ได้รับเงิน
อายุ 60-69 ปีได้รับเงิน 600 บาท/เดือน
อายุ 70-79 ปีได้รับเงิน 700 บาท/เดือน
อายุ 80-89 ปีได้รับเงิน 800 บาท/เดือน
อายุ 90 ปีขึ้นไปได้รับเงิน 1,000 บาท/เดือน

 

โดยปฏิทินการจ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุ ธนาคารจะโอนเงินให้ผู้มีสิทธิผ่านบัญชีธนาคาร ดังนี้

  • เดือนธันวาคม 2563 จ่ายเงินวันที่ 9 ธันวาคม 2563
  • เดือนมกราคม 2564 จ่ายเงินวันที่ 8 มกราคม 2564
  • เดือนกุมภาพันธ์ 2564 จ่ายเงินวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564
  • เดือนมีนาคม 2564 จ่ายเงินวันที่ 10 มีนาคม 2564
  • เดือนเมษายน 2564 จ่ายเงินวันที่ 9 เมษายน 2564
  • เดือนพฤษภาคม 2564 จ่ายเงินวันที่ 10 พฤษภาคม 2564
  • เดือนมิถุนายน 2564 จ่ายเงินวันที่ 10 มิถุนายน 2564
  • เดือนกรกฎาคม 2564 จ่ายเงินวันที่ 9 กรกฎาคม 2564
  • เดือนสิงหาคม 2564 จ่ายเงินวันที่ 10 สิงหาคม 2564
  • เดือนกันยายน 2564 จ่ายเงินวันที่ 10 กันยายน 2564

 

 
 

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สามารถเรียกคืนได้หรือไม่?

หากตรวจสอบแล้วว่าได้รับสิทธิ์ใด ๆ มาก่อน ไม่ว่าจะจากหน่วยงานรัฐหรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ อาทิเช่น เงินบำนาญ เบี้ยหวัด หรือหากคุณอยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองใด ๆ ที่ได้รับเงินเดือนหรือมีผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนที่ได้เป็นประจำ ก็ถือว่าไม่มีสิทธิ์รับเงิน เบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ โดยจะถูกเรียกเงินคืนย้อนหลังพร้อมดอกเบี้ย 7.5 ต่อปี

 

เปิดข้อกม. ไม่ต้องคืนเบี้ยคนชรา ถ้ารับโดยสุจริต-ใช้หมดแล้ว

จากกรณี ยายบวน โล่ห์สุวรรณ อายุ 89 ปี ถูกกรมบัญชีกลางเรียกเก็บเบี้ยผู้สูงอายุคืนย้อนหลัง 10 ปี จำนวน 84,400 บาท โดยมีการเสนอให้มีการผ่อนชำระ 1 ปี ไม่มีดอกเบี้ย ตามที่เคยเสนอข่าวไปแล้วนั้น

โดยมี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โพสต์ข้อความในกลุ่ม กฎหมายเรื่องใกล้ตัว ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวว่า อบต.จ่ายเงินเบี้ยผู้สูงอายุไม่ถูกต้องความเห็นว่า กรณีนี้เป็นกรณี “ลาภมิควรได้” ซึ่งหน่วยงานทางปกครอง คืออบต. จะต้องใช้สิทธิฟ้องเรียกร้องในทางแพ่ง (ไม่ใช่คดีปกครอง เที่ยบเคียงคำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 222/2560)

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ ป.พ.พ. มาตรา 412 ดังนั้นหากคุณยายได้รับเงินเบี้ยผู้สูงอายุไว้โดยสุจริต (หากฟังข้อเท็จจริงได้ว่าคุณยายไม่ทราบข้อกฎหมาย/ปิดบังข้อเท็จจริงที่ตนใช้สิทธิซ้ำซ้อน) และหากคุณยายรับเงินไว้โดยสุจริตและได้นำไปใช้จ่ายหมดแล้วก่อนที่จะถูกเรียกคืน คุณยายจึงไม่ต้องคืนเงินดังกล่าว ตามป.พ.พ. มาตรา 412 (เทียบเคียงกับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10850/2559)

กรณีนี้ถือเป็นความบกพร่องในการตรวจสอบตรวจทาน เป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของเจ้าหน้าที่ จึงต้องไปไล่เบี้ยกับเจ้าหน้าที่ผูปฏิบัติงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อต่อไป

ป.พ.พ.มาตรา 412 ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ท่านว่าต้องคืนเต็มจำนวนนั้น เว้นแต่เมื่อบุคคลได้รับไว้โดยสุจริต จึงต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10850/2559 จำเลยไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญตามกฎหมาย แต่โจทก์จ่ายเงินดังกล่าวให้จำเลยไปโดยผิดหลง จึงเป็นเงินที่จำเลยได้รับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และทำให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นลาภมิควรได้ หาใช่เป็นเงินที่โจทก์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้อย่างเจ้าของทรัพย์สินไม่ และเมื่อได้ความว่าจำเลยได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญไว้โดยสุจริตและนำไปใช้จ่ายหมดแล้วก่อนที่โจทก์จะเรียกคืน จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 412

ข้อมูล : ข่าวสด

ภาพโดย NCB19 จาก Pixabay 

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

++++++++++

ข่าวที่เกี่ยวข้อง