รีเซต

ชวนชม “ฝนดาวตกโอไรออนิดส์” เศษฝุ่นจากวงโคจร “ดาวหางฮัลเลย์ ”

ชวนชม “ฝนดาวตกโอไรออนิดส์” เศษฝุ่นจากวงโคจร “ดาวหางฮัลเลย์ ”
TNN ช่อง16
17 ตุลาคม 2566 ( 19:38 )
235

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ชวนชม “ฝนดาวตกโอไรออนิดส์” คืน 21 ต.ค. ถึงรุ่งเช้า 22 ต.ค. 62 เวลาประมาณ 22.30 น. เป็นต้นไป ทางทิศตะวันออก  คาดปีนี้มีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง คืนดังกล่าวอาจมีแสงจันทร์รบกวนเล็กน้อย แนะจุดชมให้อยู่ในที่มืดสนิทและห่างจากเมือง หากปลอดฝนชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เปิดเผยข้อมูลว่า ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวนายพราน เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 2 ตุลาคม -7 พฤศจิกายน ของทุกปี มีอัตราการตกสูงสุดในคืน 21 - 22 ตุลาคม 2562 คาดมีอัตราการตกสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 20 ดวงต่อชั่วโมง ศูนย์กลางการกระจายอยู่ใกล้กลุ่มดาวนายพราน ทางทิศตะวันออก

เนื่องจากวันดังกล่าวมีแสงจันทร์รบกวน จึงแนะนำให้อยู่ในที่ห่างจากเมืองหรือบริเวณที่มืดสนิทเพื่อให้เหลือแสงรบกวนสายตาน้อยที่สุด สำหรับวิธีการสังเกตฝนดาวตกที่ดีที่สุด คือ มองด้วยตาเปล่า ตามทิศทางการกระจายตัวของฝนดาวตก หากฟ้าใสไร้ฝนสามารถชมความสวยงามของดาวตกโอไรออนิดส์ได้ทั่วประเทศ

“ฝนดาวตกโอไรออนิดส์”  เกิดขึ้นได้อย่างไร ? 

ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ เกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดผ่านเส้นทางการโคจรของดาวหางฮัลเลย์ (1P/Halley) ที่หลงเหลือเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กจำนวนมากทิ้งไว้ในวงโคจรขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อปี 2529 แรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดเศษฝุ่นและวัตถุขนาดเล็กเหล่านั้นเข้ามาเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก เกิดการลุกไหม้ เห็นเป็นแสงวาบคล้ายลูกไฟพุ่งกระจายตัวออกมาบริเวณกลุ่มดาวนายพราน มีสีเหลืองและเขียว สวยงามพาดผ่านท้องฟ้า


ข้อมูลจาก :  สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ภาพจาก  AFP 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง