รีเซต

มารู้จักโรคอุบัติใหม่ "กาฬโรคในม้า" หรือ โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า

มารู้จักโรคอุบัติใหม่ "กาฬโรคในม้า" หรือ โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า
มติชน
30 มีนาคม 2563 ( 12:45 )
172

ในช่วงนี้ดูเหมือนว่าโรคอุบัติใหม่ ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่เกิดขึ้นประเทศไทย และทั่วโลก อย่าง โควิด-19 หรือไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ 2019 นั้นซึ่งยังไม่รู้ว่าจะหยุดได้เมื่อไหร่นั้น

ล่าสุดแม้แต่ในสัตว์ก็มีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นกับสัตว์ในประเทศไทยเช่น กัน โดยล่าสุดพบว่า ม้าในพื้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ป่วยตายล้มตายอย่างเฉียบพลันถึง 59 ตัว และผลการส่งเลือดม้าไปตรวจในห้องปฏิบัติการสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ พบว่า เป็นโรคกาฬโรคในม้าหรือ African Horse Sickness ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน มีแมลงดูดเลือดประเภท ริ้น ยุง เป็นพาหะนำเชื้อไวรัสเข้าสู่ม้า ทำให้มีม้ามีอาการป่วยและล้มตายอย่างเฉียบพลัน จึงเร่งระดมฉีดพ่นยาป้องกันกาฬโรคในม้าในเขตอำเภอปากช่อง พร้อมตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคม้าในพื้นที่จังหวัดเป็นการเร่งด่วนนั้น

มารู้จักโรคกาฬโรคในม้ากัน
ทังนี้จากข้อมูลของกรมปศุสัตว์ ระบุว่า โรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness) สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส RNA ชนิดไม่มีเปลือกหุ้ม family Reoviridae genus Orbivirus เชื้อนี้ถูกยับยั้งได้ด้วยความร้อนมากกว่า 140 องศาฟาเรนไฮต์ (F) สารละลายฟอร์มาลิน propriolactone อนุพันธ์ของ acetylethyleneimineหรือ การฉายรังสีและถูกทำลายได้ด้วยความเป็นกรดด่างที่ pH น้อยกว่า 6 หรือมากกว่า 12 นอกจากนี้สามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีฤทธิ์เป็นกรดเช่น 2% กรดอะซิติก หรือ กรดซิตริก ในการฆ่าเชื้อโรคได้สัตว์ที่ไวต่อการเกิดโรคม้า ลา ล่อ ม้าลาย อูฐ และสุนัข โดยมักทำให้ม้าและล่อแสดงอาการป่วยรุนแรงและตาย ส่วนในลาและม้าลายจะแสดงอาการแบบไม่รุนแรงทั้งนี้ไม่พบรายงานการติดต่อจากสัตว์สู่คนระบาดวิทยา ซึ่งที่ผ่านมาไม่มีรายงานการเกิดโรคนี้ในประเทศไทย แต่พบรายงานการเกิดโรคในทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง ประเทศอียิปต์ สเปน โปรตุเกส โมร็อกโค ปากีสถาน และอินเดียแผนที่แสดงพื้นที่การระบาดของโรค African horse sickness ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548-ม.ค. พ.ศ.2554

การติดต่อ จะเกิดจากการ
1.ถูกแมลงกัด เช่น ตัวริ้น genusCulicoidesได้แก่ Culicoides imicolaและ Culicoides bolitinosยุง และแมลงวันดูดเลือดใน genus Stomoxys และ Tabanus 2.สัตว์ที่กินเนื้อ สามารถติดโรคจากการกินเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อระยะฟักตัวของโรคประมาณ 2-21วันอาการสัตว์ที่ติดเชื้อโรคกาฬโรคแอฟริกา จะแสดงอาการได้ 4 รูปแบบ คือ1.แบบเฉียบพลันรุนแรง (peracute หรือ pulmonary form)สัตว์จะมีไข้สูง และแสดงอาการทางระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง รูจมูกขยาย ยืดคอไปข้างหน้า หายใจลำบาก ไอ มีน้ำมูกเป็นฟองสีเหลืองขุ่น (frothy serofibrinous) สัตว์จะตายภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังจากแสดงอาการ 2.แบบกึ่งเฉียบพลัน (subacuteedematousหรือ cardiac form)สัตว์จะมีไข้สูงประมาณ 3-6 วัน หลังจากนั้นไข้จะลดลง และมีอาการบวมน้ำบริเวณขมับ (supraorbitalfossae) เปลือกตา แก้ม ริมฝีปาก ลิ้น บริเวณขากรรไกร คอ ไหล่ และหน้าอก แต่ไม่พบการบวมน้ำที่ส่วนล่างของลำตัว เช่น ขา นอกจากนี้จะมีอาการซึม เสียดท้อง มีจุดเลือดออกบริเวณลิ้น และ เยื่อบุตา สัตว์จะตายจากภาวะหัวใจล้มเหลว หากสัตว์หายป่วย อาการบวมน้ำจะลดลงใน 3-8 วัน Culicoides imicola 3.แบบเฉียบพลัน (acute หรือ mixed form) สัตว์จะแสดงอาการทั้งทางระบบทางเดินหายใจ และมีภาวะบวมน้ำ 4.แบบไม่รุนแรง(horsesickness fever) สัตว์จะมีไข้ประมาณ 3-8 วัน โดยไข้จะลดในตอนเช้า และมีไข้สูงในตอนบ่ายอาการอื่นๆที่อาจพบได้ คือ ซึม เบื่ออาหาร บวมน้ำบริเวณขมับ เยื่อเมือกมีจุดเลือดออก และหัวใจเต้นเร็ว สัตว์ที่ป่วยแบบไม่รุนแรงมักหายจากอาการป่วยได้ รอยโรคจากการผ่าซากในกรณีการเกิดโรคแบบเฉียบพลันรุนแรง (peracute หรือ pulmonary form)พบการบวมน้ำของปอด และมีน้ำในช่องอก ส่วนการเกิดโรคแบบเฉียบพลัน มักพบของเหลวเป็นฟองตั้งแต่โพรงจมูกจนถึงปอด ต่อมน้ำเหลืองบริเวณช่องอกและช่องท้องขยายใหญ่และบวมน้ำ ในกรณีการเกิดโรคแบบกึ่งเฉียบพลัน (subacuteedematousหรือ cardiac form)พบการบวมน้ำแบบวุ้น (yellow gelatineous) แทรกในชั้นใต้ผิวหนัง และในกล้ามเนื้อบริเวณหัว คอ และไหล่ พบน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ (hydropericardium) และกล้ามเนื้อหัวใจมีจุดเลือดออก

นอกจากนี้อาจพบรอยโรคในทางเดินอาหาร เช่น พบการบวมน้ำ และมีจุดเลือดออกของชั้นเยื่อบุลำไส้ใหญ่(cecum)การวินิจฉัยแยกแยะ (Differential diagnosis) Equine encephalosis Equine viral arteritis Equine infectious anemia Hendra virus infectionPurpura hemorrhagica Equine piroplasmosis Anthrax Toxin

การเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เลือด ม้าม ปอด ต่อมน้ำเหลืองการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ 1.การเพาะแยกเชื้อไวรัส จากไข่ไก่ฟัก หรือฉีดเชื้อไวรัสเข้าสมองหนูแรกเกิดอายุ 1-3 วัน หรือใช้เซลล์เพาะเลี้ยง 2.การตรวจทางซีรั่มวิทยา โดยวิธี ELISA เพื่อตรวจหาแอนติเจนของเชื้อcomplement fixation (CF), immunoblotting และ virus neutralization เพื่อตรวจแยกชนิดของเชื้อ (serotype) ทั้งนี้การตรวจด้วยวิธีทางซีรั่มวิทยา จะพบantibody ต่อเชื้อได้ในวันที่ 8-14 หลังจากติดเชื้อและพบว่าสัตว์จะมี antibody ในร่างกายได้นาน 1-4 ปี 3.การตรวจหาเชื้อไวรัส หรือ virus nucleic acid ด้วยวิธี reverse-transcription polymerase chain reaction (RT-PCR)

การควบคุมและป้องกันโรค
1.ควรตรวจสุขภาพสัตว์เป็นประจำ หากพบสัตว์ป่วยต้องแยกออกจากฝูง เพื่อป้องกันการเกิดโรค 2.กำจัดแมลงดูดเลือดที่เป็นพาหะของโรค หรือป้องกันไม่ให้แมลงดูดเลือดสามารถดูดเลือดสัตว์ได้ โดยการให้ม้าอยู่ในคอกที่ใช้มุ้ง หรือตาข่ายในการป้องกันแมลงดูดเลือด โดยเฉพาะในเวลาที่แมลงดังกล่าวออกหากิน เช่น ช่วงเวลาพลบค่ำถึงเช้ามืดหรือใช้ยาฆ่าแมลงที่เหมาะสมพ่นบริเวณคอกและตัวม้า 3.กรณีที่มีการระบาดของโรค ต้องมีการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์เข้า-ออกบริเวณที่เกิดโรค 4.กรณีที่นำสัตว์ใหม่เข้าฝูง ควรกักไว้อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อตรวจร่างกายและสังเกตอาการป่วย 5.ทำความสะอาดคอก บริเวณที่เลี้ยงสัตว์ และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค

ขอบคุณ ข้อมูลและรูปจากกรมปศุสัตว์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง