รีเซต

ประวัติ จาตุรนต์ ฉายแสง เขาคือใคร? หลังห้ามทัพ ก้าวไกล-เพื่อไทย

ประวัติ จาตุรนต์ ฉายแสง เขาคือใคร? หลังห้ามทัพ ก้าวไกล-เพื่อไทย
TeaC
8 มิถุนายน 2566 ( 14:07 )
493

จาตุรนต์ ฉายแสง เขาคือใคร? หลังออกมาห้ามทัพ ก้าวไกล-เพื่อไทย วันนี้พาไปส่อง ประวัติของเขาคนนี้ 

 

ประวัติ จาตุรนต์ ฉายแสง

 

สำหรับ ประวัติ จาตุรนต์ ฉายแสง ชื่อเล่น อ๋อย เกิดเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2499 ที่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา เป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมืองชาวไทย และเขายังโลดแล่นในเส้นทางการเมืองในการนั่งเก้าอี้ต่าง ๆ อาทิ


  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • อดีตรองนายกรัฐมนตรี
  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้รับการคัดเลือกจากนิตยสารเอเชียวีคให้เป็น 1 ใน 20 ผู้นำชาติเอเชียที่มีบทบาทโดดเด่นในศตวรรษที่ 20
  • ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 13 พรรคเพื่อไทย

 

นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นบุตรคนโตของอนันต์ ฉายแสง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฉะเชิงเทรา และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กับ นางสาว เฉลียว ฉายแสง

 

 

จาตุรนต์ ฉายแสง กับประวัติการศึกษา

  • ปริญญาโท คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอเมริกัน วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
  • ปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา



บทบาททางการเมือง ของ จาตุรนต์ ฉายแสง

 

 

จาตุรนต์ ฉายแสง

 

จาตุรนต์ ฉายแสง ก้าวเข้าสู่การเมืองครั้งแรกจากการชักชวนของผู้เป็นพ่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2529 ในนาม พรรคประชาธิปัตย์และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ฉะเชิงเทราสมัยแรก และสมัยที่ 2 ในปี 2531

 

จากนั้น เขาได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาชน ซึ่งนำโดยนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับการเลือกตั้งต่อเนื่อง

 

กระทั่งในการเลือกตั้งปี 2544 เขาได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งเกิดรัฐประหารในปี 2549

 

ภายหลังรัฐประหาร ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย จาตุรนต์ ได้เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรครักษาการแทน

หลังตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักไทยด้วยมติเอกฉันท์ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 แล้ว ซึ่งก่อนมีคำตัดสิน จาตุรนต์ รักษาการหัวหน้าพรรค มีท่าทีว่าจะขอน้อมรับมติของศาล แต่หลังจากนั้นแล้ว จาตุรนต์ได้เดินทางไปที่ทำการพรรคและปราศรัยว่า เป็นการตัดสินที่ไม่เป็นธรรม เป็นคำพิพากษาที่มาจากปากกระบอกปืน ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้าน คมช.



ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 จาตุรนต์ ได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 39

 

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม เขาถูกทหารควบคุมตัวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ถนนเพลินจิต โดยจาตุรนต์มิได้ขัดขืน ระหว่างการแถลงต่อผู้สื่อข่าว

 

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562  จาตุรนต์ ฉายแสง ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 2 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง

 

ปัจจุบัน เขาได้กลับไปสังกัดพรรคเพื่อไทย และในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566 ได้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรค ในลำดับที่ 13

 

 

จาตุรนต์ ฉายแสง ผู้ห้ามทัพ ก้าวไกล-เพื่อไทย

 

และชื่อของเขากลับทำให้หลายคนสนใจอีกครั้ง หลังก่อนหน้านี้ที่มีการจัดตั้งรัฐบาล พ่วงประเด็นทั้งวิวาทะระหว่าง นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ นายศิธา ทิวารี แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งเขาได้ ได้ทวีตข้อความ 

 

"เรื่องระหองระแหงกับเพื่อนเป็นเรื่องน่าเห็นใจ แต่เพื่อนกับเพื่อน ๆ กำลังร่วมกันทำงานใหญ่คือการตั้งรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตยตามที่ประชาชนมอบหมายมา ถ้าไม่สำเร็จ ถ้าตั้งไม่สำเร็จก็จะเป็นประโยชน์กับการสืบทอดอำนาจเผด็จการ เพื่อนทำให้ไม่พอใจบ้างก็ต้องอดทนถ้าความอดทนมีขีดจำกัดก็ต้องขยายขีดความจำกัดให้ได้"

 

กลายเป็นคนที่คอยห้ามทัพกระแสที่ร้อนแรง พร้อมออกมาเตือนสติให้แต่ละพรรคหนักแน่นในการจัดตั้งรัฐบาลครั้งนี้

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

ภาพ : Chaturon Chaisang

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง