รีเซต

สรุปข้อมูลดาวเคราะห์ K2-18b ที่คาดว่าอาจมีสิ่งมีชีวิต

สรุปข้อมูลดาวเคราะห์ K2-18b ที่คาดว่าอาจมีสิ่งมีชีวิต
TNN ช่อง16
18 เมษายน 2568 ( 17:19 )
10

เมื่อกล้องโทรทรรศน์เจมส์ เวบบ์ ตรวจพบสัญญาณโมเลกุลจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกให้ความสนใจเป็นพิเศษกับดาวเคราะห์นอกระบบดวงหนึ่งที่ชื่อว่า K2-18b ซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ K2-18 ในกลุ่มดาวสิงโต (Leo) ห่างจากโลกประมาณ 120 ปีแสง ดาวดวงนี้มีลักษณะเฉพาะที่น่าทึ่งและอาจเป็น “บ้าน” ของสิ่งมีชีวิตนอกโลก

K2-18b ถูกค้นพบครั้งแรกโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศ เคปเลอร์ (Kepler) ของ NASA ในภารกิจ K2 ปี 2015 และภายหลังได้ถูกตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมโดย กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (JWST)

และกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ (JWST) นี่เองที่ได้ตรวจพบ โมเลกุลไดเมทิลซัลไฟด์ (DMS) ซึ่งบนโลกเรารู้จักดีว่าเป็นสารเคมีที่ผลิตโดยสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น แพลงก์ตอนทะเล แม้จะยังไม่สามารถยืนยันว่ามีสิ่งมีชีวิตแน่นอน แต่สัญญาณนี้ถือเป็นหนึ่งในหลักฐาน “ที่เข้มข้นที่สุด” เท่าที่เคยมีมาจากดาวเคราะห์นอกระบบ

ดาวเคราะห์ K2-18b เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่น่าจับตามองที่สุดในกลุ่มดาวเคราะห์นอกระบบ เนื่องจากมีขนาดใหญ่กว่าโลกประมาณ 2.6 เท่า และมีมวลมากกว่า 8.6 เท่า แต่แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิวนั้นมากกว่าโลกเพียงเล็กน้อย ทำให้ยังพอมีความเป็นไปได้ที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้ 

ดาวดวงนี้โคจรรอบดาวฤกษ์ชนิด M หรือดาวแคระแดง โดยใช้เวลาเพียง 33 วันต่อรอบ และที่สำคัญคือ ตั้งอยู่ในเขตที่เอื้อให้สิ่งมีชีวิตอาศัยได้ (Habitable Zone) ซึ่งมีสภาวะที่อุณหภูมิพอเหมาะสำหรับการมีน้ำในสถานะของเหลวบนพื้นผิว 

นอกจากนี้ K2-18b ยังจัดอยู่ในกลุ่ม “Hycean planet” ซึ่งหมายถึงดาวเคราะห์ที่มีศักยภาพในการมีมหาสมุทรใต้ชั้นบรรยากาศที่อุดมไปด้วยไฮโดรเจน จึงเป็นเป้าหมายสำคัญในการค้นหาสัญญาณของสิ่งมีชีวิตนอกโลกในอนาคต

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า K2-18b อาจเป็นหนึ่งใน “ดาวเคราะห์ประเภท Hycean” ซึ่งหมายถึงดาวเคราะห์ที่มีมหาสมุทรกว้างใหญ่ใต้บรรยากาศที่อุดมไปด้วยไฮโดรเจน โดยสภาพแวดล้อมแบบนี้อาจเหมาะกับการกำเนิดสิ่งมีชีวิตรูปแบบใหม่ ก็เป็นได้

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง