รีเซต

หมอธีระวัฒน์ เคลียร์สายพันธุ์โควิดเกิดจากอะไร ทำอย่างไรหากตรวจไม่เจอ

หมอธีระวัฒน์ เคลียร์สายพันธุ์โควิดเกิดจากอะไร ทำอย่างไรหากตรวจไม่เจอ
TNN ช่อง16
3 พฤษภาคม 2564 ( 09:37 )
142

วันนี้ (3 พ.ค.64) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยกับ TNN ช่อง 16 ในช่วงขยายประเด็น เกี่ยวกับความกังวลสายพันธุ์แอฟริกาใต้ โดยระบุว่า ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใด จุดสำคัญคือ เป็นเรื่องของการดื้อวัคซีน ถ้าผันแปรไปมากอาจกระทบการตรวจจับ ก็คือการตรวจจับไม่เจอ และท่อนต่างๆ ที่พบในสายพันธุ์อาจจะทำให้โรครุนแรงขึ้น

ต้องย้อนกลับไปว่าเหตุใดถึงเกิดสายพันธุ์ต่างๆ ขึ้นในประเทศต่างๆ ที่เป็นต้นตอโดยการเกิดจากการปล่อยให้มีการแพร่ระบาดมากไป จนกระทั่งไวรัสเกิดความผิดเพี้ยนเกิดขึ้น ถ้ามีการติดเชื้อ 1 คน ก็จะเกิดการผิดเพี้ยนเชื้อไวรัสทีละน้อย ถ้าระบาดเป็นพันเป็นแสนคนก็จะเกิดเป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา

สำหรับสายพันธุ์แอฟริกาใต้ แพร่ไปมากกว่า 68 ประเทศ สายพันธุ์บราซิล P1 ที่พบและรายงานในสหรัฐ 1714 บราซิล 968 และอิตาลี 512 และในประเทศ อื่นๆ สายพันธุ์อังกฤษ B1.1.7 ตรวจพบในอังกฤษ 207,527 สหรัฐ 42,858 และเยอรมันนี 36,420 และในประเทศอื่นๆอีก และสายพันธุ์อื่นๆ ใหม่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นทุกวัน เช่น ฟิลิปปินส์ เหล่าเกิดขึ้นจากการควบคุมการแพร่ระบาดไม่ได้ ทำให้ไวรัสมีการปรับตัวกลายพันธุ์เกิดเป็นสายใหม่ที่ดื้อวัคซีนที่ออกแบบจากไวรัสดังเดิม

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวต่อว่า หากกลัวเรื่องสายพันธุ์ต่างๆ สิ่งที่ทำคือป้องกันไม่ให้มีการนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ต้องเข้าใจว่า มาตรการต่างๆ มีเล็ดลอดเข้ามาได้ แต่ไม่ได้หมายความว่ามาตรการไม่สำคัญ แต่ยังคงสำคัญอยู่ เพราะจะทำให้มีเวลาที่จะตั้งรับได้ทัน แต่ในที่สุดสายพันธุ์ต่างๆ เหล่านี้ก็จะเข้ามาในประเทศ ขณะเดียวกันก็ยังปะปนกับสายพันธุ์ดั้งเดิม คือ สายพันธุ์จีนและอังกฤษ

ทั้งนี้ มาตรการระดับสังคม ระดับบุคคลที่ต้องป้องกันตัวเองไม่ให้ระบาดในวงกว้างต้องเคร่งครัด ในขณะเดียวกันภาคของรัฐ ต้องมีการตรวจคัดกรอง ซึ่งอาจจะมีข้อจำกัดในเวลาที่ผ่านมา แต่ว่าการคัดกรองตอนนี้ต้องสามารถเข้าถึงคนทุกคนได้ โดยตอนนี้ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีประชากรพอๆ กับในประเทศไทย นั่นคือ การตรวจที่ดูว่าติดหรือยัง หรือเกิดไปติดใหม่หรือไม่ และทำทุก 7 วัน ประเมินสถานการณ์ว่าไม่มีการประทุขึ้นมาใหม่ เพื่อทำให้มีเวลาฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมได้

ขณะนี้ต้องครอบคลุมอยู่ที่ 70% ขึ้นไป และ 90% ยิ่งดี เพราะว่าคนที่ฉีดวัคซีนทุกยี่ห้อมีประสิทธิภาพป้องกันไม่ให้เกิดอาการหนักหรือเสียชีวิต แต่ว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนโอกาสที่จะติดได้มากบ้างน้อยมาก แต่จะช่วยลดการแพร่กระจายได้น้อยลง สั้นลง ดังนั้นการระบาดไปถึงคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีนหรือภูมิคุ้มกันน้อยก็ลดโอกาสลง และมีเวลาพอที่จะรอวัคซีนรุ่นใหม่ ซึ่งสามารถคลอบคลุมได้ทุกสายพันธุ์

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวถึงกรณีการตรวจหาเชื้อไม่เจอ โดยระบุว่า เกิดจาก 2 สาเหุ คือ ข้อแรก ไวรัสไม่ได้ชอบอยู่ที่จมูก หรือ ลำคอ แต่ว่าลงไปที่อวัยวะส่วนอื่น เช่น เลือด ลำไส้ และข้อที่ 2 ไวรัสเปลี่ยนหน้าตาทำให้จับไม่ติด แต่ว่าในกระบวนการตรวจเลือดครอบคลุมได้กว้างขวางกว่า 

ทั้งนี้ การตรวจเลือดมี 2 ระดับ ชนิดที่รู้ผลเร็ว คือ เจาะปลายนิ้วพร้อมรู้ผลใน 2 นาที หรือ ชนิดที่ใช้เวลานาน 3 ชม. แต่ได้ผล 100% สามารถตรวจจับได้ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์แอฟริกาหรือสายพันธุ์อินเดีย และไม่หลุด

การตรวจเลือดต้องยอมรับว่า มีจุดจำกัด ไม่สามารถตรวจได้เป็นหมื่นเป็นแสนคนภายในวันเดียว เป็นจุดบอดที่เรายอมรับ

ดังนั้น การตรวจดีที่สุดคือการตรวจไว เจาะปลายนิ้ว และต้องไม่หลุดเลย ติดเชื้อต้องได้ผลบวกทุกคน แต่มีข้อเสียคือ หากมีบางคนไม่มีการติดเชื้อ แต่ได้ผลบวกไปด้วยก็ถูกเหมารวมไป โดยอาจจะเกิดจากการติดเชื้อไปหลายเดือนแล้ว อาจจะมีผลบวกเกิดขึ้นได้

โดยลักษณะนี้ชุดตรวจที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจปลายนิ้ว คือ ต้องมีมีความไว 100% ขณะเดียวกัน จะมีผลบวกอยู่ที่ 2.5% หรือ 4-5% โดยถ้าตรวจได้ผลบวกก็ต้องแยกกักตัวทันที ไม่ให้ไปติดต่อคนอื่น หลังจากนั้น การตรวจยืนยันระดับที่ 2 ก็มีเวลายืนยันได้ว่าเป็นบวกจริงหรือบวกปลอม หากบวกจริงก็ตรวจหาเชื้อ เข้าทำการรักษาต่อไป

"วันนี้ พรุ่งนี้ อาจจะเกิดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ แต่สิ่งที่ทุกคนทำได้คือ "วินัย" ใส่หน้ากากอนามัย หาที่ครอบตา ล้างมือบ่อยที่สุด ซึ่งจะทำให้เรารอดชีวิตไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์อะไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุด 50-70% อยู่ที่ตัวเราเองด้วย" ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ฝากทิ้งท้าย


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง