รีเซต

สุดช็อก! แพทย์เผย มนุษย์ทุกคนมีไร 'ดีโมเด็กซ์' หากิน ผสมพันธุ์ วางไข่บนใบหน้า

สุดช็อก! แพทย์เผย มนุษย์ทุกคนมีไร 'ดีโมเด็กซ์' หากิน ผสมพันธุ์ วางไข่บนใบหน้า
ข่าวสด
8 มกราคม 2565 ( 16:08 )
174
สุดช็อก! แพทย์เผย มนุษย์ทุกคนมีไร 'ดีโมเด็กซ์' หากิน ผสมพันธุ์ วางไข่บนใบหน้า

สุดช็อก! แพทย์เผย มนุษย์ทุกคนอาจมีไรดีโมเด็กซ์ หากิน ผสมพันธุ์ วางไข่บนใบหน้า แถมเป็นต้นเหตุของอาการดวงตาติดเชื้ออักเสบ

ดร.การัน ราชัน ศัลยแพทย์ประจำระบบสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ประเทศอังกฤษและผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในการแบ่งปันภูมิปัญญาทางการแพทย์บนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก @dr.karanr เผยเรื่องราวสุดช็อก ที่สร้างความตกใจให้กับผู้ติดตามของเขา โดยกล่าวว่าปรสิตขนาดเล็กสามารถวางไข่และอาศัยอยู่ในรูขุมขนของมนุษย์

ในวิดีโอ ดร.การัน ราจัน กล่าวกับผู้ติดตามของเขาว่า "อย่าเพิ่งตกใจไป แต่ 100% ของคนที่ดูวิดีโอนี้มีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอาศัยอยู่บนใบหน้าของพวกเขา โดยสิ่งมีชีวิตดังกล่าวถูกเรียกว่า “ดีโมเด็กซ์” ที่เป็นไรมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนแมง"

นอกจากนี้ ดร. การัน ยังกล่าวเสริมว่า "จากการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ ปรสิตยังคงซ่อนอยู่ในรูขุมขนของเรา และออกมาเพื่อผสมพันธุ์เท่านั้น ซึ่งคุณสามารถขัดผิวหน้าได้มากเท่าที่ต้องการ แต่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะกำจัดมันออกไป คุณจะไม่มีวันได้เห็นมันอีกด้วย เพราะไรใช้เวลาเกือบทั้งวันลึกลงไปในรูขุมขน แต่ขณะที่ผู้คนนอนหลับ ไรคลานออกมาบนผิวหนังเพื่อผสมพันธุ์ จากนั้นมุ่งหน้ากลับไปวางไข่ในที่ซ่อนตัว"

ภาพจาก @dr.karanr

ไรดีโมเด็กซ์หรือไรขนตา เป็นสิ่งมีชีวิตแปดขาที่มีขนาดเล็กมากเกินกว่าจะมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ มาพร้อมความยาวประมาณ 0.3 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่อยู่รอดได้ประมาณสองสัปดาห์ ซึ่งมิเชล เทราต์ไวน์ นักกีฏวิทยาจาก California Academy of Sciences ในซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวว่า "พวกมันดูเหมือนหนอนตัวเล็ก ๆ ที่มีขนแข็ง ซึ่งผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ามนุษย์ทั่วทุกมุมโลก มีไรดีโมเด็กซ์ ที่ใบหน้าต่างกัน"

มิเชลทำการทดสอบผู้คนมากกว่า 2,000 คน รวมถึงนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกที่เดินทางไปยัง California Academy of Sciences และเธอก็พบหลักฐานดีเอ็นเอของไรที่ใบหน้าในทุก ๆ ตัว ซึ่งมิเชลกล่าวว่า ไรดีโมเด็กซ์มีอยู่ 2 ชนิดที่อาศัยอยู่บนร่างกายมนุษย์ ได้แก่ Demodex folliculorum และ Demodex brevis

ภาพจาก Josh Cassidy/KQED

ไรดีโมเด็กซ์ ทั้งสองชนิดมีรูปร่างกึ่งโปร่งใส มีปากที่ออกแบบมาเพื่อกินเซลล์ผิวฮอร์โมน โดยเฉพาะความมันที่พบในรูขุมขน ซึ่งเป็นน้ำมันที่ผิวสร้างขึ้น เพื่อปกป้องตัวเองและป้องกันไม่ให้ผิวแห้ง ไขมันถูกผลิตขึ้นในต่อมไขมันพร้อมหลั่งเข้าไปในรูขุมขนและเคลือบทั้งเส้นผมและใบหน้า นั่นคือเหตุผลที่ส่วนที่มีไขมันมากที่สุดในร่างกาย เช่น รอบดวงตา จมูก และปาก มักจะมีไรสะสมอยู่สูงกว่าบริเวณอื่น ๆ ทว่าไรดีโมเด็กซ์จำนวนเล็กน้อยมีประโยชน์เพราะช่วยขจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว คนส่วนใหญ่ไม่เคยตระหนักเลยว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่และเจริญงอกงามบนผิวของพวกเขา

ดร. คานาเดะ ชินไค แพทย์ผิวหนังแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานฟรานซิสโก กล่าวว่า "เมื่อกล่าวกับผู้ป่วยว่าพวกเขามีไรที่ใบหน้า อย่างแรกเลย พวกเขาจะรู้สึกประหลาดใจ ซึ่งผู้ป่วยที่มีไรใบหน้ามากเกินไปเป็นครั้งคราวส่งผลให้เกิดภาวะที่เรียกว่าโรคเดโมดิโคซิส (demodicosis) อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้ค่อนข้างหายากและมักเกี่ยวข้องกับการลดลงของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น การได้รับยากดภูมิคุ้มกันหลังการผ่าตัดปลูกถ่าย เคมีบำบัด หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เอดส์"

 

@dr.karanr Dont touch your face @How things work #schoolwithdrkaran #factorcap ♬ original sound - Dr Karan Raj

ขอบคุณที่มาจาก Dailystar Webmd Npr

ข่าวที่เกี่ยวข้อง