รีเซต

อึดอัดเลเวลไหน ? เมื่อโควิดทำพิษ ทำใครหลายคนอดกลับบ้าน สงกรานต์ 2564

อึดอัดเลเวลไหน ? เมื่อโควิดทำพิษ ทำใครหลายคนอดกลับบ้าน สงกรานต์ 2564
TeaC
7 เมษายน 2564 ( 15:00 )
215

 

อึดอัดเลเวลไหน ? เมื่อโควิดทำพิษ อดกลับบ้าน สงกรานต์ 2564 นี้

 

 

เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ระลอกใหม่กลับมาเขย่าไทย ก่อนหยุดยาวสงกรานต์ หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อล่าสุดพุ่ง 334 ราย (7 เม.ย.64) โดยจุดเริ่มต้นที่นำไปสู่การเกิด ปรากฎการณ์ Super Spreader อีกครั้ง คือ ทองหล่อ ย่านสถานบันเทิงและสถานบริการใจกลางกรุงเทพฯ 

 

 

สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้การระบาดแพร่ขยายวงกว้างมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแวดวงบันเทิง ทั้งนักร้อง นักแสดง อาทิ แสตมป์-อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข ปีโป้-ณัชพัณณ์ ปรมะเจริญโรจน์ โอ๊ต-ปราโมทย์ ปาทาน วี -วิโอเลต วอเทียร์ หรือทีมงาน พนักงาน ลามไปถึงแวดวงนักการเมือง อย่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ตรวจพบติดเชื้อโควิด หลังมีไข้สูง 38 องศา จนต้องแอดมิดเข้าโรงพยาบาลในที่สุด 

 

 

ซึ่งปรากฎการณ์โควิดใหม่ ระลอก 3 ครั้งนี้ ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะความรวดเร็วของเชื้อโควิด-19 ที่ไวกว่าเดิม และจุดเริ่มต้นจากการแพร่เชื้อโควิดให้กลับมาระบาดอีกครั้ง อาจเป็นไปได้ว่า มาจากพฤติกรรมของกลุ่มคนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎและขาดความรับผิดชอบทางสังคม ไม่ว่าจะเป็น

 

 

1. ผู้คน นักเที่ยวท่องราตรีใส่หน้ากากผิดวิธี เช่น ใส่หน้ากากอนามัยใต้คาง ใต้จมูก คาดหัว หรือไม่ใส่ วึ่งการใส่หน้ากากอนามัยผิดวิธีนี้เองล้วนเป็นจุดเริ่มต้นที่เปิดโอกาสในการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนาอย่างมาก

 

 

2. ผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรค ทั้ง ๆ ที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาเน้นย้ำให้ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ซึ่งยังพบโดยเฉพาะไม่จัดที่นั่งให้เว้นระยะห่างตามที่กำหนด อีกทั้งยังเปิดให้บริการนั่งรับประทานอาหารเกินกว่าเวลาที่ภาครัฐกำหนด ในส่วนลูกค้ายังไม่ให้ความร่วมมือในการสแกนเข้าออกร้านผ่านแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ”

 

 

 

3. เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่บังคับใช้กฎหมาย ปล่อยปละละเลยให้เปิดเกินเวลา ไม่ร่วมคุมเข้มตามมาตรการอย่างเคร่งครัด

 

 

และพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้ ทำให้เกิดปรากฎการณ์ Super Spreader ที่ทำให้ทุกคนต้องกลับมาตระหนักถึงการป้องกันขั้นพื้นฐานที่ต้องเพิ่มมากกว่าเดิมเป็นอีกหลายเท่าตัว 

 

 

 

Super Spreader เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

 

 

นพ. ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อธิบายถึง Super Spreader ผ่านเว็บไซต์พีพีทีวีได้อย่างน่าสนใจว่า Super Spreader คือคนที่มีความสามารถในการแพร่โรคไปยังบุคคลอื่น ๆ จำนวนมาก โดยเฉลี่ยคนหนึ่งคน จะแพร่เชื้อไปยังคนอื่น ๆ ได้อีก 2 คน ซึ่งหากกรณีไม่สามารถควมคุมโรคได้ จะทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจำนวนมากเช่นกัน

 

 

ยกตัวอย่างง่าย ๆ พบว่า Super spreader สามารถทำให้คนหนึ่งคนแพร่เชื้อมากกว่าค่าเฉลี่ยหลาย ๆ เท่า หรือประมาณแพร่เชื้อได้ถึง 20 คนเลยทีดียว อย่างกรณีเกิด Super spreader 1 คน แพร่กระจายเชื้อให้กลุ่มนักเที่ยวตามสถานบันเทิงและสถานบริการร้านอาหารต่าง ๆ ย่านทองหล่อ นับ 20-30 คน หรือกรณีที่โรคโควิดอุบัติขึ้นครั้งแรก หากใครจำกันได้คือ สนามมวย ที่มีคนนั่งชมมวยในสนามมวยมากกว่า 60 คน หรือกรณีดาราดังปาร์ตี้ ดีเจมะตูม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า โรคโควิด-19 ติดต่อกันได้ 3 ทางไอ จาม ทางมือ และทางหายใจ (airborne)

 

 

นั่นแสดงได้ว่า ผู้ป่วย หากไอ จาม หรือพูด เชื้อโควิด-19 ลอยในอากาศเป็นเวลานาน และสามารถเกาะบนละอองฝอยนี้เข้าทางลมหายใจของคนที่ยืนห่างไกลได้เป็น 10 เมตร 

 

 

และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การระบาดโควิด ระลอก 3 กลับมาเขย่าสังคมไทยอีกครั้ง พฤติกรรมดังกล่าวสร้างให้ใครหลายคนได้รับความเสี่ยงแบบไม่รู้ตัว การขาดความรับผิดชอบทางสังคม ไม่ปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด สร้างผลกระทบต่อผู้คนมากมาย รวมทั้งอาจทำให้ใครหลายคนอดกลับบ้านหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์นี้ก็เป็นได้

 

 

เพราะการลดการแพร่เชื้อที่ดีที่สุดคือ การกักตัวอยู่บ้าน งดเดินทาง

 

 

สร้างความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการทำสิ่งที่ถูกต้องง่าย ๆ กันเถอะ

 

1. ใส่กากอนามัยตลอดเวลา และต้องใส่หน้ากากให้ถูกวิธีทุกครั้งด้วย

2. ล้างมือบ่อย ๆ ควรล้างมืออย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 20 วินาที

3. ห่างกันสักพัก เว้นระยะห่างกันสักหน่อย เพื่อลดการแพร่เชื้อ

4. ไม่ไปพื้นที่เสี่ยง แต่หากเลี่ยงไม่ได้ เมื่อกลับถึงที่พักควรแยกระยะห่างจากกัน เฝ้าสังเกตอาการ 14 วัน

 

 

อึดอัดเลเวลไหน ? มาร่วมรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการทำสิ่งที่ถูกต้องกัน

 

#เราต้องรอด #เริ่มจากตัวเรา 

 

ข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข

ภาพโดย Free-Photos จาก Pixabay

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง