รีเซต

ความก้าวหน้า 'วัคซีนโควิด' ฝีมือคนไทย แย้มเวอร์ชั่น 2 ป้องกันเชื้อครบทุกสายพันธุ์

ความก้าวหน้า 'วัคซีนโควิด' ฝีมือคนไทย แย้มเวอร์ชั่น 2 ป้องกันเชื้อครบทุกสายพันธุ์
TNN ช่อง16
1 มิถุนายน 2564 ( 07:08 )
107

วันนี้ (1มิ.ย.64) ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Warat Karuchit โดยระบุว่า ความก้าวหน้า “วัคซีน” ฝีมือคนไทย

1️. วัคซีนคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ChulaCOV 19 เทคโนโลยี mRNA ขณะนี้กำลังจะเข้าสู่การทดลองในมนุษย์ ระยะที่ 1 เอกสารรับรองคุณภาพวัคซีนต้นแบบ เพิ่งได้รับการรับรองจาก อย. สัปดาห์ที่ผ่านมา การถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่โรงงานประเทศไทย Bionet Asia พร้อมเกือบครบ 100% 

ปลายสัปดาห์หน้าวัคซีนต้นแบบ จะนำเข้ามาถึงประเทศไทยและเริ่ม การทดลอง ระยะที่ 1 ในสัปดาห์ถัดไป คาดการณ์ การทดลอง ระยะที่ 1 และ 2 จะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2564

ถ้ามีผลการทดลองระดับภูมิคุ้มกันของวัคซีนของ WHO ออกมาทันเวลา อาจไม่จำเป็นต้องทำการทดลองระยะที่ 3 แต่แค่ทำการทดลองระยะที่ 2B เพิ่มเติม 

วัคซีนจะผลิตออกสู่ตลาดได้ ภายใน Q2 ของปี 2565 (ถ้าต้องผ่านการทดลองระยะที่ 3 จะใช้เวลาเพิ่มอีกประมาณ 6 เดือน) กำลังการผลิต 10-20 ล้านโดส ต่อเดือน 

ในขณะดำเนินการวัคซีน Version แรก ตามกระบวนการ ทางคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังดำเนินการ วัคซีน Version 2 ที่ป้องกันเชื้อครบทุกสายพันธุ์ ควบคู่ไปด้วย โดยอยู่ในขั้นตอน กำลังจะเริ่มต้นทดลองในสัตว์ทดลอง 

โดยเทคโนโลยี mRNA การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของวัคซีนเป็น Version 2 หรือ Version อื่นๆ ในอนาคต จะทำได้เร็วเป็นอย่างมาก 

2️. วัคซีนคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบริษัท ใบยา

ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนปรับปรุงโรงงานผลิตวัคซีนต้นแบบ ที่จะใช้ในการทดลอง คาดการณ์ว่าโรงงานจะแล้วเสร็จภายในเดือน มิถุนายน 2564

หลังจากปรับปรุงโรงงานผลิตวัคซีนต้นแบบเรียบร้อย จะผลิตวัคซีนต้นแบบ นำเข้าสู่การรับรองมาตรฐานวัคซีนต้นแบบเพื่อการทดลองจากอย. คาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จ ภายในเดือน กรกฎาคม 2564

หลังจากนั้น จะเริ่ม ทำการทดลองในระยะ ที่ 1, 2 และ 3 หรือ 2B ต่อไปตามลำดับ 

โดยระยะที่ 1 คาดการณ์ว่าจะแล้วเสร็จ  ภายในเดือน สิงหาคม 2564 และจะเริ่มการทดลองระยะที่ 2 ในช่วงปลายปี 2564 หรือต้นปี 2565 กำลังการผลิต 1-5 ล้านโดส ต่อเดือน


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง