รีเซต

สินเชื่อ ธ.ก.ส. เปิดให้กู้เงินช่วยเหลือเกษตรกร แก้ปัญหา "หมูแพง 2565" เช็กรายละเอียดที่นี่!

สินเชื่อ ธ.ก.ส. เปิดให้กู้เงินช่วยเหลือเกษตรกร แก้ปัญหา "หมูแพง 2565" เช็กรายละเอียดที่นี่!
Ingonn
11 มกราคม 2565 ( 15:03 )
4.5K

หมูแพง ราคาหมูขี้น จนเกิดเป็นวิกฤต "หมูแพง 2565" พ่อค้าแม่ค้าขายหมูเริ่มได้รับผลกระทบ รวมถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูเช่นกัน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จึงออกมาตรการเงินช่วยเหลือเกษตรกร จัดสินเชื่อพิเศษเพื่อการฟื้นฟูการผลิตสุกรเป็นการจำเพาะ ทั้งสินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ สินเชื่อ Food Safety และสินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท

 

หมูแพงเพราะอะไร

ปัญหาหมูแพง เพราะความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น โรคระบาดร้ายแรงในสุกรทำให้จำนวนสุกรออกสู่ตลาดลดลง  รวมถึงาคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สำคัญ ๆ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กากถั่วเหลือง เป็นต้น มีราคาแพงขึ้นอย่างมาก ทำให้เกษตรกรต้องรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อเนื่องมายังผู้บริโภค

 

ล่าสุด ธ.ก.ส. ได้จัดเตรียมสินเชื่อพิเศษสำหรับเป็นทุนในการสนับสนุนการเลี้ยงสุกร การเพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตรที่จำเป็นต่อการผลิตอาหารสัตว์ และการวางระบบการเลี้ยงที่เป็นมาตรฐานเพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากปัญหาโรคระบาดที่มักจะเกิดขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณสุกรให้ออกสู่ตลาดได้มากขึ้น วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท จะมีรายละเอียดสินเชื่ออะไรบ้าง เช็กรายละเอียดได้ที่นี่!

 

สินเชื่อ ธ.ก.ส. แก้ปัญหา "หมูแพง 2565"


สินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ

สำหรับเกษตรกรรายย่อยและบุคคลในครัวเรือนที่ประสงค์จะกู้เงิน เพื่อไปลงทุนเลี้ยงสุกรหรืออื่น ๆ เพื่อเป็นการสร้างอาชีพ

รายละเอียดสินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ

  • วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย
  • กรณีกู้เป็นค่าใช้จ่ายคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี กำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน (พิเศษไม่เกิน 18 เดือน) นับแต่วันกู้
  • กรณีเป็นค่าลงทุนปีที่ 1-3 คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี ปีที่ 4 - 5 อัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.5 ต่อปี) กำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 5 ปี โดยปลอดชำระต้นเงิน 2 ปีแรก

 

สินเชื่อ Food Safety

เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนหรือเพื่อเป็นค่าลงทุนในการส่งเสริมการประกอบอาชีพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

รายละเอียดสินเชื่อ Food Safety

  • อัตราดอกเบี้ยกรณีเกษตรกร MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ ร้อยละ 6.5 ต่อปี)
  • กรณีผู้ประกอบการ นิติบุคคล กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือองค์กร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ดอกเบี้ย MLR (ปัจจุบัน MLR เท่ากับ ร้อยละ 4.875 ต่อปี) 
  • พิเศษสำหรับผู้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฯ หรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน กรณีเกษตรกร ดอกเบี้ย MRR-1
  • กรณีผู้ประกอบการ นิติบุคคลต่าง ๆ ดอกเบี้ย MLR-0.5
  • ระยะเวลาชำระคืน กรณีค่าใช้จ่ายหมุนเวียน ไม่เกิน 12 เดือน (กรณีพิเศษ ไม่เกิน 18 เดือนนับแต่วันกู้)
  • กรณีค่าลงทุน ไม่เกิน 15 ปี


สินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร

เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนหรือค่าลงทุนในการประกอบธุรกิจ โดยมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ หรือรักษาสิ่งแวดล้อม กำหนด  

รายละเอียดสินเชื่อเสริมแกร่ง SME เกษตร

  • วงเงินกู้ไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อราย
  • อัตราดอกเบี้ยปีที่ 1 – 2 ร้อยละ 4 ต่อปี และปีที่ 3 – 10 อัตราดอกเบี้ย MRR-1 / MLR / MOR ตามประเภทของลูกค้า (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.5 ต่อปี / MLR เท่ากับร้อยละ 4.875 ต่อปี และ MOR เท่ากับร้อยละ 6.25 ต่อปี)
  • กรณีที่ผู้ประกอบการสามารถนำ Platform มาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ หรือมีการรับซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์หรืออาหารปลอดภัย (Food Safety) ที่มีมาตรฐานรับรองหรือรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรต้นน้ำหรือกลุ่มวิสาหกิจที่ได้รับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของต้นทุนวัตถุดิบ หรือเป็นธุรกิจที่นำหลักโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model) อย่างใดอย่างหนึ่งมาใช้จะได้รับอัตราดอกเบี้ยในปีที่ 3 - 4 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4  ต่อปี เพิ่มอีก 2 ปี 

 


ทั้งนี้เงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดสินเชื่อได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ หรือที่ Call Center 02 555 0555

 

 

ข้อมูลจาก สถานีข่าวกระทรวงการคลัง : Ministry of Finance News Stationธ.ก.ส.

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง