รีเซต

อภิปรายไม่ไว้วางใจล่าสุด วันไหน? เช็กชื่อรัฐมนตรี 11 คน ถูกซักฟอกมีใครบ้าง?

อภิปรายไม่ไว้วางใจล่าสุด วันไหน? เช็กชื่อรัฐมนตรี 11 คน ถูกซักฟอกมีใครบ้าง?
TeaC
19 กรกฎาคม 2565 ( 12:07 )
1.3K

ข่าววันนี้ อภิปรายไม่ไว้วางใจล่าสุด วันไหน? ประเด็นร้อนแรงที่สังคมจับตามองใน "ศึกซักฟอกอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565" เมื่อพรรคฝ่ายค้านยื่นญัตติ กล่าวหา "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" และ 11 รัฐมนตรีสมัยรัฐบาลลุงตู่ ด้วยข้อกล่าวหาต่าง ๆ ที่สังคมตั้งตารอฟังวันนี้นัดแรก

 

อภิปรายไม่ไว้วางใจล่าสุด วันไหน?

 

ก่อนที่จะไปฟังการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจล่าสุดที่จะเปิดขึ้นวันนี้วันแรก มาทำความเข้าใจกันสักนิดก่อน จากข้อมูเว็บไซต์วิกิพีเดีย ได้อธิบายความรู้ว่า สำหรับการ อภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565 หรือ ญัตติไม่ไว้วางใจ คือ การที่สมาชิกสภาล่าง (โดยมากเป็นสมาชิกฝ่ายค้าน) เข้าชื่อการเสนอญัตติเพื่อสอบสวน "รัฐบาล" เมื่อเห็นว่าการทำงานของรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีไม่เป็นที่พอใจ

 

โดยระเบียบ หลักการในกรณีนี้สมาชิกมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติไม่ไว้วางใจ ถือได้ว่าเป็นวิธีการหนึ่งในการควบคุมและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลนั่นเอง ส่วนวิธีอื่นที่หากใครได้ติดตามการถ่ายถอดสดอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะมีวิธีเหล่านี้ที่ได้เห็น ได้แก่

  1. การตั้งกระทู้ถาม
  2. การแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
  3. การถอดถอนจากตำแหน่ง

 

ซึ่งการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่คอการเมืองได้เห็นมาทุกยุค ทุกสมัยของแต่รัฐบาลนั้น ถือเป็นวิธีที่เห็นผลชัดเจนที่สุด มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลมากที่สุด และยังเป็นการคานอำนาจของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) โดยฝ่ายนิติบัญญัติ (รัฐสภา) ที่ชัดเจนและได้ผลดีที่สุดด้วยเช่นกัน เพื่อให้ภาคประชาชนได้รับฟังข้อเท็จจริงที่ทั้งฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ยื่นญัตติ ซักถามประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารการทำงานของวรัฐบาล ที่โยงถึงประชาชนอย่างเรา ๆ ได้วิเคราะห์ พิจารณากับการทำงานของรัฐบาลในแต่ละสมัยนั่นเอง หรือสรุปง่าย ๆ คนที่เราเลือกมาทำงาน ทำงานได้ตรงประสิทธิภาพ ตรงกับสิ่งที่เขาได้สัญญาหรือไม่ หรือตรงตามเป้า ตามยอดที่ต้องให้สำเร็จ หรือไปถึงไหนกันแล้ว

 

โยการอภิปรายไม่ไว้วางใจล่าสุด เป็นไปตามหลักการที่ว่า "ฝ่ายบริหารจะอยู่ได้ก็โดยความไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ" ดังนั้นการอภิปรายไม่ไว้วางใจจะมีขึ้นก็ต่อเมื่อรัฐสภาเห็นว่า "รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี" ไม่ควรแก่การไว้วางใจให้ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ซึ่งอาจเกิดจากการตัดสินใจผิดพลาด การใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ 

 

และวันนี้ 19 กรกฎาคม 2565 วันแรกของ "ศึกซักฟอก" ที่พรรคฝ่ายค้านยื่นญัตติ กล่าวหาพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีรวม 11 คน ทั้งสร้างความเสียหายต่อประเทศ ทั้งด้านการบริหาร การทุจริตคอร์รัปชัน ค่าครองชีพสูง ฯลฯ

 

แต่สิ่งที่น่าสนใจใน การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี เป็นรายบุคคล ที่คอการเมืองจับตาไม่แพ้กันคือ นายชลน่าน ศรีแก้ว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน ได้ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล  ตามมาตรา 151 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร นั้น คำถามต่อมาแล้ว 11 รัฐมนตรี มีใครบ้าง? 

 

เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ วันไหน? เมื่อไหร่? กี่วัน?

  • ระหว่างวันที่ 19-22 กรกฎาคม 2565 ถือเป็น 4 วันที่คอการเมืองต้องจับตา 

 

รัฐมนตรี 11 คน มีใครบ้าง? ในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565

  1. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
  2. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
  3. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  4. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
  5. พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  6. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  7. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  8. นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  9. นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
  10. นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
  11. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน 

 

ไทม์ไลน์ อภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565 

19 ก.ค. 2565 

  1. นายอนุทิน ชาญวีรกุล ในประเด็นการเปิดกัญชาเสรี มีผู้อภิปรายด้วยอีก 4 คน 
  2. นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ผู้อภิปรายร่วม 6 คน
  3. นายสุชาติ  ชมกลิ่น
  4. นายจุติ ไกรฤกษ์
  5. นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์


20 ก.ค. 2565 

  1. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์  รองนายกฯและรมว.พาณิชย์
  2. นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย
  3. นายสันติ  พร้อมพัฒน์ 


21-22 ก.ค. 2565

  1. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ  รองนายกฯ
  2. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว. มหาดไทย
  3. พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา 30 ชั่วโมง

 

23 ก.ค. 2565

  • ลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565 

 

งานนี้ต้องดูกันต่อว่า เมื่อถูกศึกซักฟอกจบแล้ว รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จะเป็นอย่างไร? เสียงสนับสนุน ยังจะมีใครยกมือ "ไว้วางใจ" หรือ "ไม่ไว้วางใจ" เป็นประเด็นที่น่าติดตามในภาคการเมืองไทยเช่นกัน ติดตาม ถ่ายทอดสด อภิปรายไม่ไว้วางใจ 2565 คลิกเลย

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย, มติชน

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง