รีเซต

กองทุน อีทีเอฟ ทั่วโลกดึงดูดเม็ดเงินสูงเป็นประวัติการณ์

กองทุน อีทีเอฟ ทั่วโลกดึงดูดเม็ดเงินสูงเป็นประวัติการณ์
TNN ช่อง16
2 สิงหาคม 2564 ( 11:40 )
65

ทุกวันจันทร์พบกับคำแนะนำการลงทุน การปรับพอร์ต การบริหารพอร์ต และแนวโน้มการลงทุนทั่วโลก สหรัฐ ยุโรป จีน อาเซียน กับ LH BANK เพื่อให้เท่าทันกับการเคลื่อนไหวของตลาดทุน 


สัปดาห์นี้เรามาดูความเคลื่อนไหวของ กองทุน ETF ที่เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการลงทุนที่ตอบโจทย์ทั้งมือใหม่ที่ต้องการลงทุนสร้างผลตอบแทนในระยะยาว แต่ไม่ได้มีเวลามาคอยเลือกหุ้นรายตัวด้วยตัวเอง รวมถึงนักลงทุนมือเก๋าที่ต้องการกระจายความเสี่ยงให้พอร์ตลงทุนกับสินทรัพย์สภาพคล่องสูง และต้นทุนต่ำ


กองทุนรวม ETF (อีทีเอฟ) กำลังกลับมาเป็นที่พูดถึงกันอย่างมากในช่วงนี้ ไม่เฉพาะในไทยเท่านั้น แต่กระแสของการลงทุนใน ETF กำลังฮิตกันทั่วโลกก็ว่าได้ แม้กระทั่ง Berkshire Hathaway ของ "วอร์เรน บัฟเฟตต์" ก็ยังให้ความสนใจลงมาเล่นในตลาด ETF กับเขาด้วยเช่นกัน



ว่ากันว่านี่คือนวัตกรรมทางการเงินที่จะช่วยปลดล็อกข้อจำกัดการลงทุนแบบเดิม ๆ เพราะ ETF เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ออกแบบโดยการนำข้อดีของ "กองทุนรวม" และ "หุ้น" มาผสมผสานไว้ในที่เดียวนั่นเอง


กองทุน ETF หรือ Exchange-Traded Fund ถือเป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์การลงทุนที่ในประเทศไทยอาจจะยังไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก แต่ในต่างประเทศนั้นได้รับความนิยมมานานแล้ว หลายคนอาจจะเคยได้ยินถึงข้อดีของ ETF ว่า ซื้อขายได้เหมือนหุ้น ทำให้สามารถซื้อได้ราคา Real-Time ไม่ต้องรอเวลาสิ้นวันทำการเหมือนกองทุนรวม อีกทั้งเราในฐานะผู้ลงทุนก็ไม่ต้องเลือกหุ้นเอง ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนไป 


ในประเทศไทยเอง ยังมี ETF ไม่มาก ตัวเลขจาก SET ณ วันที่ 30 กรกฏาคม 2564 คือ 12 กอง ต่างจากในต่างประเทศที่มีจำนวนมากกว่า ได้รับความนิยมมากกว่า แค่ที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ ก็ปาไปแล้ว 1,000 กอง และจำนวนกองทุน ETF ทั่วโลกก็เพิ่มจำนวนขึ้นตลอด 



ตามข้อมูลจากรีฟินิทิฟ ระบุว่า กองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) ทั่วโลกสามารถดึงดูดการลงทุนได้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยได้รับกระแสเงินไหลเข้ารวมกันสูงกว่า 639,800 ล้านดอลลาร์ (หรือมากกว่า 21 ล้านล้านบาท) ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ มากกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนกว่า 2 เท่า เนื่องจาก ได้แรงหนุนจากการเพิ่มขึ้นของหุ้น อัตราดอกเบี้ยต่ำ และการอ่อนค่าของเงิน


นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ ยังกล่าวว่าความสนใจ ETF ที่เพิ่มขึ้นยังมาจากการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และผลตอบแทนที่สูงขึ้น


ขณะที่ เบน จอห์นสัน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ETF ระดับโลกของมอร์นิงสตาร์ (Morningstar) ในชิคาโก ระบุว่า ETF ได้กลายเป็นเครื่องมือการลงทุนทางเลือกสำหรับนักลงทุนจำนวนมากขึ้น เมื่อพวกเขาเผชิญกับการทดสอบที่ยากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในช่วงต้นปี 2563 


อัตราการเติบโตดังกล่าวยังถือว่าเป็นอัตราที่สูงมาก เมื่อเทียบกับการไหลเข้าของเม็ดเงินไปยังกองทุนรวมทั่วโลก ซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 2% เท่านั้น อยู่ที่ 9.22 แสนล้านดอลลาร์ ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้


ข้อมูลยังแสดงให้เห็นว่า ETF ของสหรัฐฯ ดึงดูดเงินจำนวนมากที่สุด โดยมีเงินไหลเข้ากว่า 469,300 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ ETF ในยุโรปและเอเชียได้รับเงินไหลเข้าเพียง 106,800 ล้านดอลลาร์และ 38,300 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ เนื่องมาจาก ความหวังในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดีขึ้น หลังจากผู้คนได้รับการฉีดวัคซีนมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ



นอกจากนี้ ตัวเลขของริฟินิทิฟ ยังสะท้อนให้เห็นว่า กระแสเม็ดเงินที่เข้าไปลงทุนใน ETF ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากปี 2563 โดยตามรายงานสำรวจความคิดเห็นนักลงทุน ETF จำนวน 382 รายทั่วสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน ที่มีชื่อว่า "Global ETF Investor Survey" ประจำปี 2564 ของบราวน์ บราเธอร์ส แฮร์ริแมน (Brown Brothers Harriman) หนึ่งในธนาคารเพื่อการลงทุนที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเผยแพร่ในเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา ระบุว่า


เมื่อปี 2563 การลงทุนใน ETF ไม่มีสัญญาณชะลอตัว โดยมีการเติบโตในอัตราร้อยละ 26 ต่อปี ซึ่งนับเป็นอัตราที่น่าประทับใจ เมื่อพิจารณาว่า ในปี 2563 ตลาดได้ประสบกับช่วงเวลาที่มีความผันผวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่ง จากการระบาดของไวรัสโควิด-19


โดยในปี 2563 ETF ของสหรัฐฯ ครองสัดส่วนร้อยละ 70 ของตลาด ETF ทั่วโลก โดยมีมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) อยู่ที่ 5.47 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ กองทุน ETF ยุโรปมี AUM อยู่ที่ 1.28 ล้านล้านดอลลาร์ ส่วน ETF จีนมี AUM อยู่ที่ 2 แสน 7 หมื่นล้าน


ในรายงานสำรวจยังพบว่า 


- ร้อยละ 72 ของนักลงทุน ETF ทั่วโลกวางแผนที่จะลงทุนใน  ETF เพิ่มในอีก 12 เดือนข้างหน้า จากร้อยละ 69 ในการสำรวจเมื่อปี 2563 สะท้อนว่า ความผันผวนที่เกิดจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่ได้สร้างความกังวลให้นักลงทุน ETF มากเท่าไหร่


- นอกจากนี้ นักลงทุนร้อยละ 65 ยังวางแผนที่จะลงทุนในกองทุน ETF เชิงรุก (active ETF) ซึ่งมีนโยบายบริหารจัดการเหมือนกองทุน active fund คือ มีผู้จัดการกองทุนคอยตัดสินใจว่าจะจัดสรรพอร์ตอย่างไร เพิ่มขึ้นจากระดับร้อยละ 57 ในปี 2563


- ขณะที่ ร้อยละ 80 ของนักลงทุน ระบุว่า จะเพิ่มการจัดสรรเงินลงทุนไปยังกองทุน ETF แบบธีแมททิค (Thematic) หรือกองทุน ETF ที่เน้นลงทุนเฉพาะเจาะจงในธีมอุตสาหกรรมเป็นที่นิยมต่างๆ เช่น ธีมอุตสาหกรรมเทคโนโลยี พลังงานทางเลือก และความยั่งยืน สะท้อนว่า Thematic ETF กำลังจากกลายเป็นการลงทุนกระแสหลักในไม่ช้า


- นักลงทุนร้อยละ 56 ยังคาดการณ์ว่า จะลงทุนในกองทุน ETF ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, and Governance) หรือ ESG ETF อย่างน้อยร้อยละ 11



อย่างไรก็ตาม บราวน์ บราเธอร์ส แฮร์ริแมน ยังพบว่า นักลงทุนจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน มีความต้องการลงทุนใน ETF ที่ต่างกันใน 5 อันดับแรก


โดยนักลงทุนจากสหรัฐฯ ต้องการลงทุนใน Maket Cap Index ETF ที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ที่ประกอบกันเป็นดัชนีมากที่สุดเป็นอันดับ 1 รองลงมาอันดับ 2 คือ ETF แบบธีแมททิค (Thematic), อันดับ 3 ETF คริปโทเคอร์เรนซี, อันดับ 4 ETF แบบกำหนดผลลัพท์ (Defined Outcome ETF) ซึ่งเป็น ETF ที่เสนอผลตอบแทนและผลขาดทุนให้นักลงทุนแบบกำหนดไว้แล้ว, และอันดับ 5 คือ ETF แบบจัดการความเสี่ยง หรือมีความผันผวนต่ำ


ขณะที่ นักลงทุนในยุโรป ต้องการลงทุนใน Active ETF มากที่สุด รองลงมา คือ Cryptocurrency ETF, ESG ETF, Defined Outcome ETF และ Leveraged/Inverse ETF ซึ่งผลตอบแทนในทิศทางเดียวหรือตรงข้ามกับราคาสินทรัพย์อย่างทวีคูณ


ส่วนนักลงทุนจากจีน ต้องการลงทุนใน ESG ETF มากที่สุด รองลงมาคือ Cryptocurrency ETF, Thematic ETF, Active ETF และ Managed Risk/ Low Volatility ซึ่งเป็น ETF แบบจัดการความเสี่ยง หรือมีความผันผวนต่ำ


*** จากอันดับดังกล่าวจะเห็นว่า cryptocurrency ETF ติดอันดับ Top 3 ของทั้ง 3 ประเทศ สะท้อนว่า นักลงทุนสนใจการลงทุนในคริปโทเคอร์เรนซีอย่างมาก ***


รายงานของสมาคมทองคำโลก หรือ WGC ระบุว่า กองทุน ETF ซึ่งเป็นสถาบันที่เก็บรักษาทองคำสำหรับนักลงทุนรายใหญ่นั้น ได้เพิ่มการถือครองทองคำในไตรมาส 2/2564 หลังจากที่ปรับลดการถือครองทองคำในช่วงสองไตรมาสก่อนหน้านั้น

          

ขณะที่ธนาคารกลางต่างๆทั่วโลกได้เข้าซื้อทองคำเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2/2564 มากกว่าไตรมาสใดๆ ในช่วงเวลา 2 ปี

          

ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำจากบรรดาผู้ผลิตอัญมณีและนักลงทุนได้ปรับตัวลงต่ำกว่าในช่วงไตรมาส 1/2564 แต่ก็ยังคงสูงกว่าในไตรมาส 2/2563

          

ทั้งนี้ WGC คาดการณ์ว่า ความต้องการอัญมณีทั่วโลกตลอดทั้งปี 2564 จะยังอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งอยู่ในช่วง 1,600-1,800 ตัน

          

นอกจากนี้ WGC คาดการณ์ว่า ความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองของทั้งนักลงทุนและ ETF จะอยู่ที่ 1,250-1,400 ตันในปี 2564 ลดลงจากระดับของปี 2563 แต่ก็ยังอยู่ที่ราวระดับเฉลี่ยของช่วง 10 ปีที่ผ่านมา


สำหรับธีมลงทุน ETF ที่นักลงทุนสนใจมากที่สุด อันดับแรกคือ อินเตอร์เนตและเทคโนโลยี (Internet/Technology)  คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33 (2.) หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (Robotics & AI) ร้อยละ 19 (3.) สิงแวดล้อมและความยั่งยืน (Environment/Sustainability) ร้อยละ 14 (4.) การดูแลสุขภาพ (Healthcare) ร้อยละ 10 (5.) สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Assets) ร้อยละ 15 (6.) ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติและไฟฟ้า (Autonomous & Electric Vehicles) ร้อยละ 7 (7.) กัญชา (Cannabis) ร้อยละ 2



ทั้งนี้หากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ลดลง กระจายการลงทุนไปต่างประเทศ โดยลงทุนในกองทุนอีทีเอฟ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในการบริหารพอร์ตหรือการปรับพอร์ตให้มีสัดส่วนที่เหมาะสม และกองทุนรวมบ้านเราเองก็มีทางเลือกให้ลงทุน กองทุนรวมที่ LH BANK บริหารอยู่ก็มีบางกองที่ไปลงทุนในอีทีเอฟต่างประเทศ ก็ลองเลือกกันดู แต่การลงทุนมีความเสี่ยง ตรวจสอบข้อมูลก่อนการลงทุน 



****ภาพ LH Bank M Choice และ จับเทรนด์ลงทุน by LH Bank Advisory *****


LH Bank ได้พัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่น LH Bank M Choice ที่มีความทันสมัยใช้งานง่าย เพื่ออำนวยที่สำคัญสามารถซื้อความสะดวกให้กับลูกค้าในการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านโทรศัพท์มือถือ -ขาย-สับเปลี่ยนกองทุนรวมได้จาก 12 บลจ.ชั้นนำ


พร้อมเพิ่มช่องทางในการอัปเดตเทรนด์การลงทุน สุด Exclusive ที่ Facebook Group “จับเทรนด์ลงทุน by LH Bank Advisory”  สังคมแห่งใหม่ของนักลงทุน โดยสามารถปรึกษา พูดคุย พร้อมรับข่าวสารจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการลงทุน เพื่อให้คุณไม่พลาดทุกเทรนด์การลงทุน สามารถค้นหาได้ที่ Facebook โดยพิมพ์ว่า จับเทรนด์ลงทุน by LH Bank Advisory และกดเข้าร่วมกลุ่ม


ทั้งนี้สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้า Facebook Fan page ของทางธนาคาร


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง