บล.พาย ส่องหุ้น "กลุ่มพลังงาน" คงน้ำหนักลงทุน "เท่ากับตลาด"
#ทันหุ้น- บล.พาย ส่องหุ้น "กลุ่มพลังงาน" คาดราคาน้ำมันดิบ Sideway Down เนื่องจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นจากประเทศกลุ่ม Non-OPEC+ เพิ่มขึ้นถึง 1.37 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วนฝั่ง OPEC+ ทยอยเพิ่มกำลังการผลิต เนื่องลดโควตาหยุดกำลังการผลิตแบบบสมัครใจลงจาก 2.2 บาร์เรลต่อวันภายในปี 2568 ส่วนฝั่งอุปสงค์เพิ่มขึ้นเพิ่มเพียง 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้เกิดอุปทานส่วนเกินตั้งแต่งวด Q2/68 ถึง 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 0.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน กดดันกลุ่มพลังงานต้นน้ำ ตามราคาขายที่ปรับตัวลดลง (ปัจจุบันถูกซื้อขายที่ -0.5SD ของค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี) ส่งผลให้เกิด Stock loss กดดันกลุ่มโรงกลั่น (ปัจจุบันถูกซื้อขายที่ -15D ของคำเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี) แม้ว่าภาพอุตสาหกรรมยังเกิดอุปสงคส่วนเกิน ส่วนกลุ่มปิโตรเคมีเกิดอุปทานส่วนเก็บโดยเฉพาะสายโอเลฟินส์ (ปัจจุบันถูกชื่อขายที่ -1.5SD ของค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี) ด้านมุมมองการลงทุน ฝ่ายวิจัยคงน้ำหนักการลงทุน "เท่ากับตลาด"
อุปสงค์น้ำมันดิบเติบโตช้าลง แต่อุปทานเพิ่มขึ้นจากทั้ง OPEC+ และ Non-OPEC+
EIA คาดการณ์ปี 2568 อุปทานที่เพิ่มขึ้นจากประเทศกลุ่ม Non-OPEC+ เพิ่มขึ้นถึง 1.37 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากประเทศสหรัฐอเมริกา 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และแคนาดาถึง 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่วนฝั่ง OPEC+ ทยอยเพิ่มกำลังกำลังการผลิต เนื่องลดโควตาหยุดกำลังการผลิตแบบสมัครใจลงจาก 2.2 บาร์เรลต่อวันภายในปี 2568 ส่วนฝั่งอุปสงค์เพิ่มขึ้นเพียง 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้เกิดปทานส่วนเกินตั้งแต่งวด Q2/68 ถึง 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 0.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในงวด Q4/68 จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ Brent มีทิศทางเป็น Sideway Down จากราคาเฉลี่ยปี 67/68 ที่ 81 และ 76 เหรียญต่อบาร์เรล ตามลำดับ โดยในจวด Q2/68 คาดราคาน้ำมันดิม Brent อยู่ที่ 79 เหรียกyต่อบาร์เรล ปรับลดลดเหลือ 75 เหรียญ ในงวด Q4/68
เกิดอุปสงค์ส่วนเกินเล็กน้อยในอุตสาหกรรมโรงกลั่น
ฝั่งอุปสงค์จากเพิ่มขึ้นจากทั้งในน้ำมันเบนซิน ตามการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ซึ่ง IEA คาดว่าปี 2568 เป็นปีที่อุปสงค์ทำจุดสูงสุด, ดีเซล ตามการเติบโตของเศรษฐกิจจีนและอินเดียที่เติบโตต่อเนื่อง, อากาศยาน ตามการท่องเที่ยวที่เติบโต อีกทั้ง Ethane และ Naphtha เติบโตตามอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวมทั้งสิ้นทุกผลิตภัณฑ์อุปสงค์เพิ่มขึ้น 8 แสนบาร์เรลต่อวัน ส่วนฝั่งอุปทานเพิ่มขึ้น 6 แสบบาร์เรลต่อวัน จากโรงกลั่น Dangote ในไนจีเรีย ด้วยกำลังการผลิต 6.5 แสนบาร์เรลต่อวัน ส่วนโครงการ Olmeca มีการเลื่อน Startup จาก Q2/67 เป็น Q1/68 ส่วนผลิตภัณฑ์ของทั้ง 2 โรงกลั่น มีสัดส่วนของน้ำมันเป็นเบนชินเป็นหลักส่งผลให้ส่วนต่างดังกล่าวโดนกดดันจากอุปทานที่เพิ่มเข้ามา
ปิโตรเคมียังเผชิญกับความท้าทาย
สายโอเลฟินส์ (Olefin) High-Density Polyethylene (HDPE) และ Polypropylene (PP) ยังคงเผชิญแรงกดดัน จากอุปทาน ส่วนเกินจากประเทศจีนจนถึงปี 2571 และ 2570 ตามลำดับ หลังจากปีดังกล่าวไม่มีกำลังการผลิผลิตใหม่เข้ามา โดย Operation Rate เริ่มปรับตัวดีขึ้นเป็น 75% และ 79% ตามลำดับในปี 2573 แต่ยังคงต่ำกว่าค่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 85% และ 87%
สายอะโรมาติกส์ (Aromatic) ทั้ง Benzene (BZ) และ Pararaxylene (PX) ยังคอเผชิญแรงกดดันจากอุปทานส่วนเกิน จากประเทศจีนจนถึงปี 2567 หลังจากปีดังกล่าวมีกำลังการผลิตใหม่เข้ามาเล็กน้อย Operation Rate เริ่มปรับตัวดีขึ้นเป็น 75% และ 82% ตามลำดับในปี 2573 ซึ่งใกล้เคียงค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 85% และ 87%
คงน้ำหนักการลงทุน "เท่ากับตลาด"
ฝ่ายวิจัยคงน้ำหนักการลงทุน "เท่ากับตลาด" เพราะมองว่าอัตราการเติบโตของกำไรจะถูกกระทบจากราคาน้ำที่ปรับตัวลงในปี 68 และอุปทานส่วนเกินในกลุ่มปิโตรเคมี ส่งผลให้กลุ่มปิโตรเคมีส่วนใหญ่ซื้อขายที่ต่ำกว่า 1x PBV68 (-1.5SD ของค่าเฉลี่ยหลัง 10 ปี) ส่วนกลุ่มโรงกลั่นแม้ว่าเกิดอุปสงค์ส่วนเกินแต่ถูกกระทบจาก Stock loss ส่งผลให้กลุ่มโรงกลั่นส่วนใหญ่ ซื้อขายที่ต่ำกว่า 1x PBV'68 (-1SD ของค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 10 ปี) รวมไปถึงกลุ่มต้นน้ำซื้อขายที่ 1x PBV'68 (-0.5SD ของค่าเฉลี่ยยื้อนหลัง 10 ปี)