รีเซต

เช็ก "กฎหมาย PDPA" ถ่ายคลิปเป็นหลักฐาน โพสต์คลิปลงโซเชียล ทำได้ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ไหม?

เช็ก "กฎหมาย PDPA" ถ่ายคลิปเป็นหลักฐาน โพสต์คลิปลงโซเชียล ทำได้ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ไหม?
Ingonn
13 มิถุนายน 2565 ( 11:02 )
471
เช็ก "กฎหมาย PDPA" ถ่ายคลิปเป็นหลักฐาน โพสต์คลิปลงโซเชียล ทำได้ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ไหม?

กฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 กฎหมายที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หากนำไปเปิดเผยจะมีความผิดตามกฎหมาย PDPA อาจทำให้หลายคนสงสัยว่า หากเกิดเหตุการณ์ผิดปกติแล้วถ่ายภาพหรือคลิปเป็นเป็นหลักฐานจะทำได้หรือไม่ หรือโพสต์คลิปลงโซเชียล ได้หรือไม่ จะเข้าข่ายผิดกฎหมาย PDPA ไหม มาเช็กกัน!

 

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจเเละสังคม เปิดเผยถึงกรณีที่ประชาชนอาจจะวิตกกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) กรณีพบเห็นเหตุการณ์ผิดปกติแล้วถ่ายภาพหรือคลิปเป็นเป็นหลักฐานสามารถทำได้ แต่ต้องไม่นำมาเผยแพร่หรือโพสต์ด้วยตนเอง เพราะอาจจะไปละเมิดสิทธิของคนอื่น อาจจะถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ ควรส่งหลักฐานเหล่านั้น ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมาย 

 

กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว และถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดีย โดยบุคคลอื่นไม่ยินยอม สามารถโพสต์ได้เช่นกัน หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล 

 

PDPA = พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

มาตรา 4(1) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น 

 

ข้อมูล PDPC ,  สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง