รีเซต

เด็กไทย คิดนวัตกรรมแก้มลพิษ เสนอ อีลอน มัสก์ ชิง 3 พันล้านบาท!

เด็กไทย คิดนวัตกรรมแก้มลพิษ เสนอ อีลอน มัสก์ ชิง 3 พันล้านบาท!
ข่าวสด
11 กุมภาพันธ์ 2564 ( 12:24 )
253

เด็กไทย คิดนวัตกรรมแก้มลพิษ เสนอ อีลอน มัสก์ ชิง 3 พันล้านบาท! ใฝ่ฝันแก้ปัญหาฝุ่นพิษให้ชาติ และคืนความน่าเชื่อถือของประเทศให้ชาวโลกเห็น

 

National Geographic Thai

 

เมื่อวันที่ 22 ม.ค.64 ที่ผ่านมา อีลอน มัสก์ นักธุรกิจและนักประดิษฐ์ชื่อดังระดับโลก ได้ประกาศตั้งเงินรางวัลจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,000 ล้านบาท ให้แก่ ผู้ที่สามารถคิดค้นเทคโนโลยีที่สามารถดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อช่วยลดปัญหาโลกร้อน

โครงการดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างท่วมท้นจากนักพัฒนาทั่วโลก และถูกเผยแพร่ไปในสื่อออนไลน์ หนึ่งในผู้ที่สนใจก็ยังรวมถึง แอนโทนี-ปิยชนม์ ภุมวิภาชน์ นักเรียนไทย ชั้นปีที่ 9 (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2) จากโรงเรียนนานาชาติเกนส์วิลล์ จ.เชียงราย ที่มีความตั้งใจอยากให้คนไทยได้มีอากาศบริสุทธิ์หายใจตลอดปี โดยปราศจากปัญหามลพิษ

แอนโทนีได้ร่วมมือกับลุงของเขา ในการผลิตเครื่องมือที่มีกลไกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเป็นก๊าซไฮโดรเจนบริสุทธิ์เพื่อทำเชื้อเพลิง และก๊าซออกซิเจนเพื่อคืนสู่ชั้นบรรยากาศ โดยเครื่องดังกล่าวยังสามารถกำจัดฝุ่น PM 2.5 ในอากาศได้

 

Forbes

 

แอนโทนีและครอบครัวได้ตัดต่อคลิปวิดีโอเผยแพร่ลงบนยูทูบ เพื่อให้อีลอน มัสก์ ได้พิจารณา และ แอนโทนี มีความหวังว่า ถ้าหากอีลอน มัสก์ ได้มาเยือนประเทศไทย ประเทศไทยจะกลายเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั่วโลก และเรียกความเชื่อมั่นได้ของประเทศกลับมาได้

 

โดยในเนื้อหาของคลิปวิดีโอ เป็นการกล่าวถึงที่มาของแรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรมเครื่องดักจับคาร์บอน และอธิบายถึงหลักการที่เขาคิดค้น โดย แอนโทนี กล่าว กับเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย ทางโทรศัพท์ว่า "ผมเห็นข่าวที่มัสก์ลงมาช่วยภารกิจ 13 หมู่ป่า ที่ถ้ำขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย และรู้สึกประทับใจในตัวของมัสก์ที่สามารถคิดค้นนวัตกรรมกู้ภัยได้อย่างรวดเร็ว ผมจึงอยากให้มัสก์ได้เห็นว่า คนไทยสามารถผลิตนวัตกรรมดักจับคาร์บอนได้ ซึ่งเราเห็นความสำคัญของเรื่องมลพิษทางอากาศผ่านปัญหาหมอกควันในภาคเหนือช่วง 2 ปีที่ผ่านมา"

 

 

ทั้งนี้ ในคลิปวิดีโอ แอนโทนี ก็ได้อธิบายหลักการทำงานของเครื่องที่เขาประดิษฐ์ไว้ว่า ตัวเครื่องดังกล่าวมีกลไกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศให้เป็นก๊าซไฮโดรเจนบริสุทธิ์ และก๊าซออกซิเจน รวมถึงภายในเครื่องมือ ยังสามารถดักจับฝุ่นละลอง PM2.5 ซึ่งเป็นหนึ่งในมลพิษทางอากาศได้ และเมื่อมีการเปลี่ยนก๊าซคอร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซไฮโดรเจนแล้ว จะสามารถนำก๊าซไฮโดรเจนไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงมีเทนและปิโตรเลียม ขณะที่ก๊าซออกซิเจนสามารถปล่อยคืนสู่ชั้นบรรยากาศได้

 

National Geographic Thai

 

ปัจจุบันเครื่องดังกล่าวกำลังอยู่ในขั้นปรับปรุงและพัฒนา ซึ่งแอนโทนีได้ร่วมมือทำโครงการนี้กับคุณลุงของเขาที่เป็นนักประดิษฐ์ เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้จริงในอนาคต อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนเป็นนวัตกรรมที่มีการประยุกต์ใช้งานในระดับโรงงานอุตสาหกรรมมานานแล้ว ปัจจุบันมีโครงการดักจับคาร์บอนเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ 21 โครงการทั่วโลก ที่ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ ซึ่งเริ่มดำเนินการครั้งแรกมาตั้งแต่ ค.ศ. 1972

 

National Geographic Thai

ข่าวที่เกี่ยวข้อง